วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

WEEK-END วันหยุดสุดสัปดาห์ และความฝันอันฉาบฉวยของชนชั้นกลาง
เมื่อถึงวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน หลายคนเริ่มวางแผนเพื่อที่จะปลดปล่อยตัวเอง จากพันธะหน้าที่อันหนักอึ้ง และพาตัวเองล่องลอยเข้าไปสู่สุนทรียะภาพของชีวิต ภายใต้ฉากของภูเขา ทะเล และป่าไม้ ตามรสนิยมและความชื่นชอบของแต่ละบุคคล วันหยุดจึงเป็นเหมือนสวรรค์ของคนทำงาน เและป็นช่วงเวลาที่ได้วางตัวเองออกมาจากความสับสนวุ่นวายและหามุมสงบให้ตัวเองได้ผักผ่อนและผ่อนคลาย ซึ่งหลายคนก็คิดและคาดหวังเช่นนั้น การท่องเทียวในวันหยุดจึงกลายมาเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่ง ที่พัฒนาตัวเองภายใต้ระบบทุนนิยม ท่ามกลางความสามารถของระบบทุนนิยมและบริโภคนิยม ที่สามารถทำให้วัฒนธรรมและธรรมชาติ กลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่า เป็นสินค้า ไม่แตกต่างการเป็นสัญญะ ในกระแสของลัทธิบริโภคนิยม ที่วัตถุสิ่งของต่างๆมีคุณค่าในเชิงอรรถประโยชน์ใช้สอยที่จำเป็นสำคัญกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งถูกแทนที่ด้วยค่านิยมหรือมายาคติของสังคมสมัยใหม่ ที่ถูกผลิตซ้ำผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรทัศน์ วิทยุ นิตยาสาร วารสาร โปชัวร์ ฯลฯ ภายใต้แนวความคิดของชนชั้นกลาง ที่สอดใส่คุณค่าและความหมายทางสังคมวัฒนธรรม เกี่ยวกับความคิดในการผจญภัย จากเมืองใหญ่ ไปสู่ชนบท หรือป่าเขาลำเนาไพรที่ห่างไกล ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการพยายามกลับเข้าไปสู่ธรรมชาติของชนชั้นกลางที่มาจากอารยธรรมอันรุ่นเรืองในเมือง
Jean-Luc Godard เกิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมปี1930 ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เขาศึกษาด้านชาติพันธ์วิทยา(Ethnology) ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) เขาเป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิจารณ์วัฒนธรรม ผู้ซึ่งมีความใกล้ชิดคุ้นเคยกับกาารทำงานด้านภาพยนตร์ ที่มีความสำคัญระดับชาติ โดยเฉพาะการเขียนบทภาพยนต์และการทำภาพยนต์ ซึ่งถือได้ว่าเขาป็นตัวแทนและเป็นผู้นำของคลื่นลูกใหม่ในการเคลื่อนไหวในประเทศฝรั่งเศส เขาสร้างภาพยนต์หลายเรื่องเช่นภาพยนต์เรื่องแรกของเขาที่เริ่มเขียน มีชื่อว่า Cahiers du cinema ในปี1952 และภาพยนต์เรื่องสุดท้ายเรื่อง the week-end ในปี1967(ผลิตโดย Lira Films) ซึ่งเป็นภาพยนต์เรื่องสำคัญ ที่เขาเป็นผู้อำนวยการสร้าง ก่อนที่ประเทศฝรั่งเศส จะเป็นสิ่งที่ถูกเข้ายึดโดยการจราจลของนักเรียนนักศึกษา และการนัดหยุดงานทั่วไป ในเดือนพฤษภาคม 1968 ได้ทวีความรุนแรง มากขึ้น อันมีผลกระทบเนื่องมาจากกระบวนการสร้างความทันสมัย(Modernization) ที่ถูกทำอย่างเร่งรีบรวดเร็ว ซึ่งได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างความอ่อนแอให้กับฝรั่งเศส