วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

Ferdinand De Saussure
เฟอร์ดิน็องต์ เดอร์ โซซูร์(1857-1923) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในประวัติศาสตร์ของพวกแนวคิดโครงสร้างนิยม ในการพัฒนาสัญวิทยาในช่วงปลายศตวรรษที่19 และช่วงต้นศตวรรษที่20 โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของ เลวี่ สเตร๊าท์(Levi-Strauss) ชาร์ค ลากอง (Jacques Lacan) และ โรล็องต์ บาร์ธ (Roland Barthes) รวมถึง มิเชล ฟูโก้ (Micheal Foucault) ที่ได้กลับมาวางรางฐานและปฎิเสธเกี่ยวกับโครงสร้างนิยมแบบที่โซซูร์นำเสนอ แต่สร้างโครงสร้างใหม่ภายใต้แนวคิดเรื่องวาทกรรม ที่สร้างทิศทางใหม่ของนักคิดสกุลหลังโครงสร้างนิยม(Post-Structuralism) ในคำบรรยายเริ่มแรกของเขาที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ในช่วงปี1906-1911 และการตีพิมพ์โครงร่างงานของเขาที่เขียนไว้ และคำบรรยายของเขาที่ลูกศิษย์ได้รวบรวมไว้ ภายหลังการมรณกรรมของเขาเมื่อปี 1915-1916 ภายใต้ชื่อ Course de linguistique Generale ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่ในยุโรป ภายใต้ชื่อ Course in general linguistic ในปี1960
เขาได้นำเสนอความคิดว่า การศึกษาภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลจากอีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Derkhiem ในหนังสือสำคัญของเขาชื่อ Rule of the Sociologies method) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสที่กำลังมีอิทธิพลในการศึกษาสังคมโดยมองว่าสังคมมีฐานะเหมือนวัตถุทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ที่สามารถศึกษาได้ ทำให้โซซูร์ ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์กับการศึกษาภาษาศาสตร์แบบใหม่ โดยแยกภาษาออกเป็น 3 ส่วน คือ Le Language ที่เป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆในภาษา Le Langue ที่เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์หรือไวยากรณ์ ที่เป็นผลผลิตของสังคม ซึ่งสร้างแบบแผนให้ประทับอยู่ในสมองของสมาชิกแต่ละคนในชุมชนทางภาษา(Language Community) และLa Parole เป็นเรื่องความสำนึกรู้ในการกระทำของปัจเจกบุคคล ที่เป็นเรื่องของการใช้ภาษาและการออกเสียง การสร้างประโยค การเลือกคำ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ภายใต้ไวยากรณ์ กฎเกณฑ์ในภาษา ที่มีอยู่ในตัวบุคคลแต่จะไม่ขึ้นอยู่กับการใช้ภาษาของแต่ละบุคคล สำหรับโซซูร์แล้ว ระบบหรือ Langue เป็นส่วนที่เป็นนามธรรม ที่สามารถศึกษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับบุคคล เป็นแบบแผนกฏเกณฑ์ร่วมกัน เนื่องจากการศึกษาปัจจเจกบุคคลนั้นประกอบด้วยส่วนอัตวิสัยและมีความแตกต่างและมีความเฉพาะในแต่ละบุคคล ทำการศึกษาได้ยากกว่า รวมทั้งในความคิดของโซซูร์ก็สนใจศึกษาภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน เพราะถือว่าภาษาเขียนไม่ใช่ภาษา แต่เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำพูดเท่านั้น โซซูร์ ได้นำเสนอสมมติฐานของปรากฏการณ์ทางภาษาศาสตร์มีลักษณะ 2 ด้านที่สัมพันธ์กัน โดยสิ่งหนึ่งได้รับความหมายหรือคุณค่ามาจากสิ่งอื่นๆ(อ้างจากSuassure:1966,P.8) ซึ่งมีลักษณะสำคัญมีดังนี้คือ
1.การเชื่อมต่อพยางค์ตัวอักษร (Syllable) ที่เป็นภาพประทับของเสียงที่เราได้รับโดยหู แต่เสียงจะไม่มีอยู่ถ้าปราศจากอวัยวะในการออกเสียง(Vocal Organ)
2.ถ้อยคำเป็นทั้งด้านปัจเจกบุคคล (Individual) และด้านสังคม(Social) ซึ่งทำให้พวกเราไม่สามารถคิด จินตนาการ เกี่ยวกับสิ่งหนึ่งโดยปราศจากสิ่งอื่นได้
3.เสียงเป็นเครื่องมือทางความคิดโดยตัวของมันเอง ที่ไม่ได้มีอยู่จริง ทำให้เราต้องกลับมาตั้งข้อสังเกตกับความสัมพันธ์ของเสียง หน่วยของเสียงพูดที่ความซับซ้อน การเชื่อมโยงในกระแสความคิด ไปยังรูปแบบที่ซับซ้อนที่เป็นหน่วยทางจิตวิทยาและทางฟิสิกส์กายภาพ ซึ่งยังคงไม่ใช่ภาพที่สมบูรณ์
4.ถ้อยคำ (Speech) เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสร้างระบบและวิวัฒนาการเสมอ คือสถาบันที่มีอยู่จริง และเป็นผลผลิตของอดีต กับการแบ่งแยกระบบและประวัติศาสตร์ของมันเอง
จากพื้นฐานแนวความคิดข้างต้นเกี่ยวกับปรากฎการณ์ของภาษา ทำให้เรามองเห็นความคิดแบบคู่แย้ง ของโซซูร์ในเรื่องของภาษา ที่เป็นทั้งเรื่องของปัจเจกบุคคล-สังคม เสียง-ความคิด พยางค์ตัวอักษร-เสียง ลักษณะทางจิตวิทยา-ลักษณะฟิสิกส์กายภาพ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องพึ่งพาระหว่างกันโดยที่สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นได้จากสิ่งหนึ่ง นอกจากนี้แนวความคิดดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างภาษาศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ เช่นการศึกษาเกี่ยวกับการออกเสียง(Philology) การศึกษาเชิงฟิสิกส์กายภาพเกี่ยวกับอวัยวะในการออกเสียง การศึกษาทางประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการของภาษาเชิงนิรุกติศาสตร์ (history) การศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยา(Psychology) และการศึกษาเกี่ยวกับสังคมและปัจเจกบุคคลในเรื่องระบบภาษา การใช้ภาษาและความคิด การให้ความหมาย ที่สัมพันธ์กับการศึกษาทางมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ที่นำมาประยุกต์ใช้ศึกษาเกี่ยวกับสัญวิทยาและสัญญะที่แพร่หลายในปัจจุบัน ดังที่ จูเลีย คริสเตวา (Julia Kristeva) ได้กล่าวว่า
“เฟอร์ดิน็องต์ เดอ โซซูร์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การยึดจับทั้งหมดเช่นเดียวกับ ภาษา คือสิ่งที่มีหลายๆด้านและมีความแตกต่างหลากหลาย มี่แผ่กว้างไปยังสนาม ศาสตร์ทางกายภาพ กายภาพสังคมและจิตวิทยา ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับทั้งปัจเจกบุคคลและสังคม พวกเราไม่สามารถจับวางมันไปยังประเภทความจริงของมนุษย์ และพวกเราไม่สามารถค้นพบความเป็นเอกภาพของมัน เพราะว่ามันซับซ้อนและมีความแตกต่างทางปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น ภาษาจึงถูกกล่าว กับการวิเคราะห์เกี่ยวกับปรัชญา จิตวิเคราะห์ สังคมวิทยา ที่ไม่ได้อ้างถึงระเบียบวิธีทางภาษาศาสตร์ที่หลากหลาย” (Kristeva:1989,P.8-9)
จากข้อสมมตติฐานข้างต้นโซซูร์ ได้สรุปลักษณะของภาษาออกเป็น 4 ประเด็นคือ
1.ภาษาเป็นด้านสังคมของการใช้ถ้อยคำ ที่อยู่นอกขอบเขตของปัจเจกบุคคล ผู้ซึ่งไม่สามารถที่จะเคยสร้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยตัวของเขาเอง ดังนั้น ภาษาจึงเป็นวัตถุที่ถูกให้คำนิยามอย่างดีในมวลสารที่หลากหลายของความจริงแห่งถ้อยคำ
2.ภาษา(Language)ไม่เหมือนการพูด(Speaking) เป็นบางสิ่งที่พวกเราสามารถศึกษาโดยแยกจากกันได้

3.การใช้ถ้อยคำ(speech) เป็นสิ่งที่มีความแตกต่างหลากหลาย ภาษา(Language) เป็นสิ่งที่เป็นแก่นแท้เท่านั้น ในความเป็นเอกภาพของความหมาย (Meaning)และจินตภาพแห่งเสียง(Sound-Image) ซึ่งเป็นส่วนของสัญญะที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา

4.ภาษาเป็นรูปธรรมไม่น้อยไปกว่า การพูด และนี่เป็นสิ่งที่ช่วยในการศึกษาของเราเกี่ยวกับมัน สัญญะทางภาษาศาสตร์ นำไปสิ่งที่เกี่ยวกับสู่จิตวิทยาที่เป็นพื้นฐาน ที่ไม่ใช่เรื่องนามธรรม แต่มันสัมพันธ์กับการยึดถือการประทับของมติหรือการยอมรับร่วมกัน และสัญญะทางภาษาเป็นสิ่งที่จับต้องได้

