วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

งานเคลื่อนไหวในสายตานักมานุษยวิทยาที่เคยเป็นเอ็นจีโอ : รายงานภาพของการทำงานในช่วงที่เป็นอาสมัครแต่เขียนในช่วงหลังวาระอาสาสมัคร(มิติในเรื่องของการทำงานในพื้นที่)
บทความชุดนี้เป็นความพยายามที่จะวิเคราะห์และสังเคราะห์ กระบวนการพัฒนาในการทำงานเคลื่อนไหว โดยอาศัยตรรกะความรู้ทางมานุษยวิทยาเป็นแว่นขยายในการมอง รวมถึงประสบการณ์การทำงานพื้นที่ในเชิงของการให้ข้อมูล และการจัดองค์กรชาวบ้าน กรณีชาวบ้านคัดค้านโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ที่คัดค้านการก่อสร้างโรงงานผลิตแร่โปแตช ที่บ้านหนองตะไกร้ ต.หนองไผ่ อ.เมืองจ.อุดรธานี ซึ่งใช้พื้นที่ก่อสร้างโรงงานประมาณ3,000 ไร่และใช้พื้นที่ขุดเจาะใต้พื้นดินเพื่อเอาแร่โปแตช เป็นเนื้อที่25 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล คือต.หนองไผ่ ต.โนนสูง อ.เมือง และต.ห้วยสามพาด ต.นาม่วง กิ่งอ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี ซึ่งทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ 4 ตำบลรวมตัวกันต่อต้านคัดค้าน ภายใต้ชื่อ กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ซึ่งได้ทำการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี2543 ถึงปัจจุบัน ณ จุดเริ่มต้นครั้งนี้เองที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการทำงานพัฒนาในพื้นที่ ทั้งงานในเชิงข้อมูล งานเคลื่อนไหวในระดับพื้นที่ จังหวัด จนถึงนโยบายระดับประเทศ ซึ่งในกระบวนการเรียนรู้การทำงานในพื้นที่เริ่มจาก....
การศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศของพื้นที่ ที่จะลงไปทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเขตการปกครอง ระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน เพื่อจะทำให้เราได้รู้ข้อมูลพื้นฐานในการทำงานว่าหมู่บ้านนี้มีกี่หมู่ มีสาธารณูปโภคพื้นฐานอะไร ระดับการศึกษาของชาวบ้าน สถานที่สำคัญ เช่น วัด โรงเรียน ศาลากลางบ้านประชากรเท่าไหร่ มีกลุ่มอะไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราสามารถที่จะหาได้จากที่ว่าการอำเภอ หรือองค์การบริหารมส่วนตำบลนั้นๆ รวมถึงสามารถค้นจากฐานข้อมูลของกรมการพัฒนาชุมชน ที่เรียกว่า กชช2ค.
ในส่วนของผู้เขียน เริ่มจากการไปขอข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบล เนื่องจากในช่วงแรกผู้เขียน ได้ลงไปอยู่ในพื้นที่ต.อุ่มจาน ซึ่งเป็นตำบลใกล้เคียงกับโครงการเหมืองแร่โปแตช อุดรธานี ซึ่งในตำบลนี้มีแหล่งน้ำที่สำคัญสาขาหนึ่งของลำชี คคือหนองหานกุมภวาปี ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิด ของลำปาว ซึ่งไหลลงแม่น้ำชีที่จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งในช่วงนั้นหนองหานกำลังได้รับผลกระทบจากการทำคันคูดินรอบหนองหานตามโครงการโขล ชี มูล ทำให้กระทบต่อพันธ์พืช พันธ์ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ในหนองหานที่ลดจำนวนลงโดยเฉพาะปลาที่มักจะขึ้นมาวางไข่ตามไร่นา ไม่สามารถข้ามคันคูดินขึ้นมาวางไข่ได้ หรือการกักน้ำให้นิ่ง และตัดเส้นทาวงของลำห้วยสาขาตามธรรมชาติที่ไหลลงสู่หนองหาน ทำให้เกิดปัญหาการเจริญเติบโตและทับถมของวัชพืช จำนวนมาก ซึ่งทำให้หนองหานมีสภาพตื้นเขิน และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำท่วมขังในไร่นาของชาวบ้าน เนื่องจากไมาสามารถระบายน้ำได้ทัน เพราะมีวัชพืชอุดตันท่อน้ำ รวมทั้งผลกระทบจากสภาวะดินเค็มที่เกิดจากการปรับภูมิทัศน์ของหนองหานให้กลายเป็นอ่างเก็บน้ำ โดยมีประตูเปิดปิด บริเวณบ้านดงเมือง เรียกว่า ฝายกุมภวาปี สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่ผู้เขียนได้เข้าไปศึกษาและเก็บข้อมูล โดยการวาดแผนที่ลุ่มน้ำ และหมู่บ้าน การเชื่อมโยงกันระหว่างลุ่มน้ำสาขา รวมถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านหนองหาน ไม่ว่าจะเป็นการทำนา เลี้ยงสัตว์ ประมง ทำเกลือ หรือปลาร้า ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในการนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชน และเป็นของฝากระหว่างเครือญาติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องมืองสำคัญในการทำความเข้าใจสภาพพื้นที่และวิถีชีวิตของคนในพื้นที่
หลังจากที่ผู้เขียนทำความเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ประมาณ2 เดือน เดือนที่3และ4 จึงเป็นเดือนที่ผู้ศึกษา เริ่มหันมาเน้นที่เรื่องของการปกครอง การบริหารจัดการในหมู่บ้าน ใครเป็นผู้ใหญ่บ้าน อบต. และเริ่มที่จะขยับเข้าไปสู่งานเชิงเคลื่อนไหว โดยผ่านการทำงานวิจัย ร่วมกับคุณเกรียงศักดิ์ สุขวาสนะ ซึ่งเป็นงารนวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน จากสกว. ชื่อ โครงการฟื้นฟูและพัฒนาระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำหนองหาน ซึ่งได้มีการนำโครงการเสนอต่ออบต.อุ่มจาน เพื่อขอมติในการให้ความร่วมมือและสนับสนุนโครงการ จุดนี้เองที่ทำให้ผู้เขียนได้เริ่มทำงานร่วมกับผู้นำชาวบ้าน อย่างอบต.ไกรสร บุดดี (ปัจจุบันเป็นนายกฯ)ซึ่งเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่มีหัวคิดก้าวหน้าและเป็นผู้นำในประสานงานกับแกนนำบ้านต่างๆในพื้นที่ต.อุ่มจาน และต.