ดังนั้นการปฎิวัติในฝรั่งเศส ในเดือนพฤษภาคม จึงเป็นการเคลื่อนไหวจราจลเพื่อต่อต้าน มายาคติ(Myth) ที่อยู่ภายใต้ระบบทุนนิยม(Capitalist system) ภาพของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(Economic Growth) ที่จะนำมาซึ่งความรุ่งเรืองของสังคม ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วสิ่งต่างๆของระบบทุนนิยมเหล่านี้กับสร้างความขัดแย้งที่รุนแรง และทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์ลงไปอย่างย่อยยับ
คำว่าweek-end ในความหมายของ Luc –Jean ไม่ใช่หมายความถึง ปลายสัปดาห์หรือการไปผักผ่อนช่วงสุดสัปดาห์ ในความหมายที่เราเข้าใจโดยทั่วไปเท่านั้น ลุ๊ค ช็อง ต้องการจะแยกความหมายของสองคำ คือ คำว่า Weekที่แปลว่า สัปดาห์ และ End ที่แปลว่าสิ้นสุด Week -End จึงเป็นสัญญะอย่างหนึ่งภายใต้การให้ความหมายของเขาว่า การจบสิ้นของสัปดาห์ ที่มีนัยยะให้เรากลับมาคบคิด ทบทวน และตั้งคำถามกับมายาคติในสังคมทุนนิยมปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ Luc –Jean ต้องการนำเสนอผ่านภาพยนต์ภาาาฝรั่งเศสที่ดูยากเรื่องนี้
Week-End เป็นเรื่องราวของสองสามีภรรยา ที่เพิ่งแต่งงานกันใหม่ๆ ที่สามี ชื่อ Roland( ซึ่งคล้ายกับชื่อของนักสัญวิทยาชาวฝรั่งเศส ชืjอ Rolant Barthes (1905-1980) ที่มีการพิมพ์เผยแพร่บทความวิเคราะห์วัฒนธรรมอย่างมากมายในช่วงปี1952) และฝ่ายหญิงที่ชือ Corrine ซึ่งทั้งสองเป็นชาวปารีสที่มั่งคั่ง และต้องการเดินทางในช่วงวันหยุดผักผ่อนสุดสัปดาห์ ยังบ้านของพ่อแม่ ที่ออยวิลล์ (Oinville) โดยมีเป้าหมายเพื่อไปรับมรดกของพ่อ พวกเขามีแผนการที่จะฆ่าคนอื่นๆที่มีสิทธิชอบธรรม เพื่อทรัพย์สมบัติอันมหาศาล ดังที่พวกเราได้ยิน สิ่งที่พวกเขาสัญญาต่อกันในภาพยนต์ ระหว่างที่พวกเขาคุยกันอยู่ ก็มีการสลับฉากของการทะเลาะเบาะแว้งกันของคนที่อยู่ด้านล่าง ที่มีการขับรถเฉี่ยว และมีการทุบตีกันกลางถนน จากนั้นRoland เดินเข้ามาในห้องและโทรศัพท์หาผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นชู้รักของเขาพร้อมกับเล่าเรื่องของเหตุการ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น พร้อมกับกล่าวว่า ผู้ชายคนที่ถูกตีแทบตายคนนั้น น่าจะเป็นภรรยาที่แสนโง่ของเขาเอง และฉากสุดท้ายเป็นการปรึกษาทางจิตเวช ระหว่างผู้หญิงคนหนึ่งกับหมอ เกี่ยวกับความวิปริตของชู้รักของเธอและภรรยา ที่กระทำกับเธอแบบวิปริต นี่คือ2 บริบทย่อยๆ ในสิ่งที่ผู้สร้างต้องการนำเสนอภายใต้หัวข้อ “ฉากชีวิตของปารีส” ที่เต็มไปด้วย ความรุนแรง การทะเลาะเบาะแว้ง การหักหลังทรยศ ความเสื่อมทรามทางศีลธรรมจริยธรรม การคุกคามทางเพศ และความวิปริตของคนในสังคม ที่ผู้คนในสังคมต้องการจะหลีกหนีไปจากมัน