โซซูร์ได้สรุปความคิดของเขา โดยนำวิธีการศึกษาแบบคู่แย้ง มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาษาของเขาที่เป็นเรื่องของคำพูด ถ้อยคำ(Speech) ซึ่งแสดงให้เห็นเป็น 2 ขั้วคือ 1) ความเป็นวัตถุแห่งภาษา(Object of Language) ที่เป็นด้านสังคมอย่างบริสุทธิ์และเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาที่เฉพาะ และเป็นอิสระจากปัจเจกบุคคล 2) ความเป็นวัตถุในด้านของปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวกับถ้อยคำเช่นการพูด การเปล่งเสียง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของจิตวิทยากายภาพ ทั้งสองขั้วเป็นสิ่งที่ติดต่อเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดและพึ่งพาอาศัยอยู่บนสิ่งอื่นๆ ความแตกต่างตรงกันข้ามหรือลักษณะในทางลบ(Negative) เป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งหนึ่งมีความหมาย
แนวความคิดดังกล่าวทำให้เราเห็นทิศทางของโซซูร์ในการศึกษาเกี่ยวกับภาษา โดยเน้นที่การศึกษาระบบ ความคิด ที่ปรากฎผ่านการพูด หรือการใช้ภาษา ที่เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่มีความแตกต่างหลากหลาย แต่พวกเขาก็ใช้มันอยู่ภายใต้ระบบกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกันในชุมชนทางภาษานั้น การศึกษาภาษาจึงเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ความคิด วัตถุสิ่งของ ซึ่งสัมพันธ์กับภาษา โซซูร์ มองว่า เราสามารถที่จะจับวางความเป็นไปได้ของสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กับภาษาไปยังรูปแบบของรูปภาพ (Graphic Form) ที่ยอมรับโดยดิชชันนารี่และไวยากรณ์กับการแสดงความถูกต้องของสิ่งนั้น สำหรับภาษาเหมือนคลังข้อมูลของภาพประทับแห่งเสียงและการเขียนเป็นสิ่งที่เป็นรูปแบบที่สามารถสัมผัสได้เกี่ยวกับจินตนาการเหล่านั้น (Suassure:1966,P.15) นั่นคือ การตระหนักรู้จินตนาการแห่งเสียงในการพูด สามารถถูกแปลไปยังจินตนาการของการมองเห็น(Visual Image) แต่เป็นส่วนประกอบที่จำกัดของหน่วยเสียง ซึ่งตอบสนองกับจำนวนของสัญลักษณ์ทางการเขียน โซซูร์ ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับภาษาว่า
“ภาษาเป็นระบบของสัญญะที่แสดงความคิด และเป็นสิ่งที่เปรียบเทียบได้กับระบบของการเขียน อักษรของคนหูหนวกเป็นใบ้ หรือตาบอด สัญลักษณ์ทางพิธีกรรม มารยาท สัญญาณทางทหารและสิ่งอื่นๆ แต่มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดของระบบทั้งหมดเหล่านี้” (Saussure:1966, P.16)
สัญวิทยา(Semiology มาจากภาษากรีก “Semeion” “Sign”) ของโซซูร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของสัญญะภายในสังคม ที่เป็นสิ่งที่สามารถจินตนาการเกี่ยวกับมันได้ โดยมันมีลักษณะที่เป็นส่วนหนึ่งของจิตวิทยาสังคม และจิตวิทยาทั่วไป เขาถือว่า ภาษาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์ที่เฉพาะทางสัญวิทยาและกฎเกณฑ์ที่ถูกค้นพบโดยสัญวิทยาเป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้กับภาษาศาสตร์ ซึ่งแสดงให้เห็นความสำคัญของวิธีการศึกษาเชิงสัญวิทยา ที่ใหญ่กว่าเรื่องของภาษา ทำให้เป็นสิ่งที่ถูกโต้แย้งและโจมตี โดยนักสัญวิทยารุ่นต่อมาอย่าง โรล็องต์ บาร์ธ(Roland Barthes) ว่า “ภาษาศาสตร์ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของศาสตร์ที่ค่อนข้างเฉพาะของสัญญะ ในส่วนที่เป็นเอกสิทธิ์พิเศษ แต่มันเป็นสัญวิทยา ที่เป็นส่วนหนึ่งของภาษาศาสตร์”(Floyed Merrell:1992) นั่นคือถ้าทุกๆสิ่งมีโครงสร้างที่คล้ายหรือเหมือนภาษา ก็แสดงว่าไม่มีอะไรเลยที่สามารถจะเป็นหรืออยู่เกินขอบเขตของภาษา ความพยายามก้าวข้ามอยู่เหนือขอบเขตดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สำหรับโซซูร์แล้ว เขาตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกับมายาคติและความเชื่อที่ผิด เกี่ยวกับความคิดเรื่องสัญญะทางภาษาศาสตร์ ว่ามันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุสิ่งของ(Thing) และชื่อ(Name) แต่เขาก็มิได้ปฎิเสธการดำรงอยู่ของวัตถุและชื่อ หรือ ธรรมชาติของสัญญะ/สัญลักษณ์ ซึ่งเขาคิดว่ามันเป็นเรื่องของความคิด(Concept) และจินตภาพแห่งเสียง(Sound-image)มากกว่า อันนำมาซึ่งปัญหาของสัญญะทางภาษาศาสตร์ กับความสัมพันธ์กับธรรมชาติของวัตถุ สถาบันทางสังคม วัฒนธรรมของชาติ และภูมิศาสตร์เชื้อชาติ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกภาษา
สัญวิทยาของโซซูร์ ได้แสดงให้เห็นว่า อะไรที่ประกอบสร้างสัญญะและอะไรที่เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมพวกเขา ซึ่งเป็นระบบกฎเกณฑ์ที่อยู่ภายในภาษา(Internal Linguistic) แม้ว่าเขาจะบอกว่า การศึกษาเกี่ยวกับปรากฎการณ์ภายนอกภาษา(External Linguistic) เป็นสิ่งทีมีความสมบูรณ์มากที่สุด แต่เขาก็ให้ความสำคัญและต้องการแยกการศึกษาเกี่ยวกับระบบภายในภาษาออกมาต่างหาก ดังที่เขากล่าวว่า
“ฉันเชื่อว่า การศึกษาเกี่ยวกับปรากฎการณ์ภายนอกภาษา เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด แต่กับการพูดว่า พวกเราไม่สามารถเข้าใจ การดำรงอยู่ของระบบภายในภาษา โดยปราศจากการศึกษาปรากฏการณ์ภายนอก เป็นสิ่งที่ผิดพลาด การยึดจับเช่นเดียวกับ ตัวอย่างการขอยืมคำศัพท์จากต่างประเทศ พวกเราสามารถสังเกตได้ในระยะเริ่มต้น ในการขอยืมคำศัพท์ เป็นสิ่งที่ไม่มีอำนาจพลังอย่างสม่ำเสมอในการดำรงอยู่ของภาษา ในหุบเขาที่ถูกแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว นั่นคือภาษาท้องถิ่นที่ไม่เคยจับยึดกับชุดคำที่ประดิษฐ์หรือเลียนแบบ จากภายนอก”(Saussure:1966,P.22)
ภาษา ในทัศนะของโซซูร์ จึงเป็นเสมือนระบบที่จัดการตัวมันเอง เช่นเดียวกับ เกมส์หมากรุก(Chess) ซึ่งสามารถแยกความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นภายนอก ในความจริงทางประวัติศาสตร์ของเกมส์หมากรุกที่ส่งผ่านมาจากเปอร์เซียสู่ยุโรป และสิ่งที่เป็นภายใน ในเรื่องของระบบและกฎเกณฑ์ของมัน ที่ทำให้การเล่มเกมส์หมากรุกสามารถดำเนินไปได้ ระบบไม่ใช่ ชนิดประเภทของวัสดุที่ทำตัวหมากรุกแต่ละตัว ไม่ว่าจะเป้น ไม้ เหล็ก พลาสติก งาช้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของวัสดุดังกล่าวไม่มีผลต่อระบบ แต่ถ้ามีการลดหรือเพิ่มจำนวนของตัวหมากรุก ย่อมมีผลกระทบต่อระบบกฎเกณฑ์ หรือไวยากรณ์(Grammar) ของเกมส์ที่ทำให้เกมส์สามารถดำเนินไปได้ ซึ่งสะท้อนว่า ภาษาเหมือนกับวัสดุหรือเครื่องมือทางความคิด ที่ซึ่งมันเป็นพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารในสังคม ก่อนที่เราจะเล่นเกมส์เราจึงต้องรู้และเข้าใจกติกาก่อนเราถึงจะเล่นมันได้ หมากรุก จึงเป็นเสมือนสัญญะ ที่เป็นเครืองหมาย หรือความสามารถของการยอมรับรูปแบบและแสดงความหมายจากส่วนประกอบที่แตกต่าง ความเข้าใจความหมายเกี่ยวกับตัวขุนในเกมส์หมากรุกที่มาจากส่วนประกอบอื่นๆ เข่น ตัวโคน ตัวเบี้ย ตัวเรือ ตัวม้า อันเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ของการอ้างอิงในความแตกต่างอย่างบริสุทธิ์ (Purely Differential) ซึ่งทำให้เราเข้าใจและตระหนักรู้การแสดงออกของมัน

จากจุดดังกล่าวนี้เองที่โซซูร์ ได้พัฒนาแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์สองด้าน (Dyadic) ในชุดของ รูปสัญญะ(signifiant/signifier) กับความหมายสัญญะ(signifie/signified) ระบบกฎเกณฑ์(langue)กับการเปล่งเสียง(speech/parole) นามธรรม(abstract)กับรูปธรรม(concrete) สังคม(Social)กับปัจเจกบุคคล(individual) ความคิด(concept)กับจินตภาพแห่งเสียง(sound-image/acoustic-image) ที่เป็นเสมือนกับสองด้านของความสัมพันธ์ซี่งสามารถทำการแยกศึกษาได้

ความแตกต่างของ Parole หรือด้านของปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ ที่ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างเป็นรูปธรรมในตัวของมันเอง นอกจากเป็นการแสดงแต่ละชิ้นส่วนของถ้อยคำที่สามารถจะจัดหาได้ มนุษย์จึงเป็นเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ถูกจัดวาง วางแผน และลงทุนในภาษาซึ่งเป็นระบบที่ซับซ้อน หรือโครงสร้างที่สอดคล้องระหว่างสัญญะและความคิดที่แตกต่าง ภายใต้ความสัมพันธ์อันหลากหลาย เครื่องมือทางเสียง( The Vocal Apparatus) ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนทางภาษา โดยกระบวนการทำให้เป็นความจริงในรูปธรรม บนโลกที่แท้จริงของการติดต่อสื่อสารในสังคม(Hawkes:1977) ซึ่งนำไปสู่คำถามที่สำคัญว่า อะไรคือธรรมชาติของมนุษย์ ที่ไม่ใช่ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับปากหรือการพูด แต่เป็นความสามารถเกี่ยวกับการสร้างภาษา ซึ่งเป็นระบบของความแตกต่างทางสัญญะที่ตอบสนองกับความแตกต่างทางความคิดของมนุษย์
โดยที่Langue เป็นผลผลิตทางสังคม ในความสามารถทางถ้อยคำ คำพูด และการรวบรวมสะสม ธรรมเนียม แบบแผน กฎเกณฑ์สำคัญ ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยกลุ่มทางสังคมหรือชุมชนทางภาษากับการยินยอม อนุญาตของแต่ละปัจเจกบุคคล ที่เกี่ยวกับการใช้ ที่เป็นความสามารถที่ติดตัวมาของมนุษย์

Parole เป็นส่วนที่เล็กที่สุด ที่อยู่ในหน่วยทางภาษา(Langue) ที่เป็นมวลสารที่ใหญ่ที่สนับสนุนส่งเสริมมัน และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมัน ทั้งโดยผู้พูด ผู้ฟัง แต่ไม่เคยปรากฎตัวของมันเอง ภาษาเป็นวัตถุเชิงนามธรรม ที่เราไม่สามารถจับได้ และไม่เคยปรากฎทั้งหมดของมัน รูปแบบความสัมพันธ์ที่เป็นคู่ระหว่างรูปสัญญะและความหมายสัญญะ มันค่อนข้างจะเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมชาติน้อยมาก เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งที่มาจากการกำหนดให้เป็น(Arbitrary) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างจิตภาพของเสียง (Sound-image) และความคิด(Concept) เช่นเดียวกับรูปสัญญะ(Signifier) และความหมายสัญญะ(Signified) เช่นคำศัพท์ว่า TREE (ต้นไม้) ที่เป็นตัวอย่างของโซซูร์ ซึ่งเป็นรูปสัญญะ และเป็นความหมายสัญญะในเรื่องของความคิดเกี่ยวกับต้นไม้ ลักษณะความจริงทางกายภาพของต้นไม้ที่เจริญเติบโตในพื้นดิน คำศัพท์คำว่า “TREEหรือต้นไม้” ไม่ได้เป็นธรรมชาติหรือคุณสมบัติที่เท่าเทียมกันกับต้นไม้จริงๆ ซึ่งโซซูร์ก็ไม่ได้สนใจกับความจริงที่อยู่พ้นขอบเขตหรือนอกเหนือเรื่องของภาษา ที่อยู่ภายใต้การรับรองเกี่ยวกับมันเท่านั้น

ดังนั้นการถูกกำหนดให้เป็นของสัญญะ (The Arbitrary of sign)เป็นเสมือนสิ่งที่ป้องกันรักษาภาษาจากความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงมัน (Saussure:1966,P.73) ดังที่โซซูร์กล่าวว่า
“คำศัพท์ การกำหนดให้เป็น(Arbitrary) เป็นสิ่งที่กล่าวสำหรับการวิจารณ์แนะนำด้วย ชุดคำที่ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ ซึ่งทางเลือกของรูปสัญญะเป็นสิ่งที่ออกมาอย่างค่อนข้างสมบูรณ์ กับผู้พูด (เราจะเห็นว่า ปัจเจกบุคคล ไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญะในหนทางอื่นๆมากมาย ที่มันได้กลายเป็นการถูกจัดตั้งในชุมชนทางภาษา) ฉันหมายถึง มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกเคลื่อนย้าย/เคลื่อนไหว เป็นการกำหนดให้เป็น ที่มันไม่ได้เชื่อมต่ออย่างเป็นธรรมชาติที่แท้จริงกับความหมายสัญญะ”(Saussure:1966,P.68-69)