เชียงแหว ซึ่งเป็นพื้นที่วิจัย รวมถึงรวมเป็นนผู้วิจัย ในการเก็บข้อมูลเรื่องชนิดของปลา และปริมาณปลาที่จับได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านได้พัฒนา จน่อตั้งเป็นกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำหนองหาน มีการทำเขตอนุรักษ์พันธ์ปลา การออกกฎระเบียบข้อบังคับเรื่องการจับปลาและยิงนกบริเวณหนองหาน และขยับไปสู่การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น มีการไปศึกษษดูงานบริเวณอื่นๆ เช่นบึงโขงโลง หรือกว๊านพะเยา และมีการล่องเรือเก็บข้อมูลเรื่องหนองหาน นี่คือประเด็นแรกเริ่มที่ทำให้ผู้เขียนมีความสนใจในเรื่องของหนองหาน วิถีประมง การทำปลาร้า และการทำเกลือ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งผู้เขียนดูจะมีความชอบที่จะนั่งสนทนากับชาวบ้าน บริเวณทุ่งนา เถียงนา หรือริมหนองหาร เพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อของชาวบ้าน ที่มีต่อหนองหาน โดยเฉพาะเรื่องของผาแดงนางไอ่ และผู้เขียนก็มีโอกาสได้รู้จักกับครอบครัวของพ่อสุวรรณและแม่ใจ ที่มีอาชีพ ทำเกลือ ทำปลาร้าและหาปลา ซึ่งครอบครัวนี้เองที่ผู้เขียนได้เรียนรู้วิธีทำปลาร้า การเอาปลาออกจากดาง(เครื่องมือหาปลาชนิดหนึ่งทำเป็นตาข่าย) การขอดเกล็ด เอาไส้ปลาออกเพื่อเตรียมทำปลาร้า และส่วนผสมต่างๆในการหมักปลา รวมถึงได้ลิ้มรสชาติจากปลาหนองหานของสองตายายผู้ใจดีและมีมิตรภาพทุกครั้งที่ผู้เขียนผ่านบ้านและสัมภาษณ์ข้อมูล แต่ผู้เขียนก็มีเวลาอยู่ที่ต.อุ่มจานเพียง6 เดือน(ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม2545) เท่านั้น เพราะต้องมาขยับเรื่องของเหมืองแร่โปแตชในอีกตำบลหนึ่ง
จนมาถึงช่วงประมาณเดือนตุลาคนในช่วงก่อนออกพรรษา2545ที่ผู้เขียนต้องปรับเปลี่ยนตัวเองจากคนที่ชอบนั่งเขียนและพูดคุยกับผู้คนต่างๆ มาเป็นคนที่ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหมืองแร่โปแตช ซึ่งเป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนและผู้เขียนก็ไม่เคยเห็นมันมาก่อน เพิ่งจะรู้ข้อมูลต่างๆจากรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ทางบริษัทเอเชียแปซิฟิกโปแตช ได้จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี2539 ซึ่งจะต้องนำมาแยกย่อยและสรุปให้ชาวบ้านสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ โดยนำศัพท์ทางเทคนิค มาแปลเป็นภาษาชาวบ้านให้ชาวบ้านเข้าใจ เช่นRoom and Pillar ซึ่งเป็นการขุดช่องสลับเสาค้ำยัน ก็ต้องเปรียบเทียบถึง ตัวบ้านที่มีเสาค้ำเพดาน มีฝาห้อง ข้างในว่างๆ ก็เหมือนการขุดเจาะแร่ที่ต้องมีการขุดเอาแร่ออกไป และเหลือเกลือเพื่อเป็นเสาค้ำแผ่นดินไว้ ส่วนที่เอาเกลือออกก็จะเหลือเป็นช่องว่างๆ เหมือนห้องที่ยังไม่มีเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น นี่เป็นงานชิ้นแรกที่ผู้เขียนต้องทำ คือทำความเข้าใจกับตัวโครงการเหมืองแร่โปแตช ทั้งเทคนิค วิธีการขุด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องกฎหมายแร่ที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ เช่นกรณีของเรื่องแดนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ที่รัฐพยายามจะเข้ามาจัดการและทับซ้อนสิทธิเหนือพื้นดินของชาวบ้าน โดยมีบริษัทข้ามชาติชักใยอยู่เบื้องหลัง และเรื่องการแก้ไขเรื่องเทคโนโลยีการผลิต การทำเหมืองแร่ แบบอุโมงค์ใต้ดินเข้าไว้ในนิยามความหมายของการขุดแร่ และเพิ่มความหมายของแร่โปแตชและเกลือหินในนิยามความหมายของแร่ ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นความโชคดีของผู้เขียน ที่ได้เข้ามาในหมู่บ้านโนนสมบูรณ์ที่ผู้เขียนไม่เคยรู้จัก และขับมอร์เตอร์ไซค์ เก่าๆ เข้าไปนั่งในร้านก๋วยเตี๋ยว เพื่อจะถามถึงบ้านผู้นำในหมู่บ้าน คือผู้ใหญ่บ้านเพื่อตจะขอนัดเปิดประชุม ซึ่งผู้เขียนก็ได้เตรียมหนังสือมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งตรงนี้ถือได้ว่ามีความสำคัญ บางคนอาจมองว่าเรื่อวจดหมายขอนัดประชุม มันเป็นเรื่องของทางราชการ ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ในการทำงานพัฒนาของเอ็นจีโอ แต่ผมมีความคิดเห็นที่แตกต่างว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในเบื้องต้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายยังไม่เริ่มต้น ในประการแรกถือว่าเป็นการให้เกียรติผู้นำที่เป็นทางการ และถูกกระแสความคิดแบบทางการเข้าครอบงำ ต้องมีรูปแบบมีธรรมเนียม มีหลักฐานเพื่ออ้างอิงชัดเจน ซึ่งตอนที่ผู้เขียนทำงานอยู่ที่บ้านอุ่มจาน ในการประชุมกลุ่มประมง การใช้จดหมายทำให้มีผู้ประชุมเข้าร่วมมากขึ้นโดยเฉพาะผู้นำที่เป็นทางการ จนเมื่องกลุ่มเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่เข้มแข็งและทุกคนมีความไว้เนื้อเชื่อใจและสนิทสนมกันดีแล้ว การใช้จดหมายก็ไม่จำเป็น ที่สำคัญก็คือการบอกด้วยวาจา ผู้รับสารอาจลืมได้
กลับมาที่ร้านก๋วยเตี๋ยว ผู้เขียน ก็ถามแม่ค้าเกี่ยวกับเรื่องโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ว่ารู้ไหม ซึ่งแม่เขียว(คนขายก๋วยเตี๋ยว) ก็ตอบว่ารู้ สามีแกเคยต่อต้านเรื่องนี้มา และเป็นอบต.ห้วยสามพาด ผมจึงได้มีโอกาสพบกับพ่อประจวบ แสนพงษ์ ซึ่งต่อมาก็ได้กลายมาเป็นหัวหน้าแกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี และปัจจุบันเป็นนายกอบต.ห้วยสามพาด หลังจากนั้นผู้เขียนก็ได้นำข้อมูลมาพูดคุยกับพ่อประจวบและขอเปิดประชุมที่บ้านโนนสมบูรณ์เป็นหมู่บ้านแรก และพ่อประจวบ ก็บอกว่าให้เอาวันออกพรรรษา เพราะเป็นวันที่คนเฒ่าคนแก่และคนในหมู่บ้านมารวมกันมากที่สุดเป็นวันที่นัดประชุมให้ข้อมูลชาวบ้าน จุดเริ่มต้นนี้เองที่ทำให้ผู้เขียนได้พบกับบรรดาแกนนำที่ต่อสู้ร่วมกันในปัจจุบัน...