ฉากต่อมาเป็นเรื่องของการเดินทางในวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งการเดินทางของRoland และCorrine ไม่ได้ราบรื่นนัก ตั้งแต่ก่อนออกเดินทางที่ โรล็อง ทะเลาะกันกับเจ้าของรถอีกคันหนึ่งที่เขาถอยเข้าไปชน ก่อนจะออกเดินทาง จนต้องถูกเจ้าของรถอีกคันไล่ยิง เมื่อเขาเดินทางจากเมืองหลวง เข้าสู่ชนบท สิ่งที่ผู้สร้างนำเสนอคือ สองข้างทางที่เป็นทุงหญ้าโล่งๆ ตัดกับท้องถนนที่มีรถรามากมาย การจราจรติดขัดเป็นแนวยาว รถเคลื่อนตัวไม่ได้ หลายคนออกมาเดินเล่น หรือเล่นโยนลูกบอล เล่นหมากรุกเพื่อฆ่าเวลา และเดินตามรถที่ขยับไปอย่างช้าๆ สลับกับภาพของความอลวนสับสน ที่ต่างคนต่างต้องการที่จะเอารถของตัวเองแซงเข้าไปข้างหน้า เสียงบีบไตร เสียงตะโกนด่ากันดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่ว ภาพของขบวนรถนอกจากรถยนต์ส่วนตัวแล้ว เรายังเห็นรถบรรทุก ที่มีทั้งบรรทุกเรือสำราญส่วนตัวอยู่ด้านหลัง รถบรรทุกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าจำพวกชะนี ( ซึ่งทำให้อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า ทำไมรถขนส่งสัตว์ป่าจึงมุ่งหน้าเข้าสู่ชนบท หรือธรรมชาติ มากกว่าจะวิ่งเข้าไปยังสวนสัตว์ในเมือง เพื่อให้คนในเมืองได้เข้าชมเพื่อการผักผ่อนหย่อนใจ หรือชนบทกำลังถูกจัดฉากเช่นเดียวกับสวนสัตว์ในเมือง) และรถบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ที่เขียนคำว่า SHELL และมีตราสัญลักษณ์รูปหอยเซลล์ ที่แสดงให้เห็นแสนยานุภาพของการขับเคลื่อนยนต์ ภายใต้การจัดการของบริษัทน้ำมันต่างชาติ ที่ทำให้รถเหล่านี้วิ่งและแผดเสียงร้องบนท้องถนนได้ ฉากสุดท้ายของการจราจรก็คือ การเฉลย สาเหตุของการจราจรที่ติดขัด ภาพอุบัติเหตุของรถที่พลิกคว่ำในสองข้างทาง ไม่ว่าจะเป็นสภาพของรถที่ยับบู้บี้อัดกับต้นไม้ใหญ่บนเกาะกลางถนน รถที่มีไฟลุกท่วมทั้งคัน ภาพของคนที่หวีดร้องขอความช่วยเเหลือ และภาพอันน่าสะอิดสะเอียนของศพ ผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก ที่นอนระเกะระกะ ภาพของกองเลือดสีแดงที่ตัดกับสีขาวของถนน และตำรวจจราจร พยายามโบกให้รถเคลื่อนออกไปได้ ท่ามกลางศพของคนตายที่นอนเกลือกกลิ้งอย่างอนาถา
Corrine และRoland สามารถหลุดออกมาจากการจราจรที่ติดขัดได้ ระหว่างการเดินทางเขาได้พบกับเรื่องราวมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การถูกปล้นจี้ การถูกข่มขืน การถูกทำร้ายหรืออุบัติเหตุที่ทำให้เขาสูญเสียรถยนต์ ซึ่งทำให้พวกเขา ต้องเดินเท้า และหลงเข้าไปในป่า และต้องคต้องต่อสู้เพื่อที่จะไปทางใต้ของฝรั่งเศส ไปที่ออยวิลล์ซึ่งเป็นบ้านของพ่อแม่Corrine ในที่สุดพวกเขาก็เดินทางมาจนถึงเมืองออยวิลล์ แต่เมื่อมาถึงที่บ้าน ปรากฎว่า แม่ของCorrine ได้ปฏิเสธให้เธอมีส่วนแบ่งในสมบัติ ซึ่งทำให้Roland สามีของเธอตัดสินใจฆ่าแม่ของเธอในทันที่ ดังนั้นพวกเขาจึงต้องเดินทางกลับปารีส แต่การผจญภัยของพวกเขายังไม่สิ้นสุด ทั้งRoland และCorrine ถุกกลุ่มปลดปล่อยที่เรียกตัวเองว่า FLSO [Liberation front of seine] ซึ่งเป็นกลุ่มเผ่า ที่เป็นพวกกินเนื้อพวกเดียวกัน(Cannibalistic) หรือกองโจรฮิ๊ปปี้(HippieGuerrillas) โดยที่กลุ่มกองโจร