การถูกกำหนดให้เป็น จึงไม่ใช่เหตุผลหรือธรรมชาติ ที่เชื่อมโยงระหว่าง2ส่วนของสัญญะ ที่ถูกทำให้เป็นหนึ่งเดียวภายใต้รูปแบบกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกันในชุมชนทางภาษา ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องภายในตัวของปัจเจกบุคคล รูปสัญญะที่แตกต่างหลากหลายของคำศัพท์ เกี่ยวกับต้นไม้ Arbre ,Baum Arbor และTree ไม่มีอะไรเลยที่จะเหมาะสมกว่าหรือมีเหตุผลกว่าสิ่งอื่นๆ แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้การรักษาและการันตี จากโครงสร้าง ธรรมชาติของระบบที่เกิดขึ้นในชุดคำที่แน่นอน คำศัพท์ของต้นไม้ จึงมีความหมายถึงลักษณะทางกายภาพเกี่ยวกับใบ สิ่งที่เจริญเติบโตในดิน เพราะว่าโครงสร้างของภาษาได้สร้างความหมายของมันและทำให้มันถูกต้อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นอิทธิพลทางภาษาในการสร้างความเข้าใจของมนุษย์ เกี่ยวกับโลกและสิ่งต่างๆรอบตัว สำหรับโซซูร์แล้ว สัญญะทางภาษาศาสตร์ เป็นสิ่งที่กำหนด นิยามความสัมพันธ์ของรูปสัญญะและความหมายสัญญะ วัตถุเป็นสิ่งที่ถูกกีดกันจากความสัมพันธ์นี้ เพราะมันเป็นสิ่งที่ระบุหรือกำหนดการอ้างอิง(Referent) ซึ่งภาษาไม่เกี่ยวข้องกับการอ้างอิง มันเป็นความสนใจในความสัมพันธ์ของรูปสัญญะและความหมายสัญญะเท่านั้น(Kristeva:1989,P.14)

ภาษาจึงเป็นสิ่งที่นิยามและจัดวางกฎเกณฑ์ให้กับตัวมันเอง รวมทั้งการสร้างความจริงในตัวมันเอง และการเป็นตัวแทนที่บรรจุความสัมพันธ์ทางโครงสร้างกับตัวมันเอง ที่ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่มีความหมาย จนกระทั่งสิ่งเหล่านี้มารวมตัวกันภายในขอบเขตชุมชนของมัน ภาษาจึงเป็นระบบที่พึ่งพากันระหว่างชุดคำ ที่ซึ่งความหมายและคุณค่าของสิ่งหนึ่งเป็นผลลัพธ์จากความสัมพันธ์ที่แตกต่างของชุดคำอื่นที่อยู่ในโครงสร้าง การปรากฎของสิ่งหนึ่งจึงมาจากสิ่งอื่นๆที่ไม่ปรากฎ หรือการดำรงอยู่การเป็นอยู่ ของมัน โดยที่สิ่งอื่นไม่ได้เป็น ความหมายของสิ่งหนึ่งจึงไม่ได้ดำรงอยู่ในเนื้อแท้ของมัน และไม่ได้มีนัยในเชิงบวก แค่ค่อนข้างจะเป็นความสัมพันธ์ในเชิงลบ ภายใต้ความแตกต่างหลากหลายระหว่างเขาและชุดคำอื่นๆภายในโครงสร้าง สัญญะจึงเป็นเหมือนหน่วยเสียง(Phonemes) ที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งคุณค่าความหมายของมัน มาจากความสัมพันธ์ในความแตกต่างตรงกันข้าม ที่จำแนก แบ่งแยก จัดประเภท สัญญะหนึ่งจากสัญญะอื่นๆ ที่ประกอบสร้างความหมายของมัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นจุดเน้นที่สำคัญของโซซูร์ ในเรื่องของความคิด รูปแบบ กฎเกณฑ์ (Form) มากกว่าเนื้อหาสาระ(Content) การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์และการดำรงอยู่ของความคิดในความหมาย ที่เชื่อมโยงและเน้นย้ำถึงการมีอยู่เบื้องต้นในความคิดของผู้พูด เกี่ยวกับภาษา ความคิดเป็นจินตนาการทางจิตใจเกี่ยวกับวัตถุที่แท้จริงบางอย่าง ผ่านทางน้ำเสียง คำพูด ดังเช่นเขาพูดถึงเรื่องแนวคิด คำศัพท์ของต้นไม้ ม้า (Tree, Horse) จินตภาพแห่งเสียง(Sound Image) ไม่ใช่สิ่งที่เป็นรูปแบบของเสียง คำพูดที่แท้จริง เมื่อเราออกเสียงคำศัพท์ ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับวัตถุ แต่มันเป็นเรื่องของภาพประทับ จินตนาการที่กดประทับทางจิตวิทยา ซึ่งพึ่งพาอยู่บนความรู้สึกเข้าใจของเรา การศึกษาทางภาษาจึงเป็นการศึกษาลักษณะทางความคิดของมนุษย์ ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจินตภาพแห่งเสียงและความคิด ที่เป็นเรื่องของสัญญะอันเป็นพื้นฐานของหน่วยทางภาษาศาสตร์(Kistevs:1989,P.33 Saussre :1966,P.66 และSharpman:2000)
ความสัมพันธ์ในทางลบ(Negative)ที่เป็นเรื่องของความแตกต่างตรงกันข้าม ดังเช่น ที่โซซูร์ได้นิยามสัญญะ ว่า เป็นสิ่งที่กำหนด พิจารณาความแตกต่างตรงกันข้ามของสัญญะทั้งหมดในระบบของสัญญะ(อ้างจาก Hugh J.Silverman:1994) สัญญะของต้นไม้จึงเป็นสัญญะของต้นไม้ โดยความแตกต่างจากสัญยะอื่นๆ เช่น บ้าน (House) นก (Bird ) และท้องฟ้า (Sky) สัญญะของต้นไม้ ก็แตกต่างกันในรูปสัญญะ Arbre ,Baum.Arbor และArbol สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความแตกต่างจากระบบสัญญะอื่นๆ เช่น arbre ในฝรั่งเศส Baum ในภาษาเยอรมัน Arbol ในภาษาสเปน เพราะว่าพวกเขาไม่ใช่ส่วนหนึ่งของระบบสัญญะเดียวกัน พวกเขาเป็นสัญญะหนึ่งเท่านั้นในลักษณะทางสัญญะทางภาษาที่เฉพาะของพวกเขา ที่นำไปสู่การเลือกใช้พวกเขาของปัจเจกบุคคลในการพูด (Parole) ภายในบริบทและช่วงเวลาที่แน่นอนที่สามารถกำหนดได้

Equus
ㄇㄚˇ

Horse
ม้า













woman
woman
woman
woman


นี่คือ กฎเกณฑฑ์ที่นำไปสู่ความคิดเรื่อง Syntagm และParadigm ในความคิดเกี่ยวกับรื่องของกระแสความหรือการเชื่อมต่อ กับแนวคิดเกี่ยวกับการทดแทน แทนที่ สวมรอย และการคัดเลือก โดยกระบวนชุดของการเชื่อมต่อ (Syntagm) เป็นเสมือนการจัดเรียงคำในประโยค ที่มีความต่อเนื่องของหน่วยทางภาษาที่เรียงกันในแนวราบ ในชุดของความสัมพันธ์ ระหว่าง ประธาน กริยา กรรม เช่น เขากินข้าว
ในขณะที่ความสัมพันธ์ในกระบวนชุดของการแทนที่ คัดเลือก หรือทดแทน (Paradigm) เป็นความสัมพันธ์ของหน่วยทางภาษาหนึ่งกับหน่วยอื่นๆ ที่สามารถแทนที่ในตำแหน่งเดียวกันได้ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในแนวตั้ง เช่น เขากินข้าว เธอดื่มน้ำผลไม้ เราชิมขนม ในชุดของประธาน ประกอบด้วย เขา เธอ และเรา ในชุดของกริยา กิน ดื่มและชิม ในชุดของกรรม คือ ข้าว น้ำผลไม้และขนม ที่สามารถใช้แทนกันได้ในความสัมพันธ์ของประโยค เช่น เขาดื่มน้ำผลไม้ เขากินน้ำผลไม้ หรือเขาชิมน้ำผลไม้ เป็นต้น
mat
bat
I bought my hat in an antique store.
cat
rat