หลังจากที่ได้วันเวลาที่จะเริ่มต้นประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการเหมืองแร่โปแตช ผู้เขียนได้ประสานงานไปยังพี่เลี้ยงและองค์กรพัฒนาที่รับผู้เขียนเข้ามาทำงาน โดนผ่านกระบวนการอาสาสมัครของมอส. คือพี่สุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ซึ่งในช่วงนั้นแกเป็นเลขาเครือข่ายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน และทำงานอยู่ภายใต้ร่มของโครงการอนุรักษ์ลำน้ำพอง ซึ่งมีพี่ยอร์ช(อกนิษฐ์ ป้องภัย)เป็นหัวหน้าโครงการ โดยมีทีมงานอย่างพี่โก้ เนตร พี่หยู พี่เก๋และแอนดริว รวมถึงแกนนำชาวบ้านน้ำพอง อย่างพี่สำเนา และพี่ฉวาง ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมงานตั้งแต่การเริ่มต้นชีวิตมอส. ที่หน้ากระทรวงอุตสากฃหกรรม ซึ่งชาวบ้านน้ำพองเดินทางไปชุมนุม ที่กรุงเทพฯ จนถึงการพาชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ไปแลกเปลี่ยนและศึกษาดูงานกับชาวบ้านน้ำพองด้วยหลายครั้ง เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคอีสาน ไม่ได้โดดเดี่ยวแต่เฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่ปัญหา ที่ดิน น้ำ ป่าไม้และแร่ธาตุ เป็นปัญหาของชาวบ้าน ที่เชื่อมโยงท้องถิ่น ภูมิภาคประเทศชาติและโลกเข้าด้วยกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหมือนดังชาวบ้านที่อุดรธานีและในหลายๆพื้นที่ ที่ไม่ได้ต่อสู้กับคนในพื้นที่เดียวกัน ชาติเดียวกัน ต่อสู้กับรัฐบาลเท่นนั้นแต่ยังต่อสู้กับนายทุนข้ามชาติด้วย และที่สำคัญคือการต่อสู้กับความอยากภายในตัวเอง ที่เกิดจากกระบวนการของระบบทุนนิยม การพัฒนา ความทันสมัย และโลกาภิวัฒน์ที่ทำให้ความอยากของท้องถิ่น กลายเป็นความอยากในระดับโลก และความอยากระดับโลกก็กลายเป็นความอยากของท้องถิ่นไปพร้อมกัน
หลังจากที่ประสานงานกับพี่ทั้งในพื้นที่(พี่เกรียงศักดิ์ สุขวาสนะ)และนอกพื้นที่(อย่างพี่สุวิทย์ กุหลาบวงษ์) ได้แล้วผมก็ต้องเตรียมการประชุม ซึ่งในช่วงแลกยอมรับว่าต้องเรียนรู้จากพี่สุวิทย์มาก ทั้งเรื่องข้อมูล การเตรียมประเด็น หัวข้อ จังหวะ การเน้นย้ำเสียงในการพูด การปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึก และที่สำคัญก็คือ การท้าทายกับการพัฒนาและกลับมาถามชาวบ้านว่าคิดอย่างไร ซึ่งการประชุมครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดกับคนมากๆ ในฐานะที่เป็นคนในพื้นที่ เป็นคนอุดรธานีคนหนึ่ง ซึ่งการพูดให้ข้อมูลของผู้เขียนในช่วงแรกก็น่าเบื่อและราบเรียยบ แต่ผู้เขียนก็สามารถเรียนรู้และปรับปรุงตัวเองได้ในเวลาต่อมาอันเนื่องจากเงื่อนไขสถานการณ์ต่างๆมันบีบบังคับด้วย ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป นั่นคือจุดเริ่มต้นของไอ้หนุ่มผมยาว หรือพวกขายยาบ้า ในสายตาชาวบ้านที่มักจะแซวกันเสมอเมื่อพูดถึงการพบกันครั้งแรก ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของตัวผู้ทำงาน ไม่ว่าจะเป้นการตัดผม การแต่งกาย ให้สมกับที่ชาวบ้านเรียก”อาจารย์”หรือ”หัวหน้า” ซึ่งหากเราต้องการที่จะเรียนรู้วิถีชีวิตโลกทัศน์ของชุมชน เราต้องการที่จะพยายามเป็นคนใน แม้ในความจริงเราจะเป็นได้เพียงคนนอกที่พยายามมองอย่างคนใน แต่การเรียนรู้ การทำกิจกรรมร่วมกันกับชาวบ้าน ความไว้วางใจกันในการทำงาน และสนิทสนมกันเหมือนพ่อแม่ ลูก พี่น้องกัน เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจากชุมชน เราจึงควรที่จะต้องนำมาปรับใช้กับการทำงานในหมู่บ้าน ทั้งในเรื่องการวางตัว การปฎิบัติตนต่างๆ ในขณะที่เรากำลังตรวจสอบและดูชาวบ้านกลุ่มที่เราทำงานนั้น ในขณะเดียวกันชาวบ้านก็มองดูเราและตรวจสอบเราเช่นกัน บางคำนินทาที่ชาวบ้านบางคนพูด เช่น”บักผมยาวเอาเงินซื้อนมให้ลูกเจ้ากินอยู่บ่ ไปเชื่อมันหยัง” “พวกรับเงินต่างชาติมาปลุกปั่นสร้างความแตกแยก”หรือคำพูดอื่นๆ ที่เรามักได้ยินอยู่เสมอ หรือชาวบ้านบางคนที่ได้ยิน ก็มักจะถามพวกเราเสมอ ว่า เอ็นจีโอคือหยัง มีเงินเดือนบ่ สิ่งเหล่านี้คือสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะความอยากรู้ เรื่องของคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนแปลกหน้าที่พวกเขาไม่รู้จักมักคุ้นมาก่อน สิ่งที่ผู้เชียน และพี่สุวิทย์ รวมถึงคนทำงานคนอื่นๆทำก็คือ การบอกความจริงอย่างไม่ปิดปัง “พวกผมก็มีเงินเดือนถึงจะไม่มากก็พออยู่ได้ ขาดเหลือก็ช่วยกันไป พวกผมไม่มีนาเหมือนพ่อแม่ไม่ทำงาน ไม่มีเงินเดือนแล้วจะกินอะไร” ซึ่งคำตอบเหล่านี้ชาวบ้านก็จะใช้อธิบายบอกต่อคนอื่นๆต่อไป เวลาผมไปประชุมกับแม่มณี ก่อนที่จะพูดต้องให้แม่มณีเป็นคนเปิดประเด็นและแนะนำตัวให้ ซึ่งท่านก็น่านฃรักมาก อธิบายให้หมดว่าเอ็นจีโอคืออะไร ผู้เขียนเรียนจบที่ไหน บ้านอยู่ไหน ได้เงินเดือนเท่าไหร่ ทำให้คนที่มาฟังประชุมคลายปัญหาที่สงสัยในตัวผู้พูดลงไปมาก ซึ่งเวลาผมไปประชุมคนเดียวก่อนพูดผมก็จะแนะนำตัวคร่าวๆ ส่วนเรื่องเงิรนเดือนถ้ามีคนถามผมถึงจะตอบ ผมว่านี่คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของการทำงานแบบอยู่ร่วมกับคนในพื้นที่ ร่วมคิดร่วมทำงานและร่วมแบ่งปันความรู้สึก ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ผูกพันเสมือนเป็นญาติพี่น้องกัน มีสุขมีทุกข์ร่วมกัน ช่วยเหลือปลอบใจกัน