นี้เพิกเฉยกับเงินล้านบาทที่Corrine และRoland เสนอให้ในการแลกเปลี่ยนกับอิสระภาพของพวกเขา กลุ่มกองโจร ได้ฆ่าตัวประกันที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่จับได้ รวมถึงRolandด้วย ซึ่งในตอนจบสุดท้ายของเรื่อง Corrine ได้เข้าร่วมกับเผ่ากองโจร (The Guerrillas) หรือกลุ่มปฎิวัติ (Revolutionist) ที่จับตัวเธอไว้ และกินเนื้อสามีของเธอที่ถูกปรุงเป็นอาหารด้วย นี่คือเนื้อเรื่องอย่างย่อๆของWeek-End (Weekend) ที่ความน่าสนใจของหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ฉากหรือการแสดงพฤติกรรมของตัวละครต่างๆ แต่ความสำคัญของภาพยนต์เรื่องนี้อยู่ที่บทสนทนาของตัวละคร ที่ค่อนข้างยาวและมีการสอดแทรกความคิดในเรื่องวิวัฒนาการทางสังคมของนักมานุายวิทยาและนักสังคมนิยม อย่าง Morgan, Marx และEngel และแนวความคิดของการปลดแอกตัวเองออกจากการครอบงำของระบบบริโภคนิยมที่สร้างความฝันอันฉาบฉวยให้กับคนชั้นกลางในฝรั่งเศสและบ่มเพาะปัญหาทางสังคมและจริยธรรมมากมาย
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับภาพยยนต์เรื่องนี้ ก็คือ การพยายามเชื่อมโยงเนื้อหา และประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ โดยการเล่าผ่านวันหยุดผักผ่อนสุดสัปดาห์ ทั้งหมดเจ็ดวัน ที่สองสามีภรรยา Roland และCorrine ได้พบเจอเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยความคาดหวังที่จะกลับบ้านไปรับมรดก และกำจัดทุกคนที่ทีส่วนในมรดกของเธอ แต่วันหยุดสุดสัปดาห์ ที่เธอคาดหวังว่าจะได้ใช้ช่วงเวลาที่มีความสุขนี้กับมรดกที่เธอคาดหวังว่าจะได้รับ ก็เป็นอันมลายหายไป ตั้งแต่การพบกับจราจรที่ติดขัด ผู้คนชนชั้นกลาง ที่มีรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของการปฎิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษและในยุโรป อเมริกา มาตั้งแต่ศตวรรษที่16จนถึงศตวรรษที่19 ที่มีการผลิตหัวรถจักรไอน้ำ เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าและการเดินทางมีความสำคัญ ในการเปิดเส้นทางการคมนาคมระหว่างประเทศ จนถึงกับการพัฒนาของระบบทุนนิยม ที่เคร่งครัดในธรรมเนียมปฎิบัติ ทั้งในเรื่องของกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ที่ทำให้มนุษย์เริ่มมีการสะสมวัตถุสิ่งของ เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง ตั้งแต่ที่Henry Ford ได้ประดิษฐ์รถยนต์คันแรกของโลก มีการพัฒนานวัตกรรมนี้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ล้วนต้องการแสดงแแสนยานุภาพทางการขนส่ง และเทคโนโลยีรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา ซึ่งแข่งขันกันเป็นเจ้าแห่งนวัตกรรมความเร็วแห่งการขับเคลื่อนบนท้องถนน รถจึงกลายมาเป็นปัจจัย ที่ 5 ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ และสร้างความร่ำรวยให้กับบริษัทข้ามชาติ หรือองค์กรบางองค์กร ที่ผูกขาดการผลิตและควบคุมปริมาณและราคาน้ำมัน ในเวลาเดียวกัน