hotel
shed
hut
Mr. Su lives in a house.
apartment
mansion
palace

ความคิดดังกล่าวคล้ายคลึงกับแนวคิดในวิธีการศึกษาภาษาศาสตร์ 2 แบบ แบบแรกคือการศึกษาแนวนิรุกติศาสตร์(Philology) หรือการศึกษาเชิงรากเหง้า วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของภาษา ซึ่งเป็นการศึกษาในแนวตั้งหรือระนาบที่ต่างกัน ที่โซซูร์ เรียกว่า Diachrony ความสัมพันธ์ในเชิงข้ามเวลา แบบที่สอง เป็นการศึกษาเชิงโครงสร้าง ที่ปราศจากมิติทางด้านเวลา และเป็นความสัมพันธ์ในระนาบเดียวกัน เรียกว่า Synchrony หรือเป็นความสัมพันธ์เชิงร่วมเวลา โดยที่โซซูร์ไม่ได้สนใจกับการศึกษา แบบวิวัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงภายในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใดที่เฉพาะของภาษาหนึ่ง แต่เขาสนใจศึกษาระบบโครงสร้างพื้นฐานทั่วไปของภาษา โดยไม่คำนึกถึงมิติเงื่อนไขด้านเวลาเพื่อดูโครงสร้าง ระบบการทำงานในกระบวนการทางภาษา โดยให้ความสนใจกับการแยกศึกษาวิวัฒนาการ ที่เป็นเรื่องของการใช้ภาษา กับโครงสร้างพื้นฐานทางภาษา ที่เป็นเรื่องของระบบกฎเกณฑ์ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การที่เราจะเข้าใจความหมายหรือรหัสทางวัฒนธรรม เราจะต้องเข้าใจระบบโครงสร้างของมันก่อน เราถึงจะสามารถถอดรหัสหรือตีความหมายของมันได้
แม้ว่าโซซูร์ จะให้ความสำคัญกับระบบภายในภาษา และความคิด ระบบ แบบแผนและกฎเกณฑ์ ที่เขาเรียกว่า “Langue” แต่ก็เป็นเพียงคำจำกัดความด้านหนึ่งของหน่วยทางภาษาศาสตร์เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่สมบูรณ์เชิงเดี่ยวในการอธิบาย และเขาค่อนข้างโต้แย้งกับการปราศจากการอ้างอิงกับหน้าที่ทางสังคมของภาษา ดังนั้นภาษาไม่เคยอยู่อย่างแยกเป็นชิ้นจากความจริงทางสังคม มันเป็นธรรมชาติของสังคม ที่เป็นส่วนหนึ่งของลักษณะภายใน ที่เป็นการติดต่อสื่อสารของปัจเจกบุคคล ที่สัมพันธ์กับเรื่องของเสียง และกฎเกณฑ์ที่อยู่ในระดับของความสำนึกรู้ทางจิตวิทยา หรือแนวคิด ซึ่งเป็นเรื่องของสัญญะ อันเป็นกระบวนการใส่รหัส(Encoding) และถอดรหัส(Decoding) ในกระบวนการติดต่อสื่อสาร ที่มีการแบ่งปันและใช้ร่วมกันในชุมชนของผู้พูดภาษา การวิเคราะห์ปรากฎการณ์ทางสังคม จึงเป็นการศึกษาที่เคลื่อนย้ายจากระดับของความสำนึกรู้(Conscious) ไปยังการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานระดับล่างของความไร้สำนึก(Unconscious infrastructure)
สัญญะคืออะไร? โดย นัฐวุฒิ สิงห์กุล
การศึกษาเกี่ยวกับสัญญะ เป็นสิ่งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องของภาษาและความคิด ภายใต้ข้อถกเถียงกันว่า เราเรียนรู้ภาษาก่อนที่เราจะพัฒนาความคิด ที่แสดงให้เห็นความสำคัญว่า ภาษากำหนดความคิดในหนทางของเราเกี่ยวกับโลกที่เป็นเหมือนโครงสร้าง หรือความคิดของเราเองต่างหากที่กำหนดโลกและสร้างสัญลักษณ์ทางภาษาขึ้นมา อันนำไปสู่การตั้งคำถามทางปรัชญาเกี่ยวกับเรื่องความคิดของมนุษย์ที่เป็นคุณสมบัติที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ที่เป็นคุณสมบัติธรรมชาติของการเรียนรู้ของเราที่พึ่งพาอยู่บนประสบการณ์ อันมีรากฐานมาจากแนวความคิดของเพลโต(Plato)เรื่องรูปแบบทางความคิด(Ideal Forms) ที่เรารับรู้ก่อนประสบการณ์อื่นๆมากมาย ของวัตถุที่แท้จริงของธรรมชาติมนุษย์ เช่นเดียวกับความรู้แรกเริ่มที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด ในอีกแนวทางอริสโตเติล(Aristotle) บอกว่า ความรู้แห่งโลก (Knowledge of World) เป็นสิ่งที่ได้รับจากภาพประทับ ที่เราได้รับมาจากความรู้สึกความเข้าใจของเรา ซึ่งแตกต่างจากเรื่องความคิดที่ติดตัวมาแต่กำเนิดที่อ้างอิงกับการมีอยู่ของความรู้ที่แน่นอนในตัวของมนุษย์ ที่เป็นคนละด้านกับ อริสโตเติล อธิบายเกี่ยวกับความคิดของเด็กเกิดใหม่ที่เรียกว่า “Tabula Rasa” ในภาษาละติน ที่มีความหมายเหมือนคำว่า Blank Tablet ( อ้างจากChapman:2000 ) ที่แปลว่าแผ่นกระดานที่ว่างเปล่า หรือกระดาษที่สะอาด เช่นเดียวกับเด็กเกิดขึ้นมาพร้อมกับการปราศจากความรู้ติดตัว ความรู้ของเขาได้มาจากประสบการณ์ในภายหลัง อันนำไปสู่แนวทางการศึกษาที่แตกต่างของพวกเหตุผลนิยม(Rationalist) เช่นความคิดของไลป์นิซ(Leibniz) ที่มองว่าข้อมูลจากความรู้สึกเข้าใจของเรา ไม่เพียงพอในการให้ความรู้เกี่ยวกับโลก ที่ต่อมาเอมมานูเอล ค้านท์(Kant) ได้อ้างว่า องค์ความรู้ที่แน่นอนเริ่มแรกที่มนุษย์ได้รับจะมีมาก่อนประสบการณ์ ในขณะที่อริสโตเติลค่อนข้างจะมีอิทธิพล กับนักคิดสายประสบการณ์นิยม(Empiricist) อย่างเช่น จอห์น ล็อค(John Lock) ที่มองว่าพื้นฐานส่วนหนึ่งทางความคิด ความเข้าใจของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด แต่ความรู้ทั้งหมดได้รักษาไว้ในประสบการณ์ของพวกเขา อันนำไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับภาษาและสัญญะที่มีอิทธิพลมากในปัจจุบัน ในฐานะที่สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนดความคิด และสร้างความหมายให้กับมนุษย์
การศึกษาเกี่ยวกับสัญศาสตร์หรือสัญวิทยา มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรีก ที่คำศัพท์ของสัญญะ ถูกใช้ว่า “Semeion” หรือ ในภาษาละตินว่า “Pural ta semeia” คำว่า “Semiotikos” หมายถึงการสังเกตเกี่ยวกับสัญญะ โดยมี ฮิปโปเครต(Hippocrates) และพาเมนิเดส(Parmenides) ที่เขียนเริ่มต้น ในศตวรรษที่5 ที่นำไปสู่การบรรยายของนักเขียนโรมัน ชื่อซิเซโร(Cicero)และแควงติเลียน(Quintillian) ที่อ้างถึงคำว่า Semeion เช่นเดียวกับคำเหมือน (Symnonym ) และคำว่า Tekmerion กับความหมายถึง เอกสารหลักฐาน(Evidience) ข้อพิสูจน์(proof) หรือการบ่งชี้อาการของโรค(Symptom) ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงถาวร มีลักษณะชั่วคราว มีแนวโน้มที่จะขาดหรือไม่ปรากฎ(Absent) ซึ่งปิดปังอำพรางทัศนะมุมมองอันแท้จริง(Chapman:2000) ดังเช่นตัวอย่างเช่น ควัน (Smoke) ซึ่งเป็นสัญญะของไฟ หรือเมฆ ที่เป็นตัวบ่งชี้พายุฝนที่กำลังจะเกิดขึ้น สำหรับกะลาสีเรือ หรือร่างกายที่อุณหภูมิร้อนขึ้น ผิวที่มีสีแดง เป็นสิ่งที่บ่งบอกความเจ็บป่วยของร่างกาย ตัวอย่างเหล่านี้เป็นวัตถุที่เราสามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง และเป็นสิ่งที่แสดงความรู้สึกด้วย เช่นหน้าแดงเพราะอาย หน้าบูดเบี้ยวเพราะความเจ็บป่วย สิ่งเหล่านี้ถูกบรรยายอย่างแพร่หลายในยุคกลาง เช่นเดียวกับการบ่งชี้หรือวินิจฉัยอาการของโรคของหมอหรือนักฟิสิกส์ในยุคกลาง
ในช่วงต่อมาความคิดเกี่ยวกับสัญญะ ได้เน้นไปที่การศึกษาภาษา การแสดงออกทางภาษาและการติดต่อสื่อสาร โดยอิทธิพลของนักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ และนักปรัชญาชาวอเมริกัน ที่ได้ประกาศชัยชนะของกระบวนการศึกษาเชิงสัญญะในปรัชญาความรู้ปัจจุบันที่ แวงซ็องต์ เดสก๊อมต์(Vincent Descomb:1986) ได้แสดงให้เห็นการเปลี่ยนผ่านแนวความคิดทางปรัชญาใน 3 ระดับคือ
1.ความคิดเรื่องปรากฎการณ์วิทยา(Phenomenological) ที่มีชัยชนะอยู่บน ปรัชญาของการเป็นตัวแทน (Philosophy of representation) ที่ความคิด ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกเข้าใจในวัตถุสิ่งของ(Know thing) ที่นำไปสู่การเป็นตัวแทน
2.ความคิดเรื่องศาสตร์เกี่ยวกับการตีความ (Humeneutic) ที่มีชัยชนะอยู่เหนือการดำรงอยู่ของเทววิทยา(onto-theology) ซึ่งเชื่อว่า มนุษย์ไม่ได้มีความคิดที่บริสุทธิ์ที่นำไปสู่ขอบเขตทางความจริงที่นิรันดร์ เหตุผลของเราไม่สามารถที่จะมีส่วนร่วมกับความเข้าใจที่สมบูรณ์ได้ มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความก้าวหน้าของกระบวนการตีความหมาย การตัดสินใจทุกสิ่งของเราไม่ว่าอะไรก็ตาม
3.ความคิดเรื่องสัญวิทยา(Semiological) ที่มีชัยชนะอยู่เหนือ อภิปรัชญาของการอ้างอิง (Referent) ที่เชื่อว่าความหมาย ไม่ใช่ความสัมพันธ์กับวัตถุที่เป็นอิสระจากการอ้างอิง แต่มาจากความสัมพันธ์ของมันกับสัญญะอื่นๆในระบบปิด เราสามารถสรุปว่า สัญญะอ้างอิงถึงสภาวะความคลุมเครือ ไม่แน่นอนตายตัวของความสมบูรณ์ พร้อมกับสัญญะอื่นๆ
การเปลี่ยนผ่านทางปรัชญาความรู้ทั้งสามระดับ มีความสัมพันธ์กับการถกเถียงความคิด เกี่ยวกับเรื่องความเป็นองค์ประธานของมนุษย์ (The Human Subject ) ที่ถูกครอบงำโดยแนวความคิดทางปรัชญาแบบเดสการ์ต ที่บอกว่า เพราะฉันคิดจึงมีตัวฉัน แต่ปรัชญาของนักสัญวิทยา ที่เน้นลงไปที่ตัวโครงสร้างทางภาษา ได้ทำลายความเป็นศูนย์กลางของมนุษย์ ที่ตัวของมนุษย์เคลื่อนไหว และมีชีวิตท่ามกลางสัญญะหรือภายใต้โครงสร้างทางภาษา ตัวของมนุษย์จึงไม่ใช่องค์ประธานที่คิดได้ในตัวเอง แต่ตัวมนุษย์กลายเป็นร่างทรงของสัญญะ(Sign)หรือบทความ(Text) ที่ถูกเขียนอยู่ตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่มีอิทธิพลมาจากแนวคิดเรื่องภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างของนักสัญวิทยาทั้งสองท่านคือ โซซูร์ และเพิร์ซ ที่ผู้เขียนจะได้แสดงให้เห็นฐานรากทางความคิดของทั้งสองท่าน ความเหมือนและความแตกต่างในการนำมาประยุกต์ใช้ศึกษาและวิเคราะห์ในเรื่องของสัญญะ
ทำไมต้องศึกษาเกี่ยวกับความตาย ( why we are study about death ? )
ความตาย ไม่ใช่เรื่องที่ไกลจากตัวมนุษย์ เพราะความตายเป็นเสมือนวงจรชีวิตของมนุษย์ ที่เปลี่ยนผ่านมาเป็นลำดับ ตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บตาย ดังปรากฏในงานข้อเขียนชิ้นสำคัญของป๋วย อึ้งภากรณ์ ในเรื่องจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ว่า
“เมื่อผมอยู่ในครรภ์ของแม่ ผมต้องการให้แม่ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์ และได้รับความเอาใจใส่ และบริการอันดีในเรื่องสวัสดิภาพของแม่และเด็ก ผมไม่ต้องการมีพี่น้องมากอย่างที่พ่อแม่ผมมีอยู่ และแม่จะต้องไม่มีลูกถี่นัก.....เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ๆ อย่างบ้าๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น ตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำหรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ
เมื่อตายแล้ว ยังมีทรัพย์สมบัติเหลืออยู่ เก็บไว้ให้เมียผมพอใจในชีวิตของเธอ ถ้าลูกยังเล็กอยู่ก็เก็บไว้ เลี้ยงให้โต แต่ลูกที่โตแล้วไม่ให้ นอกนั้นรัฐบาลควรเก็บไปหมด จะได้ใช้เป็นประโยชน์ในการบำรุงชีวิตของคนอื่นๆ บ้าง ตายแล้ว เผาผมเถิด อย่างฝัง คนอื่นจะได้มีที่ดินอาศัยและทำกิน และอย่าทำพิธีรีตอง ในงานศพให้วุ่นวายไป นี่แหละคือความหมายของชีวิต นี่แหละคือการพัฒนาที่จะควรให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของทุกคน…”
ดังนั้นความตายจึงสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้าง หรือสถาบันทางสังคมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย ร่างกายของมนุษย์ได้ถูกจัดวางหรือจัดระเบียบ ผ่านวงจรชีวิตของมนุษย์ ทั้งทางด้านการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย สถาบันต่างๆทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ โรงเรียน วัด ได้เข้ามาจัดการต่อเรื่องดังกล่าว ภายใต้ระบบกฎหมาย จารีตประเพณีทางสังคม ที่สร้างอำนาจและบทบาทหน้าที่ให้กับสถาบันดังกล่าวข้างต้น เช่น การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การทำใบส่งตัวคนไข้ การใช้บัตรทองสามสิบบาท การเข้าโรงเรียน และอื่นๆ เป็นต้น

ความตายกับธรรมชาติ ( Death is Nature )