ซึ่งไม่ใช่ความเป็นหัวหน้าหรือคนทำงาน สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้เขียนรู้สึกมีความสุข และไม่เหน็ดเหนื่อยที่จะตระเวนขับรถไปคุยกับแกนนำ ชาวบ้านในบ้านต่างๆ อย่างน้อยนอกจากเป็นการสอบถามข่าวคราวส่วนตัวแล้ว ยังเป็นการทำให้ทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวในพื้นที่ เช่นคนของบริษัทเข้ามาพบใคร หรือบริษัทจะเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อแจกเงิน มอบอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งสะท้อนว่าชาวบ้านติดตามความเคลื่อนไหวในพื้นที่และตรวจสอบคนในหมู่บ้านอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้นำหมู่บ้าน อย่างเช่นในบางช่วงมีข่าวบริษัทพากำนันผู้ใหญ่บ้านไปเลี้ยง ปรากฎว่าชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆ ต่างพากันกดดันยกกันไปถามผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน จนผู้ใหญ่บ้านบางคนนำเสื้อที่บริษัทแจกมาให้กลุ่มอนรักษ์เผาหรือทำลายก็มี เพราะไม่กล้าใส่ และเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจและสำนึกผิดกับการกระทำของตัวเองต่อลูกบ้าน วึ่งทำให้ชาวบ้านได้เข้าใจถึงสิทธิของตัวเองในการตรวจสอบคาวมถูกต้อง การบริหารงานของผู้นำในชุมชน ไม่ถูกครอบงำเหมือนดังอดีต
การประชุมในวันนั้นถือว่าได้ผลอย่างมาก ผมได้รู้จักผู้เฒ่าหลายคนที่รักชาติบ้านเมืองไม่ว่าจะเป็นแม่เบ้า แม่สา(ซึ่งต่อมาผู้เขียนได้มาอาศัยอยู่บ้านยายสา และได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องผ้าไหม การหากบ และยังไปมาหาสู่กันด้วยความเคารพเสมอ)รวมถึงคนอื่นๆ ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องเหมืองแร่โปแตชและไม่ต้องการให้มันเกิด รวมถึงแม่มณี ที่เป็นอบต.บ้านสังคม(ซึ่งตอนหลังเป็นรองประธานกลุ่มอนุรักษ์ ปัจจุบันเป็นประธานสภาอบต.ห้วยสามพาดและได้รับรางวัลสตรีดีเด่นจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) ที่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับโครงการและอยากร่วมต่อต้าน รวมถึงการจะช่วยประสานกับผู้นำหใมู่บ้านอื่นๆ ที่แม่มณีรู้จักเนื่องจากท่านเคยประกอบอาชีพขายหวยและส่งขนมทองม้วนขายทำให้รู้จักคนมากและกว้างขวางทั้งในระดับหมู่บ้านและนักการเมืองท้องถิ่น
หลังจากนั้นผู้เขียนก็เริ่มต้นที่จะทำตารางการประชุมหมู่บ้านต่างๆ ทุกวันไม่ได้หยุด ซึ่งการประชุมก็จะมีทั้งที่ไปคนเดียวบ้าง ไปกับพี่สุวิทย์และพี่เกรียงศักดิ์ บ้าง แต่ในช่วงหลังๆที่สามารถประชุมหมู่บ้านต่างๆเกือบ20 หมู่บ้าน และประมาณ 15 หมู่บ้าน ที่มีคณะกรรมเข้าร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จนสามารถที่จะจัดการประชุมเพื่อตั้งคณะกรรมการและจัดตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเห็นได้ว่าระยะเวลาใจนการทำงานนี้ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนกว่า ซึ่งถือว่าเร็วมากเพราะสถานการณ์ช่วงนั้นกดดันหลายด้าน ทั้งในแง่รายงานผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ของบริษัทAPPCจากแคนาดา กำลังจะผ่าน รวมถึงเรื่องกฎหมายแร่ฉบับบแก้ไขด้วย ทำให้เราต้องมีการสร้างกลุ่มองค์กรที่เป็นทางการเข้ามาขับเคลื่อนและต่อรองทางนโยบาย ซึ่งในวันที่ 17 มกราคม 2545 ถือได้ว่าเป็นวันที่เริ้มก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวเดล้อมอุดรธานี ซึ่งตอนแรกมีผู้เสนอว่าให้เอากลุ่มต่อต้าน แต่เนื่องจากชื่อกลุ่มต่อต้าน มันมีความหมายโจ่งแจ้งและมีทิศทางตรงอย่างเดียวเลยมีมติว่าให้เอากลุ่มอนุรักษ์ ฯซึ่งเป็นกลุ่มที่ตัวแทนชาวบ้าน 16 หมู่บ้าน 3ตำบลร่วมสนับสนุน และมีสีประจำกลุ่มคือเขียวใบตอง ซึ่งได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มรวงข้าวสีเขียว ธงเขียวเพื่อบ่งบอกความเป็นกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและต่อต้านโครงการของบริษัทข้ามชาติที่จะเข้ามาทำลายสิ่งแวดล้อมและกอบโกยเอาทรัพยากรของชุมชน
อันที่จริงแล้วแล้ว กระบวนการที่สามารถทำให้เกิดกลุ่มองค์กรชาวบ้านได้ ไม่ใช่เพียงแค่การจัดประชุมให้ข้อมูลความรู้ หรือถามความเห็นของชาวบ้านต่อโครงการ ความสนใจที่จะร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อติมตามเรื่องเหมืองแร่โปแตช เท่านั้น ซึ่งยังต้องมีกระบวนการต่างๆก่อนหน้านั้น ที่จะทำให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจ ในตัวของคนทำงานในพื้นที่ และเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการต่อสู้เคลื่อนไหวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีให้ข้อมูลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิของชุมชน การเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาการร่วมในกรณีของกฎหมายแร่การยื่นหหนังสือต่อคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพรบ.แร่ กับพ.อ.สมคิด สีสังคม อ.จอน อึ้งภากรณ์ รวมถึงการลงพื้นที่เหมืองบำเหน็จณรงค์ ที่ชัยภูมิ ร่วมกับวุฒิสภา ทำให้ชาวบ้านเกิดความเชื่อมั่นว่ายังมีหลายๆองค์กรช่วยเหลือชาวบ้าน ชาวบ้านไม่ได้โดดเดี่ยว
