วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

เหมืองโปแตช ผลกระทบที่ชาวบ้านต้องเลือก

ธารากวี คีตาธุลี ต้นตาวันพันดาว
“ไทบ้านบ่ฮู้เรื่องว่ามีอีหยัง เขาเลือกเอาแต่รายหัว ผู้บ่ได้กะเป็นคนตาบอดไป บัดกระทบกระทบหมดบ้าน ผู้กินพอฮากผู้อยากพอตาย”นี่คือเสียงสะท้อนจากพ่อทองล้วน สำราญทอง วัย 59 ปี ที่อาศัยอยู่บ้านหนองนาเจริญ ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานีที่กำลังจะเกิดโครงการก่อสร้างเหมืองโปแตสขึ้นในอีกไม่นานถ้า พรบ.เหมืองแร่ พ.ศ.2510 ผ่านคณะกรรมาธิการวุฒิสภา จากคำกล่าวก็สะท้อนภาพความเมินเฉยหรือจงใจของรัฐบาลและนายทุนที่อนุมัติและเร่งเร้าให้เกิดโครงการขึ้นโดยที่คนในพื้นที่ยังไม่รู้เรื่อง ส่วนหนึ่งของชาวบ้านในแถบพื้นที่รอบบริเวณโครงการ ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านโนนสมบูรณ์ บ้านหนองตะไกร้ บ้านหนองนาเจริญ บ้านหนองหว้า บ้านเชียงกรม บ้านทรายฟอง ยังไม่รู้ว่ากำลังจะมีโครงการอันมหาศาลของต่างชาติ รุกร้ำเข้ามาตักตวงและแย่งชิง ทรัพยากรและผลประโยชน์ของประเทศไทยที่พยายามทำตัวให้เป็นดินแดนแห่งเสรี ฝรั่งกับไทยก็เหมือนเพื่อนกัน ของไทยก็เหมือนของต่างชาติ ที่เขาเรียกว่าGLOBALIZATION โลกาภิวัฒน์อันเบ่งบานแต่ยักไม่เห็นจะมาใช้หนี้ช่วยเรา มีแต่กอบโกยแถมยังเพิ่มหนี้ให้เรานี่หรือคือเพื่อนแท้ ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองใครๆก็ว่าญี่ปุ่นมาเอาทองคำของเราไปจนเกลี้ยง แต่มายุคนี้แคนาดาก็มาเอาทองคำของเราไปเช่นกันแต่เป็นทองคำขาวหรือเกลือหินที่เป็นแหล่งกำเนิดของโปแตสอันมีค่ามหาศาลนั่นเอง
จากการได้ลงไปในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตสเหล่านี้ทำให้เรมองเห็นภาพสะท้อนของชาวบ้านในพื้นที่ออกเแป็นสองกระแสคือ กระแสแรก คือชาวบ้านที่สนับสนุนและเห็นด้วยกับโครงการโปแตส และต้องการอยากให้เกิดขึ้นโดยให้เหตุผลว่า “คั่นเว้าพื้นให้ผมเว้าผมบ่ย่าน ผมอยากให้เฮ็ดโลด ลูกหลานจะได้มีงานเฮ็ด คั่นว่ามันบ่ดีเพิ่นสิให้มาเฮ็ดอยู่บ่ ….” นี่คือเสียงสะท้อนของพ่อสมคิด สิงห์สุโต ชาวบ้านหนองนาเจริญซึ่งเชื่อว่าความเจริญจะต้องเกิดหากมีโครงการเหมืองแร่โปแตสเกิดขึ้น ลูกหลานชาวบ้านที่นี่จะมีรายได้มีงานทำมีเงินเลี้ยงครอบครัว ในระหว่างที่เราคุยกันแม่เฒ่าคนหนึ่งอายุประมาณ63ปีชื่อแม่สอน วงษ์รอง ก็พูดแทรกขึ้นว่า “แม่บ่อยากให้เฮ็ด มันเดือดร้อน มูลมรดกทรัพย์ในดินสินในน้ำ ลูกหลานน้อยๆตาดำๆจะกินอีหยัง เฮาตายไปแล้ว เห็นบ่บ้านดุง ชัยภูมิ บ่อเกลือ เฮามีไฮ่มีนา พออยู่พอกิน คั่นเฮ็ดเฮาเดือดร้อน แล้วสิไปไส อยู่นี่เฮากะมีกินอยู่แล้ว เดือดร้อน น้ำเสีย ปลาตาย มันสิแก้ง่ายบ่ คือจั๋งโรงงานกระดาษ สิกู้คืนมาได้บ่ เฮาสิบอกผู้เดียวกะบอกบ่ได้” ทำให้เรามองเห็นว่าชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการก็มีอยู่เช่นกัน
นี่คือเสียงสะท้อนจากชาวบ้านสองกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่จะก่อตั้งโรงงานเหมืองแร่โปแตส เหมืองแร่โปแตสเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและมีความเป็นมาอย่างไรผมใคร่จะนำเสนอดังต่อไปนี้
-ปี2536 รัฐบาลไทยได้ดำเนินการสำรวจแหล่งแร่โปแตสในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี คลุมพื้นที่ประมาณ 850 ตรกม.โดยให้ค่าขุดเจาะในการสำรวจในพื้นที่ต่างๆ บ่อละ 2,000-3,000บาท
-ปี2536 รัฐบาลไทยได้ออกประทานบัตรให้กับบริษัท เอเชีย แปิฟิก โปแตส คอร์เปอร์เรชั่นจำกัด(APPC)และทางบริษัทได้เริ่มทำการติดต่อขอซื้อพื้นที่ดินจากชาวบ้านโดยผ่านนายหน้าในท้องถิ่น ในราคาไร่ละ80,000-180,000 บาท
-วันที่ 4 สิงหาคม 2536 มีผู้ถือหุ้นในบริษัท APPC จำนวน 11 คน เป็นคนไทยจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 99 คนต่างประเทศมีเพียง 1 คน