ความตาย คือธรรมชาติ เพราะความตายเป็นประสบการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเราไม่สามารถสร้างเงื่อนไขใดๆ เกี่ยวกับ ภาวะใกล้ตาย ( Dying ) หรือภาวะการณ์ตาย ( Death ) ของตัวเราหรือสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ หรือได้รับผลประโยชน์อย่างมากจากประสบการณ์เกี่ยวกับความตายนี้ .ในการจัดการกับตัวเองและคนรอบข้าง
ในชีวิตปัจจุบัน เราสามารถเผชิญหน้ากับความตายได้บ่อยมากที่สุด จากการจับจ้อง มองดูรูปภาพ หรืออ่านบทความ ข่าว เกี่ยวกับความตาย ในหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือรายการโทรทัศน์ ที่เน้นย้ำหรือให้ความสำคัญกับผลกระทบทางอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมหรือผู้อ่าน ทำให้ภาพความตายถูกเสนอและผลิตซ้ำ
บทบาทและหน้าที่ของความตาย เช่นเดียวกับ ส่วนหนึ่งของประสบการณ์ชีวิต ที่มีการเปลี่ยนแปลงและสร้างทัศนคติของเราต่อมัน ทัศนคติของเราเป็นสิ่งที่ได้รับอิทธิพลหรือผลกระทบโดยประสบการณ์ในอดีต เกี่ยวกับความตาย ทัศนคติของครอบครัว ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา และปัจจัยอื่นๆ
ความตายเช่นเดียวกับกับการทำลายอย่างสมบูรณ์ (Total Destruction ) และเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ (Inevitability) ปรากฏการณ์เกี่ยวกับความตายได้สร้างการรับรู้ จดจำ และตระหนักเกี่ยวกับความตายของตัวเองและคนรอบข้างความตายจึงเป็นเสมือนการทำลายล้าง เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสูญเสีย รวมทั้งความโศกเศร้าเสียจี่เป็นความรู้สึกและประสบการณ์ด้านอารมณ์
ความตาย ที่สัมพันธ์กับตัวเราและสังคม ( Individual and Society )
มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามลำพัง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ดังนั้นความสัมพันธ์ของวงจรชีวิตมนุษย์ ตั้งแต่การเกิดจนถึงการตาย มีความสัมพันธ์กับชุมชนและสังคม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเมื่อเรากลายเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกทางสังคม เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งสัมพันธ์กับระบบของเครือญาติ ความเป็นพี่น้อง ภายใต้กลุ่มวงศ์วานว่านเครือ
นอกจากนี้ความตาย ยังสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนเป็นกับคนตาย ผ่านความเชื่อในเรื่องผี ทั้งผีบรรพบุรุษ ผีตระกูล ผีวีรบุรุษ หรือผีฟ้าเทวดา ต่างๆ ที่มนุษย์เคารพนับถือและปฏิบัติพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด เรื่องของคนตาย จึงสัมพันธ์ทั้งในแง่ของบุคคล ครอบครัวและชุมชน อย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้


คำถามเกี่ยวกับความเป็นอมตะของชีวิต (Immortality)
ซึ่งมีความเป็นไปได้ส่วนหนึ่งในทางปรัชญาเกี่ยวกับความตาย และการตั้งคำถามกลับเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย
1.จิตวิญญาณตายพร้อมกับร่างกาย (The Soul dies with the body) เชื่อว่าไม่มีบุคคลใด (Person) หรือองค์ประธานใด (Subject) ที่ดำรงอยู่หรือเหลือรอดหลังความตาย (Death)
2.การกลับมาเกิดใหม่หรือดำรงสภาวะใหม่ บางครั้งเรียกว่า Re-Birth หรือ Re – Incarnation ที่การแตกดับนำไปสู่สภาวะการเกิดใหม่หรือเปลี่ยนรูปใหม่
3.จิตวิญญาณ (Soul) เป็นอมตะหรือเป็นนิรันดร์โดยตัวของมันเอง (The immortality of the soul by itself)
4.The resurrection of the body on the last day คือการกลับมาเกิดอีกครั้งหนึ่งภายหลังวันสิ้นสุดโลกหรือวันที่พระเจ้าพิพากษามวลมนุษย์พร้อมกัน
5.The immediate resurrection of the body เป็นการกลับฟื้นคืนชีพอย่างทันทีทันใด เช่น กรณีของพระเยซูคริสต์ เป็นต้น
ความเชื่อในเรื่องของจิตใจ และร่างกาย ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน และแยกออกจากกันในบางสภาวการณ์ เช่น สิ่งที่คนไทยเชื่อกันว่าในร่างกายมีขวัญ เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอาการตกใจ ขวัญก็จะออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นการออกไปแบบชั่วคราวและสามารถเรียกกลับคืนมาได้ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า เรียกขวัญ ส่วนวิญญาณนั้นสัมพันธ์กับการมีชีวิต วิญญาณออกจากร่างกายก็คือ การหมดลมหายใจ หรือสิ้นลม
ประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตและความตายดังกล่าว ทำให้มนุษย์อ้างถึงหรือสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับผี และสิ่งเหนือธรรมชาติอื่นๆ รวมถึงพิธีกรรมความเชื่อ ศาสนาต่างๆ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของความกลัว และความตาย ที่มนุษย์จะต้องเผชิญ และในยุคแรกเริ่มดั้งเดิม มนุษย์ไม่สามารถหาเหตุผลหรือคำอธิบายเกี่ยวกับการกำเนิด หรือ สาเหตุของความตายของมนุษย์ได้ ความเชื่อทางด้านศาสนาตำนานเทพเจ้าและพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับมนุษย์จึงถูกสร้างขึ้น เช่น ความเชื่อของอียิปต์ เกี่ยวกับสุริยะเทพ ซึ่งเป็นผู้สร้างมนุษย์ หรือคนัม มนุษย์เพศผู้ มีเศียรเป็นแพะ ที่ปั้นมนุษย์ขึ้นมาจากดินเหนียว หรือเทพเจ้าอนูบิส เทพเจ้าของคนตาย ที่มีเศียรเป็นหมาใน และเป็นเทพผู้ทำมัมมี่ให้กับมนุษย์ รวมถึงเทพเจ้าโอซิรีส เทพเจ้าแห่งความตายและการฟื้นคืนชีพ โลกและใต้พิภพ หรือแม้แต่ความเชื่อของคนไทย เกี่ยวกับท้าวยมราช หรือท้าวผู้ดูแลยมโลกและพิพากษาความดี ความชั่วของมนุษย์ และยมทูตซึ่งเป็นผู้นำวิญญาณคนตายลงมายังนรก เป็นต้น
โลกทัศน์และความเชื่อต่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ดังกล่าว ได้นำมาสู่ข้อถกเถียงเกี่ยวกับ เรื่องความตาย และชีวิตหลังความตายของมนุษย์ เป็นเช่นไร โดยหลักๆ แล้วอาจจะแบ่งได้เป็นได้เป็น 4 ประเด็นที่น่าสนใจ คือ
1. ความตาย(Death) และสภาวะใกล้ตาย (Dying) กับ ความเป็นอมตะหรือชีวิตที่นิรันดร
2. ชีวิตที่นิรันดร์หรือความเป็นอมตะ(Immortality) และความเชื่อในพระเจ้า (God)
3. ความคิด จิตใจ และร่างกาย และความเป็นอมตะ หรือนิรันดร
4. อัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคล และความเป็นอมตะหรือนิรันดร (Immortality)

ปรัชญาเกี่ยวกับความตาย

1. ความตาย คือ การหยุดชะงักหรือขัดขวาง การมีชีวิต (Death an interruption to life) เหมือนกับการนอน (Sleep) การเจ็บป่วย (Disease) ที่ถาวร เปรียบเสมือนกับการสิ้นสุดโครงการที่ดำเนินงานมายาวนาน หรือเป็นโครงการระยะสั้น ดังนั้นความตายจึงเป็นเสมือนสิ่งที่แทรกแซง กับทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นตัวเราเองหรือคนที่เรารัก
2. ความตาย(Death)หรือสภาวะใกล้ตาย(dying) ควรเป็นสิ่งที่ถูกจ้องมอง พิจารณาว่า เป็น การกระทำที่เราต้องคิดคำนวณ หรือคาดคะเนไว้ล่วงหน้า (The Culminating act of Life) เกี่ยวกับชีวิต ที่บุคคลแสดงออกมาทั้งภายในและภายนอก ซึ่งเขาและเธอหมายถึง หรือให้ความหมายกับชีวิตอย่างไร และชีวิตของเขาและเธอเป็นอย่างไร
3. ความตายเป็นสิ่งที่ถูกพิจารณาเช่นเดียวกับ ส่วนหนึ่งของชีวิต (Part of Life) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสัมผัสหรือทำความรู้จักกับคำคำนี้ (คือ คำว่า ความตายหรือตาย) และต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมัน ในฐานะส่วนหนึ่งของชีวิต หรือวงจรชีวิต ที่จะมาถึงเมื่อไหร่ไม่รู้ จะเร็วหรือว่าช้าไม่มีใครกำหนดหรือรู้ได้ชัดเจน ดังนั้นคนทุกคนต้องเตรียมพร้อมและยอมรับมัน ถ้าในภาษาของไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger) บอกว่า มันคือ “Human being is being toward-Death” ดังนั้นความตายจึงเป็นส่วนหนึ่งของลักษณะทางโครงสร้างในการดำรงอยู่ของมนุษย์
4. ความตายคือสิ่งที่ควรพิจารณาเช่นเดียวกับการส่งผ่าน (Transition) จากชีวิตที่นับได้อย่างแท้จริง หรืออาจกล่าวให้ง่ายก็คือ ชีวิตที่เคลื่อนไหว ชีวิตที่ประกอบด้วยเนื้อหนังมังสา ชีวิตของมนุษย์ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ชีวิตที่นิรันดร์ (Eternal Life) เป็นอมตะ ไม่มีที่สิ้นสุด หรือการเปลี่ยนแปลงจากสถานภาพเดิมไปสู่สถานภาพใหม่ ซึ่งในความเชื่อของแตะละสังคมหรือแต่ละศาสนา ก็มักจะมองว่า ร่างกายเป็นสิ่งที่แตกดับ หรือเสื่อมสลายได้ง่ายมากกว่า จิตวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะทางนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม ซึ่งสามารถเข้าไปรวมหรือเป็นอันหนึ่งเดียวกับพระเจ้าได้ ดังเช่น ศาสดาเยซู หรือจิตวิญญาณสามารถเดินทางไปดินแดนของพระเจ้า หรือโลกอันศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เบื้องบนได้ ในทางพุทธศาสนาก็พูดเรื่องนิพพาน และสภาวะสูญตา
ดังนั้น ปรากกฎการณ์เหล่านี้ จึงเป็นเสมือนองค์ความรู้ หรือแบบแผนของการรับรู้และการสำนึกของมนุษย์ ที่มีต่อเรื่องของความตาย ความเชื่อในเรื่องการดำรงอยู่หรือการหลงเหลือของจิตวิญญาณ (Soul) ที่ไม่ได้เสื่อมสลายไปพร้อมกับร่างกาย แต่ยังดำรงอยู่ในอีกภพภูมิ หรือดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์อื่นๆที่คนธรรมดาเข้าไปไม่ได้ นอกจากคนตายเท่านั้น
5. ความตาย คือ สิ่งที่ควรพิจารณาเช่นเดียวกับ การส่งผ่านจากชีวิตที่ Eventually ไปยังชีวิตอื่น ที่อาจจะเหมือนเดิม แบบเดียวกัน ดีกว่า หรือแย่กว่า ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม หรืออผลของการกระทำในชาตินี้ต่อชาติหน้า หรือผลจากอดีตมาสู่ภพภูมิปัจจุบัน ซึ่งเป็นความคิดของพวกลัทธิชื่อในการกลับมาเกิดใหม่ (Doctrines of Re-Incarnation)