ภาพที่สะท้อนในWeek-end จึงเป็นภาพสะท้อนของวัฒนธรรม และค่านิยม ของชนชั้นกลาง ในการเดินทางออกจากบ้านไปผักผ่อนในช่วงของวันหยุด ซึ่งกระบวนการดังกล่าวแม้จะเป็นการนำตัวเองออกออกไปจากสภาวะความวุ่นวายในเมือง หรือการออกจากความมีอารยะ หรือความศิวิไลต์(Civilize) เพื่อกลับไปสู่ความเป็นธรรมชาติ(Nature) และสัมผัสเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น(Local culture) ที่หาดูได้ยากหรือไม่ค่อยจะได้สัมผัสในเมือง แต่ในความเป็นจริงของปัจจุบันแล้ว เราจะพบว่า วัฒนธรรม หรือธรรมชาติที่เราต้องการไปสัมผัสนั้น กลับถูกเคลือบแฝง ซ่อนเร้นและถูกทำให้มีมลทิน ภายใต้ระบบของทุนนิยมและการบริโภคนิยม โดยวัตถุ สิ่งของ พฤติกรรม การแสดงออก ทางวัฒนธรรม สามารถที่จะกลายมาเป็นสินค้า ของการบริโภค ที่ชนชั้นกลางต้องการ ดังเช่นภาพที่เราเห็นได้จากโฆษณาประชาสัมพันธ์ในหนังสือนิตยาสาร โทรทัศน์ หรือโบชัวร์ เกี่ยวกับ Unseen Thailand หรือการท่องเทียวเชิงนิเวศน์ หรือโฮมสเตย์ ที่มีอยู่อย่างมากมาย สภาพความแออัดยัดเยียดของผู้คนที่เบียดเสียด กันเข้ามาในช่วงเทศกาล ไม่มีโรงแรมหรือที่พักที่ว่าง หรือต้องต่อคิวกันเพื่อรอถ่ายรูปมุมสำคัญๆ นี่นะหรือ... คือการค้นหาชีวิตอันสงบสุขและการผักผ่อนหย่อนใจ ที่คนในเมืองใหญ่ปรารถนาจะได้สัมผัสกับมัน ดังเช่นเดียวกับวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในช่วงนั้น ก็ได้แสดงให้เห็นวัฒนธรรมของชนชั้นกลาง ในการใช้เวลาในวันหยุดพักผ่อน โดยมีนวัตกรรมที่เฟื่องฟูในศตวรรษที่19 ก็คือรถยนต์ ในการฝากชีวิตในช่วงวันหยุดผักผ่อนสุดสัปดาห์ โดยมีพาหนะคู่ใจที่จะนำพาผู้โดยสารไปสู่ที่หมายอย่างสบายและปลอดภัย หรืออาจนำไปสู่ความสิ้นสุดของการมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ต่อไปในอนาคตก็เป็นได้
Week end จึงเป็นภาพยนต์ ที่มีเนื้อหาสะท้อนให้เราเห็นความสับสนวุ่นวายในสังคมอุตสาหกรรม สังคมทุนนิยม ที่เน้นการแข่งขัน การมุ่งไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจ และการแสวงหาผลกำไร ท่ามกลาง ความเสื่อมโทรมผุผังของวัตถุที่เป็นสัญลักษณ์ของทุนนิยม ความเป็นชาย ความแข็งแกร่งและความมั่งคั่งดังเช่นนวัตกรรม ของเหล็กกล้าขับเคลื่อนสี่ล้อ ที่โฉบเฉี่ยวล้ำสมัย และซากศพของผู้คนที่อ่อนแอ ซึ่งกองทับถมกันอย่างเกลื่อนกลาด กระจัดกระจาย ทุกคนต่างดิ้นรนเพื่อตัวเอง และตอบโต้ทำร้ายกันด้วยการใช้ความรุนแรง พร้อมกับความพยายามในการรักษาความแตกต่างหลากหลายของพวกเขาไปพร้อมกันด้วย ดังที่หญิงคนหนึ่งขอความช่วยเหลือ จากCorrine และRoland โดยอ้างคำกล่าว ของMark ที่เคยบอกว่า พวกเราเป็นพี่น้องกัน แต่พวกเขาปฎิเสธว่า ไม่มีเวลาแล้วก็ขับรถหนีไป ทำให้ผู้หญิงคนนั้นตอบโต้ด้วยการ ด่า Corrine และRoland ว่า พวกยิวสกปรก (Jew Dirty Jew) ในระหว่างขับรถไป Corrine เริ่มลังเลในคำกล่าวของหญิงคนนั้นเกี่ยวกับคำพูดของ Mark แต่Roland ก็บอกเธอว่า “ฉันไม่ใช่มาร์ก และไม่ใช่พวกคอมมิวนิตย์ และสิ่งที่เขากล่าวว่าพวกเราเป็นพี่น้องกัน ไม่ใช่คำพูดของมาร์ก แต่เป็นของพระเยซู” ซึ่งสะท้อนให้เห็นความคิดหนึ่งที่รองรับอุดมการณ์ความเชื่อที่หลากหลาย แม้จะมีเป้าหมาย หรือคำสอนที่เหมือนกัน แต่ศาสดาหรือผู้นำลัทธิที่ต่างกัน ก็อาจทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้ ในภาพยนต์เรื่องนี้ สอดแทรกหลายฉากที่น่าสนใจ ซึ่งแต่ละฉากก็เป็นการตั้งคำถามและท้าทาย กับระบบทุนนิยมและความทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นฉากที่โจรชื่อ Joseph Balsamo ถามCorrine ว่า”เธอชื่ออะไร” เธอตอบว่า “Corrine Durand” โจรคนนั้นถามต่อว่า “Durand เป็นชื่อสามีของคุณ แล้วชื่อคุณล่ะ” เธอตอบว่า “ชื่อตอนเป็นนางสาวของฉันนะหรือ Corrine Dupont” เขาตอบว่า “Dupont เป็นชื่อพ่อของคุณ อะไรที่เป็นตัวคุณ? คุณเห็นไหม คุณยังไม่รู้เลยอะไรที่คุณเป็น” บทสนทนาบทนี้สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ Luc Jean ต้องการนำเสนอ ในแนวคิดที่เรียกว่า สตรีนิยม ในการเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม ไปจนถึงการตั้งคำถาม กับเรื่องของความเป็นชาย เป็นหญิง อำนาจที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ครอบงำเหนือผู้หญิง ผ่านการสร้างองค์ความรู้ บางอย่างที่ผู้หญิงยอมรับมันอย่างดุษฎี อย่างเช่นเรื่องชื่อ หรือนามสกุล ดังที่ Joseph บอกว่า ความเป็นคริสเตียน เป็นสิ่งที่ปฎิเสธเกี่ยวกับการรู้ด้วยตนเอง (Self Knowledge) มันคือ การตายของภาษา (the death of language) การถูกทำใช้หยุดชะงัก หรือมั่นคงถาวรทางภาษาผ่านระบบการเขียน การพูด ที่เป็นระบบที่สร้างและควบคุมความคิดของเรา ในเมื่อเราเรียนรู้ผ่านภาษา และสื่อสารในชุมชนของภาษาของเรา ภายใต้ระบบที่ยอมรับและธรรมเนียมปฎิบัติในทางภาษาที่เรามีร่วมกัน ผู้หญิงอย่างCorrine จึงเป็นผู้ถูกกระทำโดยความเป็นชาย ของ Roland ที่ปฎิบัติต่อเธอด้วยความหลอกลวง และนิ่งเฉยเมื่อเธอถูกข่มขืนโดยชายแปลกหน้าคนหนึ่งที่เดินทางผ่านมา ภาพยนต์เรื่องนี้นอกจากจะสะท้อนความเป็นคู่ตรงกันข้าม ที่ตอกย้ำเส้นแบ่งอันห่างไกลและความขัดแย้งกัน ระหว่างชนบทกับเมือง ธรรมาติกับความ ศิวิไลต์ ความเป็นชายและหญิงแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความแตกต่างระหว่างตะวันตก และประเทศในโลที่3 ที่ผ่านบทบรรยาย ถึงความโหดร้ายของลัทธินาซี (Nazism) ที่มีการสังหารหมู่ และทำให้ผู้คนหลายล้านคนได้รับความทุกข์ทรมานและกลายเป็นผู้อพยพพลัดถิ่น อันเนื่องมาจากความคิดเรื่องเชื้อชาติ การเหยียดผิวและความคิดว่าตนเองมีอารยธรรมที่สูงส่งกว่าประเทศอื่นๆ เช่นคนแอฟริกาผิวดำ ซึ่งถูกกวาดต้อนไปเป็นทาสเพื่อสร้างความเจริญให้กับประเทศตะวันตก และถูกขูดรีเอาทรัพยากรของประเทศเหล่านั้น เช่นเดียวกับที่ประเทศฝรั่งเศสทำกับแอลจีเรียที่เป็นอาณานิคม เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตก และประเทศโลกที่สาม จึงเป็นความสัมพันธ์ในแบบชนชั้น