-มกราคม 2537 มีการเปลี่ยนแลงสัดส่วนผู้ถือหุ้น คือผู้ถือหุ้นชาวไทยมี 9 คน ชาวต่างประเทศ 1 คน
-23 ก.พ 2539 มีกาสรเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นอย่างมโหฬาร คือชาวต่างประเทศเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เนื่องจากบริษัทไทยเซ็นทรัลเคมีภัณฑ์จำกัด ได้ขายหุ้นให้กับบริษัทเอเชียรีสอร์สเซส สัญชาตแคนาดา ทำให้บริษัทต่างชาติกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน APPC
-เดือนสิงหาคม 2539 ดำเนินการศึกษาผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมของโครงการตามข้อกำหนดประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมออกความตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535เพื่อทำรายงานเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนส่งแวดล้อม(สผ.)เห็นชอบก่อนที่จะเริ่มดำเนินการ
-เดือนพฤศจิกายน 2539 กระทรวงการคลังของไทยเข้ามาเป็นสมาชิกร่วมกับบริษัทAPPC จำนวน 10 % ของหุ้นทั้งหมดในสมัยที่นายธารินทร์ นิมานเหมินต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยอมให้กระทรวงการคลังถือหุ้นแทนผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันการเงิน
-7 กรกฏาคม 2541 บริษัท APPC ได้ทำการเพิ่มหุ้นจาก1,000,000 หุ้น จากเดิม 20,000หุ้นแต่สัดส่วนของการถือหุ้นประมาณ70%
-2 พฤศจิกายน 2543 มีการประชุมทางวิชาการเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาการ เทคโนโลยีการทำเหมืองใต้ดินขนาดใหญ่กับการพัฒนาแหล่งแร่โปแตส และเป็นศูนย์กลางความคิดเห็นของนักวิชาการ นักอุตสาหกรรมและผู้เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนกันโดยการอภิปรายมีผู้ร่วมอภิปรายคือ นายอนันต์ สุวรรณปาล รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นายสมคิด อารยะสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทเหมืองแร่โปแตสอาฌซียน จำกัด และMR.GERALD D.Wright กรรมการผู้จัดการบริษัทเอเชีย แปซิฟิค โปแตส คอร์เปอร์เรชั่นจำกัด
-25 พฤษภาคม2544 ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบด้วยกับหลักการแห่ง พระราชบัญญัติแร่ที่สภาผู้แทนราษฏรเห็นชอบและตั้งกรรมมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจราณาจำนวน 29 คน
จะเห็นได้ว่ากระบวนการที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปัจจุนบัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐและบริษัทข้ามชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในขั้นตอนของการซื้อขายที่ดินเท่านั้น ทางรัฐบาลและทางกลุ่มทุนข้ามชาติไม่ได้มีการดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ประชาพิจารณ์ และชี้แจงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนที่ตั้งโครงการและชุมชนใกล้เคียงอย่างแท้จริง เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจเลือกว่าจะให้โครงการนี้ดำเนินการหรือไม่ มิหนำซ้ำยังได้มีการแก้ไขกฏหมายพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับนักลงทุนต่างชาติ โดยในสมัยที่นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในสมัยชวนสอง ซึ่งการแก้ไขพระราชบัญญัตินี้ส่งผลให้ผู้ที่ทำกิจกรรมโครงการที่เกี่ยวกับเหมืองแร่ในประเทศไทยยิ้มได้เพราะจะประโยชน์ในการกอบโกยและทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพระาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้อำนาจแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการอกประทานบัตรและอาญาบัตร การทำเหมืองใต้ดินทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองแร่ การวางท่อก๊าซไปจนถึงการขุดขุมทองโกโบริที่เมืองกาญจนบุรี ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญว่าด้วยการกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรให้กับท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นการใช้ทรัพยากรในทางเศรษฐกิจเป็นหลักมากกว่าจะคำนึงถึงสิทธิความชอบธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทังละเลยเสรีภาพด้านร่างกาย สุขภาพและอนามัยของประชาชนในพื้นที่ และผลักภาระให้กับประชาชนในการดูแลตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้น
โดยร่างพระราชบํญญัติที่เข้าสู่คณะกรรมาธิการวุฒิสภา มีอยู่ 3 มาตราที่เห็นได้ชัดว่าเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทข้ามชาติ คือ
มาตราที่ 45 รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดเขตเหมืองแร่ให้แก่ผู้ขอสัมปทานสำหรับทำเหมืองใต้ดินได้ไม่เกินรายละหมื่นไร่และสำหรับเหมืองแร่ในทะเลไม่เกินรายละ50,000ไร่
มาตราที่50 ตรี แดนแห่งกรรมสิทธิ์ของบุคคลตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มิให้คลุมถึงสิทธิ์การทำเหมืองใต้ดินหรือสิทธิในแร่ที่อยู่ใต้ดินรวมตลอดถึงสิทธิในการใช้สอยพื้นที่ใต้ดินในระดับความลึกตามมาตรา 50 ทวิ เพื่อประโยชน์ในกรทำเหมืองใต้ดิน ในกรณีที่การทำเหมืองแร่ใต้ดินผ่านใต้ดินของป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ให้ผู้ถือประทานบัตรทำเหมืองดังกล่าวต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
จากข้างต้นเป็นการยกเว้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของที่ดินเพียงแค่แจ้งให้ทราบก็ขุดได้เลย ซึ่งการยกเลิกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถือว่าเป็นการใช้แง่ของกฎหมายที่ว่า กฎหมายพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไปได้
มาตราที่71 ทวิผู้ถือประทานบัตรทำเหมืองแร่และผู้ถือประทานบัตรทำเหมืองใต้ดินต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นกับบุคคล ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกพื้นที่ของเขตเหมืองแ หากผู้ได้รับความเสียหายร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและสามารถพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นจากการทำเหมืองใต้ดิน(แล้วถามหน่อยเถอะชาวบ้านจะเอาปัญญญาที่ไหนมาพิสูจน์และจะเอาเงินที่ไหนมาฟ้องร้องหรือจะฝากความหวังไว้ที่ศาลปกครอง?)
จากข้อความในมาตราข้างต้นของพระราชบัญญัติเหมืองแร่ พ.ศ.2510 ผู้เเขียนมีความเห็นดังนี้
พระราชบัญญัติที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในการขยายพื้นที่หรือขยายเวลาให้กับผู้ขออาญาบัตร ประทานบัตรเหมืองแร่ใต้ดิน ในคำสั่งที่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง เป็นผู้ออกคำสั่งให้มีการขยายพื้นที่หรือขยายเวลาให้แก่ผู้ร้องขอเพื่อให้รัฐมนตรีเจ้ากระทวงขยายพื้นที่การทำเหมืองแร่อกไปกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่นกรณีมาตราที่45 ของ พ.ร.บ.นี้ให้อำนาจรัฐมนตรีในการกำหนดเขตเหมืองแร่สำหรับทำเหมืองใต้ดินได้ไม่เกิน10,000ไร่ ถ้าผู้ขอประทานบัตรสำหรับทำเหมืองใต้ดินร้องให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีสามารถกำหนดเขตเหมืองแร่ให้เกินกว่าที่กำหนดได้ การออกคำสั่งเช่นว่าเป็นคำสั่งทางการปกครอง ในกรณีที่ออกคำสั่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายสามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ในกรณีที่คำสั่งนั้นไม่ชอบ อันก่อให้เกิดความเสียหาย โดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง หากเกิดความเสียหาย ต่อแหล่งน้ำ ระบบชีวภาพในแหล่งน้ำในชุมชนที่เป็นที่ตั้งโรงงานและชุมชนใกล้เคียง แต่การที่เราจะต้องมาต่อสู้กันถึงขั้นนั้นหากเกิดผลกระทบขึ้น มันคงไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่สูญเสียไปโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่ไม่อาจเรียกคืนได้ทางออกที่น่าจะดีก็คือ ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นนี้ก็คือ การยับบั้งร่างพระราชบัญญัติและไม่ให้โรงงานเหมืองแร่โปแตสเกิดขึ้น