บรรณานุกรมอ้างอิง

วัฒนธรรม ความตาย กับวาระสุดท้ายของชีวิต คู่มือเรียนรู้มิติสังคมของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยนายแพทย์ โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์และคณะ กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ,2550.
ความตายกับภาวะใกล้ตาย / by Elisabeth Kubler Ross ; ผู้แปล มาลินี วงศ์พานิช.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2525.
คติวิจารณ์เรื่องความตาย.โดยหลวงวิจิตรวาทการ, 2441-2505.พระนคร, โรงพิมพ์จิตร์วัฒนา, 2476.
Death and afterlife by David Stephen T,Hampshire : Macmillan, 1989
Death and dying : a reader / edited by Thomas A. Shannon. Lanham, Md. : Sheed & Ward Book, c2004.
Death and dying , life and living / Charles A. Corr, Clyde M. Nabe, Donna M. Corr. Belmont, Calif., U.S.A. : Thomson/Wadsworth, c2003
Death and dying : understanding and care / Barbara A. Backer, Natalie Hannon, Noreen A. Russell. Albany, N.Y. : Delmar, c1994
Death and disease in Southeast Asia : explorations in social, medical, and demographic history / edited by Norman G. Owen. Singapore ; Oxford University Press, 1987
Death and eternal life, Hick, John. Hamplshire Macmillan Press (1985)
Death and philosophy / edited by Jeff Malpas and Robert C. Solomon. London : Routledge, 1998
Death and the afterlife : a cultural encyclopedia / Richard P. Taylor. ABC-CLIO, c2000
Death and the afterlife in ancient Egypt / John H. Taylor. London : Published for the Trustees of the British Museum by the British Museum Press, 2001
Death and the Christian, tr. from the French by P.J. Hepburne-Scott. New York, Hawthorn Books (1961)
Death and western thought. by Choron, Jacques.New York, Collier Books (1963)
Death as a socio-cultural fact toward a sociology of death. by Nakano, Hideichiro. Nishinomiya, Kwansei Kakuin Univ., 1983.
Celebrations of death : the anthropology of mortuary ritual / Peter Metcalf, Richard Huntington. by Metcalf, Peter, 1941-, Huntington, Richard. Cambridge : Cambridge University Press, 1993.
Is there life after death? by Kastenbaum, Robert J.,London, Rider (1984)
Foucault, health, and medicine / edited by Alan Petersen and Robin Bunton. by London : Routledge, 1997
The body in health and social care / Julia Twigg. Basingstoke [England] : Palgrave Macmillan, 2006.
Death and Dying A Sociological introduction /Glennys Howarth,polity press2007
อะไรคือความตาย What is death ?
เริ่มแรก ก่อนที่เราจะรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความตาย เราจำเป็นต้องเข้าใจการมีชีวิตก่อน ( Living ) รวมถึงสิ่งที่สะท้อน อารมณ์ ความรู้สึก ต่อความตาย ของผู้อื่นอย่างไร รวมทั้งการรับรู้ว่าในอนาคตของเราก็จะต้องตายเช่นกัน ในช่วงวัยเด็ก เรามักจะถูกทำให้รู้สึกว่า ความตายเป็นเรื่องที่ห่างไกล เป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าเด็กอย่างเราจะเข้าใจ ว่าทำไม คนเราถึงต้องตาย และทำไมตายแล้วไม่ฟื้น เราถูกกีดกันออกจากความรู้เรื่องของความตาย ความตายกลายเป็นสิ่งที่ไกลตัว ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านตามวัฎจักรชีวิตของมนุษย์บนโลก
ประสบการณ์และทัศนคติของเด็กเกี่ยวกับความตาย มักจะมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตัวเองรัก เช่น พ่อแม่ หรือสัตว์ เลี้ยง ซึ่งเป็นความตายที่เหมือนกันและสร้างสร้างทัศนคติเกี่ยวกับความตายต่อเด็ก ในสังคมตะวันตก โดยเฉพาะกรณีของสหรัฐอเมริกา มีความพยายามจะสร้างการมีชีวิตที่ยืนยาว ที่ใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากที่สุด ในการชะลอความตายหรือยับยั้งความตาย ดั้งนั้นชาวอเมริกันย่อมมีความรู้สึกกลัวต่อความตายมากที่สุด และสิ่งเหล่านี่ได้นำไปสู่ทัศนคติเกี่ยวกับความตายของมนุษย์ และประกอบสร้างพื้นฐานทางด้านอารมณ์ที่สำคัญต่อเรื่องความตาย ความเชื่อ คำถาม และการปฏิบัติของเราเกี่ยวกับเรื่องความตาย โดยเฉพาะเรื่องของสุขภาพ(Health) และการประกันชีวิต (Insurrence)
ตัวอย่างที่น่าสนใจ ก็คือ
มีครอบครัวหนึ่งที่ต้องสูญเสียพ่อซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวไป เด็กชายอายุ 9 ขวบ ซึ่งเป็นสมาชิกของครอบครัวนั้น (เป็นลูกของผู้ตาย) ถามแม่ของเขาว่า
“ทำไมพ่อของผมหลับอยู่นานไม่ตื่นเสียทีละครับ”
แม่ของเขาก็ตอบว่า “พ่อของลูกเดินทางไปสบายแล้ว”
ลูกจึงถามต่อว่า “พ่อของผมเดินทางไปไหน”
แม่จึงตอบกลับไปว่า “พ่ออยู่บนสวรรค์”
ลูกถามต่อว่า “สวรรค์คืออะไร” แม่บอกลูกว่า “สวรรค์คือที่ที่มีนางฟ้า เทวดาอยุ่”
ลูกถามแม่ต่อว่า “แล้วทำอย่างไรจึงจะได้ไปที่แห่งนั้นได้”
สุดท้ายแม่ก็ตอบลูกว่า “หนูก็ต้องทำความดีเยอะๆซิ ถึงจะได้ขึ้นสวรรค์ ถ้าหนูทำชั่วไม่เชื่อฟังพ่อแม่หนูก็จะทรมานอยู่ในนรก”
ถึงแม้จะได้คำตอบ แต่ลูกก็ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของความตาย แต่เชื่อว่า สวรรค์ต้องเป็นที่ที่ดีแน่ๆ พ่อถึงไปแล้วไม่ยอมกลับมา.....
สรุปว่า เด็กคนนี้ก็ยังคงงง กับสิ่งที่เรียกว่าความตาย ว่าคืออะไรกันแน่ ความตายจะเป็นเรื่องของภพภูมิที่แตกต่างกัน ที่แบ่งแยกระหว่างโลกมนุษย์ที่เป็นโลกที่ดำรงอยู่ ณ สภาวะปัจจุบัน กับโลกของชีวิตหลังความตาย ที่ทัศนะ มุมมอง และมิติเกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าว มีอยู่ในกลุ่มสังคมของมนุษยชาติในที่ต่างๆทั่วโลก
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นของแม่กับลูกข้างต้นก็คือ ความสัมพันธ์ของผู้คน กับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติของความตาย ที่ได้สร้างกำแพงหรือข้อห้าม (Taboo) เกี่ยวกับเรื่องของความตายให้กับมนุษย์ ความตายกลายเป็นเรื่องต้องห้าม เป็นลางร้าย หรือสัญญาณไม่ดี และไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเอ่ยถึงเรื่องความตายของตนเองและผู้อื่น เพราะเราก็มักจะถูกต่อว่า ว่าเป็นคน “ปากไม่ดี” “พูดไม่เป็นมงคล” และ “ไม่รู้จักกาลเทศะ”
ดังนั้น เมื่อเราขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของความตาย และรับรู้ว่าความตายเป็นเรื่องที่น่ากลัว เป็นเรื่องของการสูญเสีย เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดการตายกับบุคคลที่ใกล้ชิด หรือ รู้ว่าตัวเองกำลังจะตาย ความตายจึงกลายเป็นสิ่งที่ยากจะรับได้ แม้ว่าเราจะวางเฉย (ignore) หรือปฏิเสธ ( resistance) ต่อเรื่องความตาย เช่น การหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงมัน การใช้ชีวิตแบบสนุกสุดเหวี่ยง โดยเชื่อว่า “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด” “ใช้ชีวิตวันนี้ให้คุ้มค่าเพราะพรุ่งนี้จะมีหรือเปล่าก็ไม่รู้” “ใช้ชีวิตให้มีความสนุกเพราะพรุ่งนี้ก็ตายแล้ว” เป็นต้น
ทัศนะหรือมุมมองเกี่ยวกับความตาย จึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากความตายที่สัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน ในอดีตเรารับรู้และเข้าใจต่อเรื่องของความตายว่าเป้นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของมนุษย์ เช่นพิธีกรรมล่าหัวมนุษย์ของพวกอินเดียน การมุงดูการประหารนักโทษในสังคมไทยโบราณ การเฉือนศพให้นกและปลากินในธิเบต การเผาศพคนตายริมฝั่งแม่น้ำคงคา ของอินเดีย เป็นต้น จนกระทั่งความตายถูกทำให้เป็นความน่าอุดจาด สะอิดสะเอียน เป็นมลภาวะ ความสกปรก ที่สัมพันธ์กับเรื่องความสะอาด เรื่องสุขภาพ ดังนั้น ศพก็ควรที่จะถูกจัดการละจัดเก็บอย่างมิดชิด และควรเป็นพิธีกรรมที่จำกัดเฉพาะบุคคลที่ใกล้ชิด ยิ่งไปกว่านั้นความตายถูกแยกออกจากการมีชีวิต ความตายคือการสิ้นสุดของสภาวะการดำรงอยู่และการทำงานของร่างกาย ในขณะเดียวกันก็เป็นการเดินทางของจิตวิญญาณไปยังอีกโลกหนึ่งตามความเชื่อทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษยชาติบนที่ต่างๆของโลก
ปรากฏการณ์เกี่ยวกับการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความตายข้างต้นเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากยิ่ง สำหรับคนรุ่นปัจจุบัน โดยเฉพาะเด็กที่เกิดขึ้นใหม่ มีประสบการณ์ที่ค่อนข้างยากมาก เมื่อเผชิญหน้ากับความตายของคนที่ตัวเองรัก ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ พี่น้อง หรือคนรัก เมื่อคนที่พวกเขารักถูกพรากจากไป ไม่ใช่ในแง่การพรากจากไปจากสมาชิกในครอบครัว แต่เป็นการพรากไปจากความสัมพันธ์หรือการปฏิบัติต่อกันของคนในครอบครัว ตัวอย่างเช่น การยกหน้าที่ดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นสมาชิกของคนในครอบครัว ให้กับโรงพยาบาล หรือกระบวนการดูแลรักษาทางการแพทย์สมัยใหม่ หรือแม้แต่การจัดการกับศพ ที่ต้องผ่านสถาบันต่างๆ ทั้งโรงพยาบาล นิติวิทยาศาสตร์ มาจนถึงวัด ที่เข้ามาจัดการเรื่องพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศพในปัจจุบัน
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับความตายของนักจิตวิทยา
ในความคิดเห็นของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Frued) ตรรกะหรือเหตุผลพื้นฐานของเขาก็คือ สิ่งหนึ่งเราไม่สามารถจะจินตนาการได้ว่ามันคืออะไร เมื่อเราไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้น ฟรอยด์เชื่อว่า ในจิตใต้สำนึกของเรา พวกเราเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับ ความเป็นอมตะของตัวเราเอง ดังนั้นมันยากมากที่เราจะเข้าใจและรับรู้เกี่ยวกับการตาย
แต่สิ่งที่น่าสนใจในทฤษฎีของฟรอยด์ ก็คือสิ่งที่เขาพูดถึงพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ทุกๆคน เป็นสิ่งที่ถูกควบคุถมและจัดการโดยชุดของความขัดแย้งทางสัญชาตญาณ ในท่ามกลางพวกเขาประกอบด้วย สิ่งที่เรียกว่า สัญชาตญาณความตายที่เป็นสากล หรือ Thanatos และหลักการของชีวิตหรือสัญชาตญาณ ที่เรียกว่า Eros
สัญชาตญาณทั้งสองแบบนี้ ถูกฝังอยู่ในตัวตนที่หยาบที่ฟรอยด์เรียกว่า Id ที่เป็นส่วนหนึ่งของจิตหรือวิญญาณ (Psyche)หรือสิ่งที่ละเอียดกว่าร่างกาย
2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการแยกกาย (Body)กับจิต (Soul)ออกจากกัน
แนวความคิดนี้ได้รับอิทธิพลมาจาก นักปรัชญาทวินิยมหรือDualism อย่าง เคอเน่ เดการ์ต (Rene Decart) ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและวิญญาณ ในแง่ที่เป็นเรื่องของเจตจำนง ความตั้งใจและความคิด ในปฎิกริยาหรือความสัมพันธ์ต่อกัน ระหว่างร่างกายและวิญญาณ ในแง่ของประสาทสัมผัส อารมณ์และตัณหา วิญญาณก็มีผลกระทบต่อร่างกาย ในระดับของการเคลื่อนไหว จิตที่คิดได้ มีความเป็นอิสระ มั่นคงและมีอำนาจ ดังคำกล่าวที่ว่า เมื่อฉันคิดจึงมีตัวฉัน I Think Therefore I am ซึ่งเท่ากับเป็นการประกาศว่าจิตที่สมบูรณ์ของพระเจ้าไม่ได้มีอยู่จริง แต่พระเจ้าได้ตายแล้ว ดังเช่นที่นักปรัชญอย่าง เฟรดิก นิชเช่ ได้กล่าวเอาไว้
คุณูปการในการแยกระหว่างร่างกายกับจิตใจ ก็คือ การตื่นตัวที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิต และความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ ที่ส่งผลให้เกิดการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์จึงเปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องจักรกลสมัยใหม่ ที่สามารถถอดชิ้นส่วนหรือชำแหละหาสาเหตุอาการของการเจ็บป่วย รวมถึงการซ่อนแซมฟื้นฟูให้กลับสู่สภาวะปกติได้ ดังปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนถ่าย หรือปลูกอวัยวะ เหมือนกับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่มีความเสียหายก็ต้องนำอะไหล่ชิ้นใหม่เข้ามาเปลี่ยนแทนเป็นต้น
1.5 ความคิดเกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณของนักปรัชญากรีกและตะวันตกสมัยใหม่คนสำคัญ
การถกถียงกันของนักปรัชญาในยุคทางปัญญาของกรีก เป็นการถกถียงในประเด็นปรัชญาเรื่องของความรู้ ว่า ความรู้ของคนเรามีจริงหรือไม่? เช่น เฮราดิตุส (Heraditus) สอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ ไม่มีอะไรแน่นอน ดังนั้น แล้วเราจะยึดถืออะไรเป็นความรู้ที่คงที่ได้ ในขณะเดียวกันไพทรากอรัสก็สอนเรื่องสัดส่วนต่างๆ ว่ามีความสำคัญมากกว่าเนื้อธาตุ ทำให้นักปรัชญากรีกหลายคนพยายามหาคำตอบของปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะเพลโต(Plato)และอะคาเดมี่ (Academy) เป็นลูกศิษย์ของโสเครตีส และทำให้โลกรู้จักโสเครตีสเกี่ยวกับงานและความคิดของโสเครตีสที่เขาบันทึกไว้ ได้เสนอว่า ความรู้ที่แท้จริงนั้นเรามีได้ แต่ไม่ใช่ความรู้สามัญที่มาจากความจัดเจน เชี่ยวชาญ (Experience) ซึ่งได้มาจากผัสสะ หากแต่ว่าเป็นความรู้ที่อยู่เหนือผัสสะ ที่เพลโตเรียกว่า “แม่พิมพ์” หรือรูปแบบสมบูรณ์ (Forms) ซึ่งในความหมายนี้ก็คือ ความรู้ในรูปสมบูรณ์ (Knowledge of Form)