หลังจากตั้งกลุ่มได้ไม่นาน ก็ได้อบรมเรื่องกฎหมาย สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และการใช้ประโยชน์จากองค์กรอิสระ มาหลายรุ่น ซึ่งโครงการนี้ ได้รับการอนุเคราะห์จากโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฎิรูป(คสร.) โดยพี่บรรจงศิริและคุณจุ๋ม เข้ามาจัดและเชิญวิทยากรที่มีความรู้มาให้ข้อมูลกับชาวบ้าน ซึ่งวิทยากรหลายคนได้เข้ามาช่วยชาวบ้าน เช่น คุณ ไพโรจน์ พลเพชร ที่เป็นนักกฎหมาย หรืออ.ศุภโชค โชติช่วงที่ลำปาง ที่ได้ช่วยทำสติ๊กเกอร์ เสื้อและกระเป๋า เพื่อหาเงินเข้ากองทุนกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีในการต่อต้านโครงการเหมืองแร่โปแตช ผู้เขียนจำได้ว่า ในการประชุมครั้งหนึ่ง ได้มีการระดมทุนจากสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม ถือว่าเป็นนเงินก้อนแรกในการจัดตั้งกลุ่ม และเก็บรวบรวมและเปิดบัญชีเพื่อเป็นกองทุนในการต่อสู้จนมาถึงปัจจุบัน
โดยการเปิดบัญชีของกลุ่มอนุรักษ์ถือว่าเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาบริหารจัดการ การเงินของกลุ่ม ที่จะต้องมีผู้เบิกสามคนที่เป็นเหรัญญิกที่ชาวบ้านในกลุ่มฯเลือก และต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสามท่านจึงจะสามารถเบิกเงินมาใช้ได้ ซึ่งประกอบด้วย แม่มณี บุญรอด พ่อบุญมา บาริศรี และ.... ทำให้ขั้นตอนของการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่นบุญกุ้มข้าวใหญ่ จะต้องขึ้นชาร์ดแสดงและชี้แจงรายรับรายจ่ายต่างๆ ให้สมาชิกในกลุ่มได้เข้าใจและรับรู้ร่วมกัน เพราะในช่วงเวลานั้นก็มีสถานการณ์ปล่อยข่าวจากฝ่ายตรงกันข้ามว่าพวกแกนนำนำเงินไปใช้ กิจกรรมต่างๆที่ชาวบ้านบริจาคเงินข้าว ผลประโยชน์อยู่ที่กลุ่มแกนนำ เป็นต้น ผู้เขียนจำได้ว่า ตอนที่จัดบุญกุ้มข้าวครั้งแรกในปี2545 ได้เงินสด20,000กว่าบาท ได้ข้าวเกือบ 10 ตันรวมเป็นเงินกว่าแนบาท แต่หลังจากการไปชุมนุมใหญ่ที่กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องจ้างรถบัสถึงสิบคัน ทำให้เงินในกองทุนแทบจะไม่เหลือ ซึ่งผลที่ได้รับจากการชุมนุมก็น่าพอใจ เพราะ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ก็ได้เลื่อนพิจารณาการออกประทานบัตรให้บริษัท มีการตั้งคณะทำงานติดตามโครงการเหมืองแร่โปแตช แลที่สำคัญก็ได้ทำให้ปัญหาของโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานีเป็นที่รับรู้ต่อสาธารณชน ทั้งในประเด็นเรื่องกฎหมายแร่ที่ละเมิดสิทธิชุมชน เรื่องของกระบวนการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่ไม่ครอบคลุมได้มาตรฐาน และปัญหาเรื่องของสัญญาที่กระทรวงอุตสาหกรรม รัฐบาลไทย ทำกับบริษัทที่ค่อนข้างเสียเปรียบ รวมถึงการถูกกระทำของคนในพื้นที่ในเรื่องของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ นับตั้งแต่ระยะเวลาที่ทำการสำรวจ รายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ผ่านความเห็นชอบจากสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จนถึงการที่บริษัทกำลังจะขอประทานบัตรเพื่อก่อสร้างโรงงาน ตลอดระยะเวลากว่า20 ปีชาวบ้านไม่รู้เรื่อง และเพิ่งจะทราบเรื่องโครงการเมื่อองค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามาให้ข้อมูลเมื่อปี2545 ซึ่งแสดงให้เห็นความคลุมเคลือและความไม่โปรงใสของโครงการเมกกะโปรเจคข้ามชาติดังกล่าว
ความกดดันของคนในพื้นที่ต่อคนในพื้นที่ด้วยกัน
ความกดดันหรือความน้อยเนื้อต่ำใจที่คนในพื้นที่มีต่อกันก็คือ เรื่องของความร่วมมือร่วมใจกันในการต่อต้านโครงกการเหมืองแร่โปแตช สิ่งที่ผู้เขียนได้ยินเป็นประจำจากบรรดาแกนนำในหมู่บ้านต่างๆก็คือ เราต่อสู้กันแทบตายเหนื่อยก็เหนื่อย บางคนก้ยังไม่ลุกขึ้นมาอยู่เฉยๆ ไม่สนใจอะไร บางคนก็ช่วยออกเงินแต่เวลาสำคัญๆก็ไม่ได้ช่วยออกไปแสดงพลัง อย่างไปศาลากลางจังหวัดก็ไปน้อย ออกแต่เงินค่าน้ำมัน ค่าข้าว ค่าน้ำซึ่งเราไม่ต้องการต้องการคนมากกว่า สิ่งที่พี่สุวิทย์เคยบอกพวกเราคนทำงานเสมอก็คือ จำนวนหรือปริมาณไม่สำคัญเท่ากับคนที่มีคุณภาพ มีความเสียสละเพื่อชุมชนจริงๆ การไปมากไปน้อยไม่ใช่สิ่งที่เป็นเครื่องหมายของชัยชนะ บางครั้งจำนวนคนที่ไปชุมนุมน้อยก็สามารถต่อรองหรือกดดันกับรัฐบาลได้ หากคนเหล่านั้นมีความสามารถในการเจรจา มีระเบียบวินัยในตัวเอง ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับความคิดดังกล่าวเพราะหากเราเข้าใจธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ที่ผิดแผกแตกต่างกันไป ในการทำงานเราต้องสามารถเลื่อกคนที่เหมาะสมกับการทำงานได้ เช่นอาจเป็นแกนหลักในทางความคิด อาจเป็นแรงงานสำคัญในการเตรียมกิจกรรม เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย กฎระเบียบ กติกาของกลุ่ม หรือเป็นผู้ช่วยเหลือในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งปัจจัย สิ่งของและแรงงาน โดยที่เรามองว่าทุกคนคือมิตรไม่ใช่ศัตรู การทำงานเคลื่อนไหว งานมวลชน จึงต้องทำความเข้าใจจิตวิทยามวลชน ยอมรับในความแตกต่างๆ หลากหลาย อย่างน้อยการที่เขยังสนับสนุนเราก็สะท้อนได้ว่าความคิดของเขาก็ยังต่อต้านโครงการเหมืองแร่โปแตชเหมือนบรรดาแกนนำเช่นกัน ดังนั่นทุกครั้งที่ผู้เขียนประชุมไม่ว่าจะคนเดียวหรือไปกับพี่สุวิทย์ บางบ้านแม้จะมีคนฟังไม่ถึง10 คนแม้แต่คนเดียว ก้ต้องมีการเปิดประชุมไม่มีการยกเลิก ...