ทั้งหมดที่กล่าวมาต้นตอของปัญหาเกิดจากผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและบริษัทต่างชาติที่เข้ามาครอบงำและกำหนดทิศทางให้กับชุมชม แล้วทำไมชุมชนไม่เป็นผู้เลือกเอง? ทำไมต้องปล่อยให้บริษัทข้ามชาติเหล่านี้มาโฆษณาชวนเชื่อและกอบโกยทรัพยากรของเรา ดังที่วิศวกรของโครงการ Mr.Donald Hauge ได้ประกาศเป้าหมายของการผลิตโปแตสในประเทศไทยว่า “แหล่งสมบูรณ์(ชื่อแหล่งแร่ที่จะทำการก่อสร้างที่บ้านหนองตะไกร้) คือแหล่งโปแตสที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโปแตสคือสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาการเกษตร ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญทางโภชนาการ ของพืช ซึ่งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การบริโภคได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ไม่มีประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะมีแหล่งแร่โปแตสอันมหาศาล ซึ่งในปัจจุบัน ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น อเมริกาเหนือ สหภาพโซเวียตและตะวันออกกลาง …ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับ3 ของผู้ผลิตโปแตสในโลกรองจากแคนาดาและรัสเซีย …”(แปลจากเวบไซต์ของบริษัทAPPCชื่อ THE ASIA PACIFIC POTASH CORPORATION ) แต่ถ้าให้ถามกลับ ประเทศไทย เป็นประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์และสินค้าทางการเกษตรไปยังต่างประเทศเป็นอันดับต้นๆมากกว่าที่จะใช้บริโภคในประเทศเสียอีก จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องนำเข้าปุ๋ยและซื้อปุ๋ยมาใช้ในการเพิ่มผลผลิต อย่าลืมว่าในปัจจุบันเกษตรกรไทยใช้ปุ๋ยกันมากและได้รับผลกระทบเนื่องจากใช้มากดินเสื่อมคุณภาพ ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ชาวนาต้องเป็นหนี้สินมากขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วย และแนวความคิดเกษตรธรรมชาติได้เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น อย่าเอาความเป็นทุนนิยมเข้ามามาก จนลืมภูมิปัญญาและการพึ่งตัวเองของชาวบ้าน
ดังนั้นข้อสรุปที่น่าจะเป็นไปได้คือรัฐบาล บริษัทข้ามชาติประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง ควรออกมาคุยกันและทบทวนถึงผลกระทบทั้งในแง่บวกและแง่ลบร่วมกัน อย่ามองในด้านของเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียวต้องมองมติทางด้านสังคม วัฒนธรรมด้วย อย่าดีแต่ดันทุรังคิดจะทำก็ทำ ผมคิดว่าคำพูดของชาวบ้านคนหนึ่งที่บ้านหนองนาเจริญ มีความน่าสนใจและผู้ที่เกี่ยวข้องระดับประเทศควรที่จะนำไปคิด ที่บอกว่า “ให้เงิน ล้าน สิบล้าน กะบ่เอา เฮาวื่อกินบ่หมดคดกินบ่นาน ได้มาแล้วลูกหลานเอาสิเฮ็ดจั๋งใด” ผมว่าเงินสำหรับชาวบ้านไม่มีความหมายหรอกถ้าเขาไม่มีผืนแผ่นดินที่จะทำกินและเก็บเกี่ยวพืชผลแห่งชีวิต เพือเป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลานสืบไป
สุดท้ายชาวบ้านคนนี้ทิ้งคำพูดให้ผมและพวกเราทุกคนได้คิดกันก็คือ “แบกค้อนผู้เดียวแบกได้อยู่บ่ ต้องแบกนำกันหมดบ้าน” ผมว่าบางระจันไม่ใช่ตำนานที่จะเกิดขึ้นแค่ในอดีตเท่านั้นคุณว่าจริงไหม?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น