ดังนั้นเพลโตเชื่อในรูปที่สมบูรณ์และไม่เปลี่ยนแปลง สรรพสิ่งต่างๆที่เปลี่ยนแปลงแท้จริงแล้วต่ำกว่า และเป็นเพียงรูปเสมือนที่ใกล้เคียง กับรูปสมบูรณ์เท่านั้น เช่นดอกกุหลาบที่เปลี่ยนผ่านจากสภาวะดอกตูมไปสู่ดอกบาน จากตุ่มเล็กๆสีเขียวใบไม้ จนกระทั่งแย้มบานออกเป็นสีแดง หรือขาวเต็มที่ ต่อมาก็เหี่ยวเฉาร่วงโรย อย่างนี้ เพลโตตั้งคำถามว่า อะไรที่เรียกว่าดอกกุหลาบ คนทั่วไปย่อมถือว่าดอกกุหลาบคือดอกที่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว บานเต็มที่ นั่นก็คือ รูปแบบ (Form) ของมัน เวลามัยตูมเราเรียกว่ากุหลาบตูม เวลาบานเราก็เรียกว่า กุหลาบธรรมดา เวลาร่วงโรยก็เรียกกุหลาบโรยหรือกุหลาบแห้ง ดังนั้นมโนภาพหรือความรู้เกี่ยวกับกุหลาบ ก็คือกุหลาบบาน เป็นมาตรฐานรูปแบบที่สมบูรณ์ตามแบบเพลโต
เพลโตปฏิเสธว่า สรรพสิ่งที่เราประจักษ์ต่อสายตาตนเองหรือการรับรู้ทางผัสสะ ล้วนเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น แต่รูปสมบูรณ์ของมัน คือ ความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ ความรู้ในความสมบูรณ์ของมัน ดังเช่น ความรู้เกี่ยวกับกุหลาบและความเป็นกุหลาบซึ่งเป็นความสมบูรณ์ทางรูปธรรม ความงดงามของดอกกุหลาบก็คือ ความสมบูรณ์ทางนามธรรม เช่นเดียวกับศีลธรรมจรรยา
โลกจึงมีสองส่วนที่เชื่อมกันทั้งหมด คือรูปธรรมและนามธรรม ความคิดกับวัตถุสสาร เช่นเดียวกับที่ เพลโต เชื่อว่า วิญญาณ (Soul หรือPsyche) ในร่างกายของมนุษย์เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวตัวเอง มันเป็นสิ่งที่ให้ชีวิต และบัญชาให้มองดู รับรู้ และตั้งเจตจำนง ดังนั้นวิญญาณ จึงมีสามระดับ คือ1.ระดับของเหตุผล หรือระดับการรู้เหตุผล 2.ระดับอารมณ์ หรือระดับที่กล้าหาญ แกล้วกล้า และ3.ระดับที่เป็นไปตามความต้องการของร่างกาย ระดับการเกิดความรักใคร่ ซึ่งตั้งอยู่บนส่วนต่างๆของร่างกายตามลำดับคือ ศีรษะ หัวใจ และท้อง
วิญญาณที่มีความยุติธรรมก็จะต้องมีทั้งสามส่วนนี้สมดุลกัน แต่ละส่วนมีหน้าที่และเชื่อฟัง ในส่วนที่ควบคุมเหนือขึ้นไป ได้แก่เหตุผล เหตุผลจึงเป็นผู้ปกครองอารมณ์ และอารมณ์ก็เป็นส่วนช่วยในการกระทำที่มีเหตุผล เป็นผู้ส่ง ถ้าส่วนที่อยู่ภายใต้เหตุผล มีอิทธิพลอยู่เหนือจิตวิญญาณ มนุษย์ก็จะอ่อนแอ และขาดความสมดุลไปในที่สุด ปรัชญาเรื่องนี้ มีความเชื่อมโยงกับแนวความคิดว่าด้วยรัฐ ของโสเครตีส ในความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวรัฐ เราจำเป็นต้องดูรูปแบบความสัมพันธ์ของวิญญาณและรัฐร่วมกัน ในแง่นี้รัฐ หรือ Polity คือ วิญญาณในวงกว้างและคนในรัฐคือส่วนย่อยในวงแคบ เนื่องจากวิญญาณที่สมบูรณ์ยุติธรรม ย่อมปกครองด้วยเหตุผล เช่นเดียวกับแบบที่อมตะ เป็นที่มาของความรู้ และมีแบบอย่างของความดีงามสูงสุด ดังนั้นวิญญาณที่เรียนรู้ย่อมมีการดำรงอยู่ที่ดี คือ การไตร่ตรองในรูปแบบของความดี (Form of the God)
ดังนั้นวิญญาณในระดับของเหตุผลเท่านั้นจึงจะเป็นวิญญาณอันอมตะ ที่มีเจตจำนงอย่างอิสระ และเป็นรูปแบบสมบูรณ์ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าสร้างขึ้น การซ้อนทับกันของโลกแห่งรูปและโลกของเรา ซึ่งในโลกแห่งรูป บรรดารูปสมบูรณ์และนามธรรม อันไม่เปลี่ยนแปลงทั้งหลายจะอยู่ร่วมกันกับวิญญาณอมฤตของมนุษย์ ผู้ใดได้เข้าไปอยู่ในโลกแห่งรูปสมบูรณ์นั้น จะประสบความนิรันดร์ แห่งสรรพสิ่งทั้งปวงและจะเป็นสุขสมบูรณ์ การที่ในชาตินี้ คนเราเห็นสรรพสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป แต่รู้ว่ามันมีรูปสมบูรณ์ที่คงกระพันนั้น เพลโตว่าเนื่องจากชาติก่อนๆ เราเคยอยู่ในรูปแห่งรูปสมบูรณ์มาแล้ว นี่เป็นข้อคิดเกี่ยวกับการระลึกชาติของพวกกรีกอย่างในพระพุทธศาสนา แต่ในกรีกไม่ได้มีการระบุเรื่องเกี่ยวกับกรรมของส่วนบุคคลแต่อย่างใด
โซเครตีส (Socretes) มีข้อคิดเกี่ยวกับเรื่อวิญญาณ (Soul) ของมนุษย์ว่า
“วิญญาณเป็นสิ่งที่ให้กำเนิดชีวิตและเป็นลมปราณซึ่งเกิดขึ้นเองและเป็นอมฤต” ดังคำสอนของโซเครตีสที่เคยให้ไว้กับชาวเอเธนส์ให้ ระวังรักษาจิตวิญญาณของตนเอง ซึ่งวิญญาณในทัศนะของโซเครตีสนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ (Divine) ซึ่งผูกพันกับส่วนของมนุษย์ที่เป็นอมตะ วิญญาณเป็นที่ตั้งของบุคลิกลักษณะ(Character) และความรู้ (Knowledge)ของมนุษย์ ดังเช่นที่ศาสตราจารย์ A.T. Tylor กล่าวว่า ตามคำสอนของโสเครตีสแล้ว วิญญาณของคนคือ ตัวคนนั้นเอง ต่อมาภายหลังจึงมีความเชื่อว่า วิญญาณคือสิ่งที่ซึ่งอาศัยร่าง
แนวคิดของอริสโตเติล ซึ่งมีพ่อเป็นนายแพทย์ของพระเจ้าฟิลิปแห่งรัฐ Macedonia ต่อมาเขาได้กลายป็นอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แม้ว่าอริสโตเติลเคยเข้าไปเป็นศิษย์ของเพลโตที่อะคาเดมีก็ตาม แต่แนวความคิดทางปรัชญาของเขาทั้งสองคนก็มีความแตกต่างกันมาก
ในเรื่องของผัสสะ เพลโตมองว่า “ผัสสะลวงตาเราแต่ความคิดได้ให้ความจริงแก่เรา” และเราสามารถเอาความรู้เหล่านี้ไปขยายเป็นความคิดอื่นๆได้ ในขณะที่อริสโตเติล วิจารณ์ความคิดเรื่องรูปสมบูรณ์ของเพลโต เขามองว่ามันเป็นเสมือนจินตนาการ หาได้มีอยู่จริงไม่ เขาเชื่อในความมีอยู่ของแต่ละสิ่ง เมื่อเพลโตพูดถึงเรื่องกุหลาบดอกหนึ่ง ว่ารูปสมบุรร์ของดอกกุหลาบมีอยุ่จริง แต่ดอกกุหลาบดอกหนึ่งมีอยู่ไม่จริงนั้น อริสโตเติล แย้งว่า ดอกกุหลาบดอกหนึ่งเป็นของจริง ส่วนรูปสมบูรณ์ของมันนั้นไม่มีอยู่จริง เป็นจินตนาการหรือความฝันเท่านั้น
จากวิวาทะหรือข้อถกเถียงทางปรัชญาดังกล่าว นำไปสู่คู่ของความขัดแย้งทางปรัชญาในยุคปัจจุบันหลายประเด็น ทั้งแนวความคิดเรื่องสสารนิยม (Materialism) กับจิตนิยม (Idealism) และแนวคิดเรื่องของร่างกาย (Body ) กับจิต (Soul) โดยเฉพาะการแยกระหว่างร่างกายกับจิตของนักปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่อย่าง เคอเน่ เดคาร์ต (Rene Decart) ที่ให้ความสำคัญของมนุษย์ที่รู้ได้เอง คิดได้เอง เพราะมนุษย์คิดได้จึงทำให้มีตัวมนุษย์ หาใช่ความศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า พระวจนะของพระเจ้า หรือเจตจำนงของพระเจ้าแต่อย่างใด
แต่ในประเด็นเรื่องของจิตวิญญาณ แนวความคิดของกรีกในยุคนั้นก็ก้ำกึ่งกันระหว่างความเชื่อแบบสสารนิยม กับจิตนิยม และมีความโน้มเอียงไปในทางชีวิตนิยม (Hylozoism) ที่เชื่อว่า มีชีวิตที่ใดก็มีวิญญาณที่นั่น วิญญาณทำให้สิ่งมีชีวิตแสดงออกมาซึ่งกัมมันตภาพหรือกิจกรรม (Activity) วิญญาณของมนุษย์ซึ่งรู้คิด มีเหตุผล เป็นวิญญาณขั้นสูงสุดของชีวิต ในความเห็นของอริสโตเติล ก็ยังมองว่า พืชก็มีวิญญาณเช่นกัน นักปรัชญาทั้งสองท่านนี้ จึงไม่ใช่พวก ทวิลักษณ์นิยม (Dualist) ที่มองว่า ร่างกายกับวิญญาณเป็นคนละสิ่งกัน แต่พวกเขามองว่า เป็นสิ่งเดียวกัน โดยเชื่อว่านามรูปของพระเจ้า วิญญาณของมนุษย์ก็ต้องอยู่ในร่างมนุษย์ จะอยู่ในร่างสัตว์ไม่ได้ และวิญญาณจะตั้งอยู่เป็นเอกเทศโดยตัวเองไม่ได้ ซึ่งแนวความคิดของอริสโตเติลก็คล้ายๆกับนิพพานทางพระพุทธศาสนา หรือนิรวาณของพราหมณ์ ว่า ธาตุอันสูงส่งในวิญญาณของมนุษย์อันก่อให้เกิดการระลึกเหตุและผลนั้นมาจากภายนอก แล้วเข้าไปภายใน ธาตุนี้จะยังคงอยู่หลังจากร่างกายดับขันธ์ไปแล้ว แล้วจะอยู่ในสภาพเป็นบุคคล หรือไปรวมกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น แต่อริสโตเติลไม่ได้กล่าวไว้ตรงๆ เช่นเดียวกับเพลโต ที่เชื่อว่า สรรพสิ่งมีทั้งรูป(โครงสร้าง)และเนื้อ ของสิ่งเดียวกันต้องมีทั้งรูปและเนื้อตรงกัน เช่น แจกันและเชิงเทียนทำจากทองเหมือนกัน หากผิดรูปหรือรูปผิดกันก็เป็นของสองสิ่ง รูปและเนื้อนี้แยกออกจากกันไม่ได้ คือ ไม่มีเนื้อที่ไร้รูป และไม่มีรูปที่ไร้เนื้อ แต่อาจมีรูปที่เนื้อคนละอย่าง หรืออาจมีเนื้อคนละรูป เป็นต้น
2.จากจิตวิญญาณสู่ความคิดเรื่องความตาย
2.1 แนวคิดเรื่องความตายของนักปรัชญา
โสเครตีส (470-399 B.C) กล่าวว่า ไม่มีปัจเจกบุคคลที่ดำรงชีวิตอยู่คนใดสามารถที่จะรู้เกี่ยวกับความตาย (No living Individual could know death) เขาได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับความตายที่สามารถจะเป็นไปได้ คือ ความตาย เป็นทั้ง การนอนหลับที่ไร้ความฝัน (Dreamless Sleep) หรือการเดินทางของจิตวิญญาณไปยังโลกอื่น (Dale V. Hardt , 1946 : 3-4 ) เขาอ้างถึงว่า ความตาย เช่นเดียวกับ การแช่แข็ง (Freezing) และการแยกของจิตวิญญาณออกจากร่างกาย ความตายคือกระบวนการปลดปล่อยจิตวิญญาณที่เสรี จากความรู้สึกเหล่านี้และนำไปสู่ความสามารถที่จะค้นพบความจริง เช่นเดียวกับนักปรัชญาอย่าง เพลโต เชื่อว่า ความตายเป็นวิธีการที่ง่ายที่จะปลดปล่อยจิตวิญญาณ (Soul) ออกจากร่างกาย จิตวิญญาณไม่มีวันที่จะถูกทำลาย แต่มันเป็นสิ่งที่เป็นอมตะ (Immortality) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ร่างกายมีการตาย ในขณะที่จิตวิญญาณของพระเจ้า (Divine Soul) เป็นสิ่งที่นิรันดร์ ในความปรารถนาของมัน ที่จะเป็นอิสระ จากความกลัว (Fear) ความรู้สึกเจ็บปวด (Passion) และความชั่วร้ายที่ดำรงอยู่ของมนุษย์ โดยดำเนินการไปยังการดำรงอยู่พร้อมกับพระเจ้า สิ่งที่เพลโตพูดถึงเกี่ยวกับการพิจารณาเกี่ยวกับความตาย และชีวิตหลังความตาย เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวซ้ำ โดยพระเยซูคริสต์ ในช่วง 400 ปีต่อมา
สำหรับอริสโตเติล (384-322 B.C) ในอีกด้านหนึ่ง ทัศนะของความตายเกี่ยวกับมนุษย์ เช่นเดียวกับการสิ้นสุดของทุกๆสิ่งยกเว้นเหตุผลของเขา เหตุผลอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกนิยามหรือให้คำจำกัดความ เช่นเดียวกับบางสิ่งที่ถูกเรียนรู้ โดยมนุษย์ทุกคน และเป็นสิ่งที่มีอยู่ในพวกเขาเสมอ และ ไม่มีวันตาย
ในสังคมของเพลโตและอริสโตเติล มีความแตกต่างจากสังคมอื่นๆปัจจุบัน ในสังคมของเพลโตทัศนะเกี่ยวกับความตาย เขามองว่า สังคมของเขาปฏิเสธเกี่ยวกับการระลึกหรือเข้าใจความตาย ว่าเป็นเช่นเดียวกับกระบวนการ ปฏิเสธความเชื่อว่าคนทุกคนหรือสัตว์โลกจะต้องตาย ปฏิเสธกับการยอมรับความตายเป็นสิ่งสุดท้าย และพวกเขากลัวความตายเช่นเดียวกับสิ่งชั่วร้าย
ซึ่งนักปรัชญายุคต่อๆมา ก็แผ่ขยายแนวความคิดของอริสโตเติล เพลโตและโสเครตีส จนกระทั่ง มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ ซึ่งเป็นนักปรัชญาแนว Existentialist ชาวเยอรมัน ได้พิจารณาความตายในทางปรัชญาซึ่งแตกต่างจาก เพลโตและอริสโตเติล โดยเขาเชื่อว่าการตายไม่ได้แยกจิตวิญญาณออกจากร่างกาย แต่ค่อนข้างจะ Bind พวกเขาเข้าด้วยกัน และเป็นการสร้างความสมบูรณ์ของการดำรงอยู่ทั้งมวลของมนุษย์
มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ (Martin Heidegger) มองว่า ความตายไม่ใช่เหตุการณ์ที่ซึ่งเป็นความสิ้นสุดของชีวิต (Ends Life) แต่มันคือส่วนหนึ่งของชีวิต (Part of Life) รวมทั้งความตายไม่ใช่สิ่งที่วางอยู่ในอนาคต (Future) แต่มันอยู่กับเราที่นี่และตอนนี้ ดังนั้นปรัชญาของมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ ในเรื่อง Being and Times ก็คือ
• 1.ให้ความสำคัญกับความหมายของความเป็นอยู่หรือการดำรงอยู่ของมนุษย์ ในแง่ที่มันคือความมีชีวิตชีวามากที่สุด เพราะเป็นเรื่องของการใช้ชีวิต
• 2.การตระหนักถึงตัวเองของมนุษย์ ที่ขึ้นอยู่กับเรื่องความรู้สึกและเรื่องเวลา ว่าวันหนึ่งเราต้องตาย ซึ่งเป็นธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ การที่มนุษย์รู้ว่าสักวันหนึ่งตัวเองจะต้องตาย จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้มนุษย์มองตัวเองและจัดการกับตัวเอง เผื่อว่าวันพรุ่งนี้สำหรับตัวเองอาจจะไม่มีก็ได้
• 3.การกังวลต่อความตายและความกลัวต่อความตาย ส่วนนี้เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกและเป็นสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ ที่สัมพันธ์จากประสบการณ์เกี่ยวกับความตายที่ได้รับ จากคนรอบข้าง จากสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เพลง และวรรณกรรมต่างๆ
1.3 อิทธิพลของสสารนิยม(Materialism)ในยุคแรก
ในยุคทางปัญญาของกรีก แนวความคิดเรื่องสสารนิยม ก็มีอิทธิพลมาจากแนวคิดเรื่องการบูชา น้ำและไฟของอินเดีย ความเชื่อในเรื่องธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลมและไฟ ในช่วงเวลา640-550 ปีก่อนคริสตกาล ทาเลส (Thales) ได้นำเสนอเกี่ยวกับการกำเนิดของมนุษย์บนโลก ที่เขาเชื่อว่าน้ำ เป็นส่วนประกอบ พื้นฐาน หรือเป็นต้นตอของทุกๆสิ่ง เช่นเดียวกับอียิปต์มีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาล ที่ชื่อโอซิรีส (Osiris) หรือแนวคิดของ Anaximenes (590-525 B.C) เชื่อว่าอากาศประกอบขึ้นเป็นสากลของโลก ในยุคแรกเริ่มแม้จะบอกว่า ธาตุดั้งเดิมเป็นสิ่งที่เรารู้ไม่ได้ หยั่งไม่ถึง แต่ธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้เกิดการระเหยและการกลั่นตัวเป็นกระบวนการซึ่งทำให้เกิดสรรพสิ่งขึ้นจากธาตุดั้งเดิมนั้น
นักคิดกลุ่มนี้ เลิกอ้างว่าวิญญาณอันเป็นเทพเจ้า เป็นเหตุบังเกิดสากลโลก แต่ยืนยันและไล่เลียงกำเนิดไปจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติด้วยกัน แต่นักคิดเหล่านี้ก็ไม่ได้พ้นไปจากทรรศนะวิญญาณนิยม และค่อนข้างเชื่อมั่นว่า สสารกับจิตอยู่ร่วมกันอย่างแยกไม่ออก ดังนั้นพวกเขาจึงเป้นพวกชีวิตนิยม (Hylozoist) มากกว่าพวกสสารนิยม
1.4 ปรัชญาของพวก โซฟิสท์ (Sophists) และสโตอิก (Stoicism)