ยื่นหนังสือ ล่าลายเซ็น การศึกษาดูงานกรณีปัญหา บ่อนอก หินกูด น้ำพอง
วิธีการต่างๆในการเคลื่อนไหวต่อสู้และต่อรองกับอำนาจ มีมากมาย ไม่ว่าจะเป้นการยื่นหนังสือ ร่าลายชื่อแสดงการคัดค้าน ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุดมนการเคลื่อนไหวขององค์กรพัฒนาเอกชน ไปจนถึงการชุมนุมเรียกร้อง เพี่อต่อรองกับรัฐบาล หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งในหลายกรณีนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตาม ตรวจสอบปัญหา ร่วมกับทางหน่วยงานราชการ รัฐบาล อย่างกรณีปากมูลมีคณะกรรมการเป็นร้อยชุด อย่างกรณีเหมืองแร่โปแตชก็มี10-20 ชุด ซึ่งการตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมอาจจะไม่ใช่หนทางที่นำไปสู่ข้อยุติ แต่ก็เป็นเสมือนกับเครื่องถ่วงดุลย์ ตรวจสอบอำนาจและทำให้การเกิดขึ้นของโครงการชะงักงัน หรือเลื่อนออกไป การเกิดขึ้นของคณะทำงานศึกษาในกรณีปัญหา เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอและนับรู้ปัญหา เช่นตอนที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานและประสานกับทางจังหวัด กับชาวบ้านเรื่องกำหนดการประชุม ได้เห็นความตื่นตัวของชาวบ้าน เมื่อหลังจากได้เข้ารับฟังและร่วมประชุมแล้ว ก้จะจัดประชุมในหมู่บ้าน เพื่อรายงานให้พี่น้องทราบความคืบหน้าในอีกด้านหนึ่งก็ป็นเครื่องยืนยันสถานะตำแหน่งและการทำบทบาทหน้าที่ของตนเองในคณะกรรมการชุดนั้น และสะท้อนวห้เห็นการตื่นตัวของการเมืองภาคประชาชนในระดับรากหญ้า แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของคณะกรรมการอย่างกรณีเหมืองแร่โปแตช นำไปสู่การตรวจสอบในเชิงของนโยบาย ในระดับประเทศ เช่นเรื่องของกฎหมายแร่ การจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รัฐธรรมนูญปี2540 พรบ.ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือแม้แต่สัญญาที่บริษัทข้ามชาติได้ทำกับรัฐบาลไทย ซึ่งทำให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้มากขึ้น แม้ว่า กฎหมายแร่จะผ่านแต่บริษัทก็ต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอใหม่ตามกฎหมายแร่ใหม่และรัฐธรรมนูญปี2540 ที่เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นมาจากการต่อสู้ผลักดันของประชาชนในระดับรากหญ้าทั้งสิ้น ซึ่งต้องผ่านการยื่นหนังสือ การชุมนุมประท้วง เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง และสะท้อนเสียงเหล่านี้ให้รัฐบาลได้ยินและลงมาดูแลและสั่งการตรวจสอบอย่างจริงจัง แต่สิ่งที่สะท้อนได้ชัดก็คือแม้ว่าประชาชนจะสามารถสะท้อนเสียงตนเองไปยังผู้มีอำนาจและสร้างอำนาจในการต่อรองให้เกิดขึ้น แต่ชัยชนะที่เกิดเป้นชัยชนะในระดับแรกเริ่มเท่านั้น ยังไม่ใช่ชัยชนะในระดับปลายสุด ที่จะสามารถนำไปสู่การล้มเลิกโครงการ แม้แต่องค์กรอิสระต่างๆก็ไม่อาจอยู่ข้างประชาชนบนฐานของความถูกต้องชอบธรรมตามความต้องการของมนุษย์ตามธรรมชาติที่อยากจะให้เป็น แต่เป็นการตัดสินโดยอ้างเหตุผลตามตัวบทกฎหมายซึ่งในกรณีของโครงการเหมืองแร่โปแตช แม้จะมีการส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายแร่ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด ในเรื่องของแดนกรรสมฃสิทธิ์ การจำกัดสิทธิ์และริดรอนเสรีภาพของประชาชน แต่ท้ายที่สุดก็กลับตัดสินว่ากฎหมายแร่ดังกล่าวไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ หรือในตัวอย่างเรื่องสัญญา ตัวสัญญาก็ไม่ได้มีการยกเลิกเพียงแต่ให้บริษัททรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมใหม่ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่าโครงการเหมืองแร่โปแตชยังเป็นหนังเรื่องยาวที่ชาวบ้านจะต้องต่อสู้กับอำนาจการตัดสินใจภายใต้เงาของรัฐบาลและกลุ่มทุนข้ามชาติที่จะเข้ามากอบโกยทรัพยากรใต้พื้นดินอีสาน เพราะประชาชนยังไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดหรือตัดสินอนาคตของตนเองที่แท้จริงแต่อย่างใด
หลากวิธีในการเคลื่อนไหว หาข้าวหาปลาไปกินเอง เบียดเสียดกันไปเพราะความอยากรู้
การที่ผู้เขียนต้องรับผิดชอบในการที่จะต้องตระเวนถามบรรดาแกนนำว่าใครจะลงไปกรุงเทพฯเพื่อยื่นหนังสือ หรือชุมนุมบ้าง เป็นช่วงที่เหนื่อยและปวดหัวมากที่สุด ทั้งเรื่องรถที่ต้องไปติดต่อ บางครั้งก็รถตู้รถเมลล์ รถสองแถว หรือรถกระบะของแกนนำ หรือเรื่องของคนที่จะไป เพราะบางครั้งรถก็มีจำกัดอย่างรถตู้ 1 คัน นั่งได้10-12 ที่นั่ง หากไปเกินทุกคนก็ต้องนั่งเบียดเสียดกัน โดยเฉพาะคนแก่ที่อยากไปผมสงสารมาก เพราะต้องเดินทางไกลต้องเบียดกันเหยียดแข้งขาไม่สะดวก กลัวว่าจะปวดขาตอนหลังๆจึงมักจะได้เป็นกลุ่มเยาวชนคนหนุ่มสาวมากกว่า เมื่อได้คนครบตามจำนวน ก็จะต้องมีการแจกแจงรายละเอียดการเตรียมตัวในการเดินทาง การเตรียมข้าวสารไปหุงไปนึ่ง ที่มอส.(มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม)ซึ่งจะที่เป็นทั้งที่พักหลับนอนและเป็นครัวสำหรับทำกับข้าว บางครั้งก็ซื้ออาหารไปทำซื้อปลาทู ซื้อมะเขือ เพราะอาหารที่ทำส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกทอดปลาทู และซุปมะเขือ ส่วนอาหารอย่างอื่นก็มีพวกแจ่วบอง บองปลาแดก บางครั้งถ้าชุมนุมใหญ่ ผู้เขียนกับพ่อเบี้ยวซึ่งเป็นแกนนำบ้านโนนสมบูรณ์เคยเป็นเด็กบัสรถและรู้จักคนมาก แกก็จะไปขอหมูที่ฟาร์มหมูบ้านหนองไผ่ ฟาร์ม999 ซึ่งอนุเคราะห์ให้หมูมาทั้งแบบเป็นตัวและแบบเนื้อชำแหละแล้ว พอได้มาก็จะทำตากแดด ช่วยกันกับกลุ่มผู้หญิง และห่อใส่ถุงเพื่อเอาไว้แจกให้พี่น้องที่ร่วมไปชุมนุม แรกๆผู้เขียนรู้สึกอายๆบ้างที่ต้องไปขอทั้งจากบริษัทห้างร้านต่างๆ เพื่อเป็นเงินทุนในการต่อสู้เคลื่อนไหว เพราะยอมรับว่าสงสารชาวบ้าน ซึ่งปกติเขาก็ไม่ค่อยซื้อของฟุ่มเฟือย จะกินจะใช้ต้องประหยัดบางทีไปเดินรณรงค์บางคนก็ห่อมะม่วงสุข ปลาร้า ปลากระป๋อง ส้มตำมากิน ซึ่งเป็นอาหารง่ายๆ ที่หากินได้ราคาไม่แพง ผู้เขียนจำได้ว่าผู้เขียนชอบไปกินข้าวที่บ้านโคกสี ปลาร้าตัวใหญ่ๆอร่อยมากและกินกันหลายๆคนก็สนุกดี ผู้เขียนก็ตระเวนไปกินวงนั้นวงนี้บ้าง ทำให้รู้ว่าคนแต่ละคนรู้สึกยังไง เหนื่อยไหม ไปบ้านนั้นคนเขาว่ายังไง เขาสนใจเรื่องโครงการไหม บางคนบอกผมว่า “หัวหน้าต้น ผมได้ชื่อคนมาเป้นอบต.เขาสนใจอยากให้เราไปคุยและเปิดประชุมบ้านเขา” วึ่งทำให้ผมได้ข้อมูลเวลาไปติดต่อประสานงานประชุมเดี๋ยวเรื่องเดินรณรงค์ผมจะกล่าวถึงเฉพาะในหัวข้อต่อไป

เมื่อชาวบ้านแตกออกเป็นสองฝ่าย เมื่อคนที่เราเคารพับถือหาว่าเราหลอกลวงให้เชื่อ
การรุกเข้ามของบริษัทในช่วงปี2546 ซึ่งได้สร้างกรtแสของคนออกเป็นสองกลุ่มซึ่งในตอนแรกมีแค่กลุ่มต่อต้าน และกลุ่มคนที่ไม่แสดงตัวตนว่าคิดอย่างไร คอยดูข่าวสารความเคลื่อนไหวอยู่ คนกลุ่มหลังนี้ส่วนหนึ่งที่ได้แสดงตัวตนออกมาว่าเป็นกลุ่มที่สนับสนุนโครงการ โดยเฉพาะกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้านสี่ตำบล นำโดย นายชำนาญ ภูวิไลและนายฉลอง ภูวิไล และกลุ่มพิทักษ์สิทธิตนเองบ้านดงมะไฟ ซึ่งในช่วงแรกๆที่บริษัทได่จ้างบัณฑิตอาสาที่เคยทำงานกับชุมชนและหมดวาระการทำงานมาเป็นพนักงานและคอยประสานงานให้ข้อมูลเกี่ยวกับโปแตชกับชาวบ้าน งานมวลชนสัมพันธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอเงินผ้าป่า เพื่อทำนุบำรุงวัด การจัดแข่งกีฬา การมอบอุปกรณ์โรงเรียน การสนับสนุนอาชีพ เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ชน การออกสื่อทั้งท้องถิ่นและระดับประเทศ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ การจัดกิจกรรมและร่วมกิจกรรมระดับจังหวัด เช่นงานทุ่งศรีเมือง ครัวโลก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดของชาาวบ้านเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่นิ่งๆเงียบๆและรรอดูท่าที เพราะผลประโยชน์อันมหาศาลและวัตถุที่จับต้องได้ มากกว่าอุดมการณ์ของชาวบ้านที่ต่อสู้มาเป็นเวลา4-5 ปีที่ต้องเสียสละเวลา แรงกายและเงินในการต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรและสมบัติของชาติ ที่ยังไม่เห็นผลชัดเจนในคำตอบสุดท้ายของโคงการ ว่าจะหยุดหรือสร้าง พร้อมกับสิ่งที่คนบางคนพูดย้ำว่า “สู้ยังไงก็ไม่ชนะเขาหรอก” นี่คือสิ่งสิ่งที่ฝ่ายตรงกันข้ามพยายามสร้างขึ้นมาบั่นทอนกำลังใจ ของชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความโจมตี ในเรื่องของแกนนำ เรื่องบุญกุ้มข้าวความไม่โปร่งใสในการจัดงาน การใช้ประเพณีบิดเบือนเจตนารมย์บรรพบุรุษ การใช้ความรุนแรงเหนือเหตุผลเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ได้ตอกย้ำและสร้างภาพทางลบให้กับกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสายตาคนข้างนอก ชาวบ้านบางคนก็เริ่มแสดงตัวตนออกมาอยู่ข้างกลุ่มสนับสนุนมากขึ้น แม้แต่ผู้ที่เคยต่อสู้ร่วมกันบางคน ที่เคยพูดว่าจะสู้ตรงนี้ สู้ที่นี่สู้จนตาย ตนเองเป้นคนสร้างบ้านแปลงเมือง เป้นหลักของลูกหลาน จะเป็นแกนนำในการต่อสู้เอง ก็ยังเปลี่ยนแปลง ซึ่งแน่นอนว่า หากพื้นฐานของชุมมชนที่อยู่บนฮีตบ้านคองเมือง ระบบจารีตประเพณีคความเป็นชุมชน ระบบการลงโทษของชุมชน ก็จะจัดการและสร้างความสมดุลย์ให้เกิดขึ้นในตัวของมันเอง ดังที่กลุ่มอนุรักษ์หรือคนในชุมชนใช้มาตรการ ไม่คบหสมาคม ไม่ร่วมกิจกรรมต่างๆ ของคนๆนั้นก็น่าจะเป้นคำตอบในวิธีหการจัดการความขัดแย้งของชาวบ้าน ซึ่งแน่นอนว่า วิธีการนี้ตฃคือขั้นสุดท้าย เพราะก่อนหน้านั้นได้มีการนำผู้เฒ่าผู้แก่ไปพูดคุยกับลูกหลานที่ไปเข้ากับบริษัทปลุกปั่นคนในชุมชนให้แตกแยกมาแล้ว แต่ก็ไม่ยอมฟัง ซึ่งผู้เขียนก็ได้พบเห็นในหลายกรณี เช่นการมาจัดกีฬาที่หมู่บ้านซึ่งบริษัทให้งบมา ตอนสุดท้ายก็ต้องล้มเลิกหรือจัดไม่ได้ หรือการไม่รับเงินฌาปนกิจหมู่บ้านจากลุ่มที่สนับสนุนบริษัท จนกลุ่มคนเหล่านั้นต้องถอนจากกลุ่มฌาปนกิจหมู่บ้าน หรือแม้แต่การซื้อของในชุมชน คนในชุมชนก็จะเลือกซื้อของกับคนที่อยู่กลุ่มอนุรักษ์ไม่ซื้อของกับคนที่เข้ากับบริษัท หรือการที่บริษัทจะมามอบเงินให้กับวัด ชาวบ้านก็ไปรวมตัววกันชุมนุมที่วัดจนผลสุดท้ายวัดก็ไม่ยอมรับเงินเป็นต้น นี่เองที่เขาเรียกว่าห้องเรียนสันติวิธีและความรุนแรง การจัดการความขัดแย้งของคนในพื้นที่

บุญกุ้มข้าวใหญ่รวมข้าวรวมใจและตอกย้ำอัตลักษณ์ของความเป็นชาวนา