ภาพยนต์เรื่องนี้ได้นำเอาแนวความคิดเรื่องชนชั้นทางสังคมของ Friedeich Engel ที่เริ่มจากสังคมที่ไร้ชนชั้น (Classless Society) มาเป็นสังคมที่มีชนชั้นทางสังคม ( Class society) และแนวคิดเชิงวิวัฒนาการทางสังคมของ Lewis Henry Morgan ที่เริ่มต้นจากจาก สังคม แบบคนป่า(Savage) ไปยังแบบอนารยชน (Babarianism) และสิ้นสุดที่สังคมอารยธรรมหรือศิวิไลต์ (Civilization ) โดยเฉพาะEngelได้กล่าวถึง 3 องค์ประกอบของการก้าวไปสู่สังคมสมัยใหม่ ที่เป็นสังคมอุตสาหกรรม ไว้ 3 ประการคือ 1) การมีทรัพย์สมบัติส่วนตัว (Private Property) 2) การมีลักษณะการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียว (Monogamy) 2) การเป็นรัฐ (State) อันเป็นแนวความคิดที่ได้รับอิททธิพลในทางมานุษยวิทยา ที่สังคมบุพกาล จะเป็นสังคมแบบคอมมูน ที่ช่วยกันผลิต เช่นการล่าสัตว์หาของป่าเป็นกลุ่ม ผลผลิตที่ได้ก็แบ่งปันกัน ไม่มีการสะสมทรัพย์สมบัติ เนื่องจากกลุ่มชนเหล่านี้มีไม่มีการตั้งที่อยู่เป็นหลักแหล่งแต่การอพยพย้ายถิ่นไปเรื่อยๆ เมื่อความอุดสมบูรณ์ของที่อยู่อาศัยเดิมหมดไป หรือมีการตายเกิดขึ้น เพื่อป้องกันโรคระบาด และมีลักษณะของพหุสามีหรือพหุภรรยา(Polygamy) เมื่อผู้หญิงแต่งงานมีสามี เมื่อสามีคนแรกตายก็ต้องแต่งกับน้องชายสามี หรือหากฝ่ายหญิงตาย ฝ่ายชายก็อาจแต่งกับพี่สาวหรือน้องสาวของภรรยา เป็นต้น และสุดท้าย ชนเผ่าดั้งเดิม จะอยู่กันเป็นกลุ่ม(Band) ตามสายตระกูล (Clan) และนับถือผู้อาวุโสประจำตระกูล ซึ่งเป็นหัวหน้าเผ่าและเป็นหมอผีที่ช่วยรักษาคนในกลุ่มจากโรคภัยไข้เจ็บและภูติผีปิศาจ ยังไม่ใช่การรวมกันแบบรัฐ ที่ต้องมีอาณาเขต มีประชากร มีอำนาจอธิปไตย มีรัฐบาล ซึ่งเป็นของสังคมอุตสาหกรรมนิยม (Industrialism) และทุนนิยม (Capitalism) สิ่งที่Luc –Jean ได้นำเสนอนั้น ไม่ใช่การตอกย้ำให้เรายอมรับเรื่องของวิวัฒนาการสายเดี่ยวของประเทศหล้าหลังทั้งหลาย ที่จะต้องผ่านขั้นตอนอันจะนำพาไปสู่ความเป็นอารยะเฉกเช่นเดียวกับประเทศตะวันตก แต่เขาได้ชี้ให้เห็นถึงอารยธรรมของบางประเทศ ในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นประเทศยากจนและด้อยพัฒนา ก็มีวัฒนธรรม อารยธรรมช่วงก่อนโคลัมเบียที่รุ่งเรืองในอดีต ไม่ว่าจะเป็นอินคา มายาและแอกแซก เขากล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า “การเข้าใจกระบวนการของวิวัฒนาการจะทำให้เราเข้าใจจุดเริ่มต้นของสิ่งหนึ่ง” และพยายามกลับขั้วทางความคิด ว่าวิวัฒนาการมีหลายสาย มีที่มาและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน สังคมในยุคสมัยใหม่กำลังกลับเข้าสู่วิวัฒนาการแรกเริ่ม การออกจากเมืองสู่ชนบท การออกจากความศิวิไลซ์สู่ความเป็นธรรมชาติ จากสังคมที่เป้นแบบผัวเดียวเมียเดียว กลายมาเป็นมากผัวมากเมีย มีการสับเปลี่ยนคู่นอน หรือการที่คนกลุ่มหนึ่งออกจากสังคมมาตั้งชุมชน หรือกลุ่มคนที่ต้องการจะปลดปล่อยตัวเองอย่างกลุ่มกองโจรฮิ๊ปปี้เหล่านี้คือสิ่งที่Luc Jean