วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อแตกต่างระหว่างโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย(OTOP) และโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์(OVOP)ของจังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น
หากจะวิเคระห์ดีๆแล้วเราจะพบว่า หลักปรัชญาและวิธีคิดของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของไทย กับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่น นั้นเหมือนกัน เพราะไทยเราเอาแนวคิดของเมืองโออิตะมาใช้ โดยผ่านความร่วมมือขององค์กรเจโทร รัฐบาลญี่ปุ่น และผู้ว่าฮิรามัตซึ ของจังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น ที่เน้นในเรื่องของการพัฒนาความเป็นท้องถิ่นสู่ระดับสากล การเน้นให้เกิดการพึ่งตนเอง และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่ในการปฎิบัติและจุดเน้นนั้น ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ในประเด็นดังต่อไปนี้
1. โครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น เน้นที่การบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ในขณะที่โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยมุ่งขายผลิตภัณฑ์สู่ตลาดภายนอกโดยการวัดระดับสินค้า เป็นระดับ1-5 ดาว เพื่อพัฒนาสินค้า ให้เป็นระดับ 5 ดาว ที่สามารถนำไปจำหน่ายต่างประเทศได้
2. ในการสนับสนุนจากรัฐและท้องถิ่นของโออิตะ จะไม่มีการรับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายในการพัฒนาคุณภาพของสินค้าชุมชนต้องรับผิดชอบเอง รัฐจะสนับสนุนทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีเท่านั้น ในขณะที่ของไทยจะกระทำโดยผ่านรัฐบาลกลาง ที่มีระบบบริหารราชตามระดับ ในส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆมาให้ความช่วยเหลือสนับสนุนทั้งเทคนิค วิธีการ ความรู้ และการตลาด
3. ในโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดโออิตะ หากมีการผลิตสินค้าที่คล้ายคลึงกัน ชุมชนต้องเป็นหลักในการตัดสินใจเรื่องการคัดเลือกที่จะผลิตสินค้า โดยที่หลายชุมชนอาจมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อตัดสินใจว่าควรผลิตสิค้าอะไร ในขณะที่หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย มีความหลากหลายและมีความซ้ำซ้อนมากว่าจึงไม่น่าแปลกใจว่าญี่ปุ่นมีผลิตภัณฑ์ 336 รายการ ในขณะที่ประเทศไทย มีจำนวน 5,000กว่ารายการ(ทั้งในระดับประเทศและอำเภอรวมกัน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น