แนวคิดของนักปรัชญาของพวกกลุ่มนี้ ไม่เหมือนแนวคิดพวกกรีกโบราณที่เน้นไปในแนวทางของพวกสสารนิยม ที่เน้นศึกษาธรรมชาติ แม้ว่าแนวคิดของสองกลุ่มนี้จะอยู่ก้ำกึ่งระหว่างสสารนิยมและจิตนิยมแต่ก็โน้มเอียงไปทางจิตนิยม โดยพวกโซฟิสท์มองว่า แนวความคิดเป็นเหตุให้คนเรากระทำสิ่งต่างๆ โลกนี้ก็เป็นโลกแห่งมโนภาพหรือจินตนาการของมนุษย์ไม่ได้มีอยู่เองโดยปราศจากมนุษย์ คือไม่เชื่อความจริงในวัตถุนั้นเอง ในขณะที่พวกสโตอิก มองว่า ความรู้ได้มาด้วยผัสสะ และความรู้สึกทางผัสสะ (Sense Impression) ก็สร้างความจริงขึ้นมา โดยพวกเขามองว่า วิญญาณ (Soul) เป็นที่ตั้ง แห่งกระบวนการทางความรู้สึกโดยทั่วไป และให้คำสอนตามเฮราคริตุส ที่ว่าไฟเป็นธาตุแท้ดั้งเดิมที่สุด ทำให้พวกนี้มองว่า ธรรมชาติเป็นสสาร เป็นเอกภาพที่มีชีวิตและเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
รากฐานของจิตนิยม(Idealism) ดังกล่าวพัฒนามาจากวิญญาณนิยม (Animism) ของพวกมนุษย์ถ้ำซึ่งเชื่อว่า คนตายไปแล้วไม่สูญ เพราะวิญญาณของเขาจะมีอยู่ต่อไป ดังนั้นวิญญาณจึงเป็นความแท้จริงอย่างหนึ่ง ที่มีอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่เกี่ยวกับสสารวัตถุ (Matter) ถือได้ว่าเป็นแนวคิดพื้นฐานสำคัญของปรัชญาจิตนิยม และเป็นปรัชญาเริ่มแรกที่ดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีปรัชญาเกี่ยวกับวัตถุนิยมเข้ามาโต้แย้งก็ตาม แต่ความเชื่อของมนุษยชาติบนโลกเกี่ยวกับการกราบไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ บรรพชนก็ยังปรากฏอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจิตที่ไม่แตกดับไปพร้อมกับร่างกาย