บุญกุ้มข้าวใหญ่ เป็นประเพณีของคนอีสานมาตั้งแต่ดั้งเดิม หลังจากทำการเก็บเกี่ยวพืชผลแล้วเสร็จ ผลผลิตที่ได้จากการเกษตรกรรมส่วนหนึ่งก็จะถูกแบ่งมาไว้เป็นสมบัติ/ทรัพย์สินส่วนรวมของชุมชน โดยใช้พิธีกรรมเรื่องของบุญกุ้มข้าวใหญ่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานประจำปีของหมู่บ้าน ในการเก็บรวบรวมข้าวเปลือกของแต่ละครัวเรือน นำมากองรวมกันที่ลานวัดกลางแจ้ง และทำพิธีทำบุญ สู่ขวัญข้าว ให้ขวัญกำลังใจกับเกษตรกร และถือได้ว่าเป็นงานรื่นเริงที่ช่วยผ่อนคลายเกษตรกรจากระยะเวลาของการผลิตอันยาวนาน อีกทั้งยังทำให้คนในชุใมชนได้ภาคภูมิใจในน้ำพักน้ำแรงที่ตนลงทุนไป ข้าวเปลือกแต่ละเม็ดที่แต่ละครัวเรือนนำมากองรวมกันนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบรณ์และการพึ่งตนเองของชุมชน การกระจายและแบ่งปันผลผลิตตอบแทนกลับสู่ชุมชนหมู่บ้าน ซึ่งทุกครัวเรือนจะรับรู้ร่วมกันว่าผลผลิตข้าวส่วนหนึ่งจะเก็บไว้ที่ยุ้งฉาง เพื่อใช้ในการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก บางส่วนเมื่อถึงคราวจำเป็น เช่น เจ็บป่วย ลูกเข้าโรงเรียน อยากทำบุญต่างๆ ก็จะนำมาขายแลกเป็นเงิน อีกส่วนหนึ่งก็จะอยู่ในลักษณะCommon ร่วมกันของชุมชน เพื่อนำไปขายนำเงินมาซ่อมแซม ทำนุบำรงวัด โรงเรียน หรือพัฒนาหมู่บ้านในด้านต่างๆ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าตลอดเกือบ 5 ทศวรรษ ของการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การปฎิวัติเทคโนโลยีทางการเกษตรและชลประทาน ที่เรียกว่า การปฎิวัติเขียว ได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ทั้งมิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะวิถีการทำการเกษตร ที่ได้ทำลายระบบความสัมพันธ์ของเครือญาติและเวลาประกอบกิจกรรมในรอบปี จะเห็นได้ว่าการปฎิวัติเทคโนโลยีในการผลิตไม่ว่าจะเป็น รถไถนาเดินตาม แทนวัวควาย การใช้พันธ์ข้าวชนิดพิเศษที่ให้ผลอย่างรวดเร็วและใช้ระยะเวลาอันสั้น ระบบชลประทานคลองส่งน้ำ ที่ทำให้ไม่ต้องรอน้ำฝนตามธรรมชาติและสามารถทำการผลิตได้ตลอดทั้งปีในบางพื้นที่ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ย่าฆ่าหญ้าของเกษตรกร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ หน้าดินเสื่อมคุณภาพ ปลูปลาในน้ำในนา ปนเปื้อนด้วยสารพิษ ชาวบ้านไม่สามารถนำมาบริโภคได้ ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องรูปแบบความสัมพันธ์ทางการผลิตอย่างมากมาย เกิดลักษณะการผลิตเชิงพาณิชย์มากขึ้น มีการจ้างแรงงาน แทนการวานแรงงาน หรือหมุนเวียนกันในหมู่เครือญาติ ดังจะพบว่าปัญหาในปัจจุบันก็คือ การแย่งชิงแรงงานกันในการเกษตร โดยเฉพาะฤดูของการเก็บเกี่ยว การเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวไม่พร้องกัน อันเนื่องมาจากการรอคอยแรงงาน ซึ่งส่งผลกับการทกิจกรรมใหรือประเพณีร่วมกันของชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ประเพณีและกิจกรรมบางอย่างก็ลดความสำคัญลงไป เช่นบุญคูณลาน หรือบุญกองข้าว ซึ่งจะต้องทำพิธีบริเวณที่นาที่เป็นลานตีข้าวเปลือกออกจากรวง เนื่องจากปัจจุบันไม่ต้องลงแขกตีข้าว แต่มีรถที่สามารถแยกรวงข้าวออกมาได้ ทำให้เมื่อเวลานำข้าวเป็นฟ่อนๆใส่ลงไปในเครื่องแยกเมล็ดข้าว ก็สามารถเอาใส่กระสอบและบรรทุกใส่รถมาเก็บที่ยุ้งฉางได้เลย โดยไม่ต้องกองไว้บนลานนาดังเช่นในอดีต ซึ่งมีผลลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพิธีกรรมและความเชื่อของชาวบ้านในปัจจุบัน
ธงเขียว ขึ้นป้าย พื้นที่ของพรมแดนแห่งการสร้างความเป็นอื่น คู่ตรงกันข้าม
ธงเขียวสีใบตองอ่อนคือสัญลักษณ์ของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำได้ว่า สัญลักษณ์ของกลุ่มพี่สุวิทย์ให้น้องที่รู้จักเป็นคนออกแบบ เพราะจะต้องใช้ครั้งแรกในช่วงของบุญกุ้มข้าวใหญ่ครั้งที่1 เพราะจ้ะองระดมทุนเพื่อการเคลื่อนไหว การทำผ้าป่าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งในซองผ้าป่าจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับบุญกุ้มข้าวใหญ่ ผู้เขียนเป็นคนเรียบเรียงข้อความ และเขียนสโลแกนในซองผ้าป่าว่า ข้าวคือชีวิต คือวิถีชีวิตเกษตรกรรม ต่อมาก็มีการเพิ่มเรื่องเกลือเข้าไป นอกจากรายละเอียดเกี่ยวกับบุญกุ้มข้าว ความสำคัญของวิถีชีวิตชาวนาที่สัมพันธ์กับเรื่องของที่ดิน ผลกระทบจากโครงการขุดเจาะเกลือและโพแทชที่จะส่งผลต่อวิถีชีวิตการเกษตร การทำบุญกุ้มข้าว นอกจากจะเป็นการรื้อฟื้นและอนุรักษ์ภูมิปัญญาของท้องถิ่นดั้งเดิม ที่ต้องการสร้างความสามัคคีการร่วมกันเสียสละข้าวเปลือกแล้ว ยังเพื่อใช้ในงานบุญของวัดและ ของหมู่บ้าน และส่วนหนึ่งทางวัดก็จะขายเป็นเงินเพื่อนำไปพัฒนาวัดและหมู่บ้านต่อไป โลโก้รูปข้าว น้ำและปลาที่แสดงถึงกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จึงเป็นสิ่งที่จะต้องถูกประทับไว้ในซอง ก่อนที่ในปีต่อๆมารูปแบบโลโก้จะเปลี่ยนไปและไม่ได้ใช้ตราประทับแต่พิมพ์ไว้ในแผ่นพับที่มีรายละเอียดวัตถุประสงค์ของบุญกุ้มช้าว และรายชื่อของเจ้าภาพผ้าป่า จากหมู่บ้านต่างๆ สัญลักษณ์ของกลุ่มดังกล่าวปรากฏผ่านธงเขียวที่จะติดไว้ที่หน้าบ้านของแต่ละคนใน หมู่บ้านต่างๆที่เข้าร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ยังมีการเขียนป้ายโดยผู้เขี่ยน น้องที่เป็นนักพัฒนาเอกชนในองค์กรเดียวกัน และกลุ่มเยาวชน ที่ขอผ้าฝ้ายดิบจากวัด ซื้อพู่กันและสีเอามาเขียนป้าย โดยคิดคำต่างๆที่ง่ายๆ กินใจ และรุนแรง เช่น โปแตชมาปูปลาตายหมด โปแตชออกไปจากชุมชน เราไม่เอาเหมืองแร่โปแตช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น