ต้องการนำเสนอในด้านกลับ นั่นคือความพยายามตระหนักรู้ และเข้าใจในบางสิ่งอย่างเท่าทัน ถึงมายาคติทางสังคม วัฒนธรรมที่ถูกสร้างขึ้น ซึ่งสิ่งที่สะท้อนจุดสิ้นสุดแห่งสัปดาห์ นั้นคือ ความสิ้นสุดของความเป็นมนุษย์ ที่ถูกความเพ้อฝันและมายาคติของลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยม ได้แทรกซึมเคลือบแฝงเข้ามาถึงร่างกายและจิตใจของนุษย์ยู่ตลอดเวลา ภายใต้ความคุ้นชินและการยอมรับสิ่งเหล่านี้อย่างสนิทใจและเต็มใจ ในท้ายที่สุดเราก็ปล่อยให้มันทำลายเราและกลืนกินตัวของเราลงไปที่ละน้อยๆ ดังนั้นสิ่งที่Corrine ได้กระทำในตอนท้ายเรื่อง ที่เธอเข้าร่วมกับกลุ่มFLSO และกินเนื้อสามีของหล่อนนั้น ย่อมสะท้อนให้เราเห็น ความรุนแรงของการแข่งขันในระบบทุนนิยม ที่ทำลายล้างและขูดรีดกินเลือด กินเนื้อของมนุษย์ด้วยกันเอง ซึ่งทุนนิยม ทำให้การบริโภคนิยม สามารถดำเนินและขับเคลื่อนต่อไปได้ ที่สำคัญมันสามารถขยายขอบเขตการบริโภคได้อย่างกว้างขวางโดยที่เราคาดไม่ถึง เมื่อเรากินอาหารฟาตฟูตส์ของบริษัทข้ามชาติต่างๆ ที่มีสาขาอยู่ทั่วทุกมุมโลก สิ่งที่เรากินเข้าไป ไม่ใช่แค่แป้ง เนื้อสัตว์ มะเขือเทศ ชีส หรือมันฝรั่งบดที่เรามองมันเพียงแค่ประโยชน์ขั้นพื้นฐานในการเป็นอาหารเท่านั้น แต่เรายังกลืนกินคุณค่าบางอย่างที่แฝงมากับมัน ไม่ว่าจะเป็นหยาดเหงื่อแรงงานของคนประเทศด้อยพัฒนาที่ทำฟาร์มปศุสัตว์ ทำการเพาะปลูกพืชผลให้กับนายทุนข้ามชาติ ที่มาขูดรีดเอามูลค่าส่วนเกินในการผลิตและสร้างหนี้สินให้กับเกษตรกรในประเทศโลกที่สาม โดยการสร้างค่านิยมในเรื่องของความทันสมัย ความเท่ห์และมีสไตล์ในการบริโภคแบบตะวันตก ที่พวกเราหลายคนชื่นชอบ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ Luc Jean Godard ต้องการใช้หนทางของภาพยนต์ในการปะทะกับระบบบริโภคนิยมอย่างเร่าร้อนและแยบคาย ในการสะท้อนความเสแสร้งของสังคมชนชั้นกลาง (Hypocrisy of Bourgeoisie Society) ที่เกี่ยวกับการเดินทางไปผักผ่อนในวันหยุด (weekend) ของชนชั้นกลางชาวฝรั่งเศส และการเข้าไปสู่วังวนสงครามกลางเมือง (Civil War) นักปฎิวัติ (Revolutionist) การกินเนื้อพวกเดียวกัน (Cannibalism) และการฆ่ากัน (Killing) ของคนในสังคม ท่ามกลางกระแสของระบบทุนนิยมและบริโภคนิยมที่เชี่ยวกรากในปัจจุบัน
วันนี้เราบริโภคทุกสิ่งทุกอย่าง ภายใต้ระบบทุนนิยม ที่ถูกผลิตซ้ำผ่านสื่อต่างๆ ที่เราเชื่อมั่นและเรายอมรับมันอย่างปล่อยปะละเลยและไม่เคยคิดจะตั้งคำถาม กับพฤติกรรม โลกทัศน์ และความคิดของตัวเราเอง ในขณะที่เราคิดว่ามันคือความจริงและเป็นเป้าหมายของชีวิต ที่เหมาะสมกับสถานภาพและชนชั้นทางสังคมของเรา บางครั้งเราอาจหลงลืมไปว่า ตัวเราที่แท้จริงคือใครและเราจะรู้เท่าทันมายาคติ ความฝันอันฉาบฉวยในสังคมของเราได้อย่างไร? โดยไม่ปล่อยให้ลัทธิบริโภคนิยมและทุนนิม เข้ามาทำลายและกลืนกินตัวของเราจนหมดสิ้น จนเราไม่รู้ว่าตัวเราเองคือใคร?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น