วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ One Village One Product/ OVOP ของเมืองโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น ต้นแบบหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย
Oita เป็นจังหวัด(Perfecture) ที่ตั้งอยู่บนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น และตั้งอยู่บนหมู่เกาะทางใต้ของญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Kyushu ซึ่งโออิตะ ถือได้ว่าเป็นแคว้นหนึ่ง ที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นพื้นที่ทีถือได้ว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นจุดยุทธศ่าสตร์ทางทะเล
สภาพทั่วไปของเมืองโออิตะ
เมืองโออิตะ มีพื้นที่ประมาณ 6,337 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1,220,000 คน(ข้อมูลปี2001) มีอุณหภูมิเฉลี่ย 16.5 องศาเซลเซียส มี11 เมือง/จังหวัด 36 ตำบล 11 หมู่บ้าน เมืองโออิตะ ถือว่าเป็นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เพราะมีแหล่งน้ำพุร้อนและเป็นแหล่งที่ผลิตสินค้าทางการเกษตรและอาหารทะเล
ประวัติศาสตร์โดยสังเขปของเมืองโออิตะ
ในสมัยก่อนเมืองโออิตะได้ถูกเรียกว่า Sakatonotsu วึ่งมีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่ โออิตะ เป็นเสมือนเมืองท่า และเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญที่สุดที่นำไปสู่ท้องทะเลที่ห่างไกล เป็นจังหวัดทางตะวันออกของหมู่เกาะ กิวซู Kyushu ที่ถือว่ามีความสำคัญ และเป็นเสมือน จังหวัดที่เป็นทุนนิยมเต็มรูปแบบ(Perfectural Capital ) ในปี1994 โออิตะ ถือได้ว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางทะเลที่สำคัญในระดับชาติ ในการขนส่งและการค้าขายกกับตะวันตก ซึ่งถูกขนานนามว่า เป็น Foreign Access Zone (FAZ) ในการส่งเสริมสนับสนุนการค้าขายสินค้าทางทะเล และการก่อให้เกิดการลงทุนในประเทศญี่ปุ่น การขนส่งโดยตู้คอนเทนเนอร์ ที่มีความสะดวกรวดเร็วและมีความต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังถือได้ว่าเป็นแหล่งที่ตั้งของอุปกรณ์ เครื่องจักรกลพื้นฐาน ที่สั่งซื้อหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้การค้าขาย ในเขตนี้เจริญก้าวหน้ามาก
ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมืองโออิตะ ก็ได้ถูกขนานนามว่า เป็น One Village One product movement ที่มีจุดมุ่งหมายที่จะกระตุ้น เขตแค้วนต่างๆ ในการผลิตผลผลิตท้องถิ่น(Local Product) ที่ซึ่งจะทำให้เป็นมาตรฐานระดับโลก และเป้าหมายหนึ่งซึ่งมีความสำคัญก็คือ การทำให้เกิดการเพิ่มขึ้น ของประเภทผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเป็นอาณาจักร(Enterprises) ที่เต็มไปด้วย อุตาสหกรรมที่หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเคมี การผลิตวัตถุดิบ ชิ้นส่วนIC อุตสาหกรรมศิลปะและเทคโนโลยี ซึ่งโออิตะ จะกลายเป็นอาณาจักรใหม่แห่งการบุกเบิก ความก้าวหน้า ในผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและคตรอบคลุมอุตสาหกรรมต่างอย่างกว้างขวาง
สิ่งที่น่าสนใจก็คือความเป็นอุตสาหกรรมของโออิตะ ตั้งอยู่บนความเป็นท้องถิ่นซึ่งมีกิจกรรมที่หลากหลายที่มีการเชื่อมโยงกับระบบโลก การเกิดขึ้นของ Ritsumeiken Asia Pacific University ที่เปิดรับนักศึกษาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกในเดือนเมษายนปี2000 เป็นสิ่งที่ช่วยตอกย้ำ ความสำคัญของสถาบันการศึกษาท้องถิ่น ที่ต้องการพัฒนาการเรียนรู้ของท้องถิ่นกับความเป็นสากล
สิ่งที่เมืองโออิตะ ของประเทศญี่ปุ่น ต้องการเน้นและให้ความสำคัญก็คือ ความเป็นอุตสาหกรรมแบบ Traditional industries หรือเรียกว่าเป็นอุตสาหกรรมบนฐานของธรรมเนียมประเพณี และLocal Industries Rooted in the Local Society หรืออุตสาหกรรมท้องถิ่น บนรากฐานของสังคมท้องถิ่น ที่คบคู่ไปกับการพัฒนาระดับโลก สิ่งสำคัญที่ทำให้เมืองโออิตะหันมาให้ความสำคัญกับหลักการดังกล่าว ก็เนื่องมาจาก เมื่อโออิตะ ได้กลายเป็นสถานที่ตั้งของเมืองอุตสาหกรรมใหม่ หรือ New Industrial cities ในปี 1963 ได้ก้าวข้ามจากอุตสาหกรรมพื้นฐานไปสู่อุตาสหกรรมขั้นที่2 (Secondary Industries) ซึ่งจะต้องเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง Hight-Teach Enterprises พวกเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล ไม่ใช่พวกอุตสาหกรรหนัก พวกเหล็ก ปิโตรเคมี เหล็ก อีกต่อไป ในปี 1984 ทางตอนเหนือของเมืองโออิตะ และKunisaki ได้ถูกขนานนามว่าเป็น Technopolic Project Area หรือเรียกว่า Oita Area Brain Location Project ซึ่งได้พัฒนาและยกระดับจากเมืองที่เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมพื้นฐาน มาเป็นการผลิตที่เน้นในเรื่องของความเป็นท้องถิ่น และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกอบรมเกี่ยวกับเรื่องของภูมิปัญญาวัฒนธรรมที่เรียกว่า Land of Abundance Training School ขึ้น ซึ่งที่มาของโรงเรียนก็มาจากความหมายเดิมของเมืองโออิตะ ที่หมายถึงดินแดนแห่งความสมบูรณ์ ซึ่งการดำเนินการ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวไดเริ่มมาตั้งแต่ปี 1963 ที่ได้มีการเปิดพื้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมของเมืองโออิตะ จนเมื่อปี 1973 หลังจากอุตสาหกรรมของเมืองโออิตะที่เป็นอุตสาหกรรมหนักและเป็นศูนย์กลาง แห่งการขนส่งสินค้า ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตามมาอย่างมมากมาย เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี1979 โครงการ One Village One Product ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ท้องถิ่น ของนาย ฮิรามัทซึผู้ว่าราชการจังหวัดโออิตะในขณะนั้น จนกระทั่งเป็นรูปเป็นร่างและเผยแพร่แนวความคิดดังกล่าวกับประทศต่างๆมากกว่า20 ประเทศทั่วโลก ในปัจจุบัน รวมทั้งประเทศไทยด้วยที่นำแนวความคิดดังกล่าวมาใช้
เมืองต่างๆ ในเขตใกล้เคียงกับจังหวัดโออิตะ ที่ตั้งอยู่บนเกาะกิวซู ก็ได้มีการมีการรับเอาแบบอย่าง และพัฒนาตามอย่างโออิตะ เช่นเมือง Beppu City Nakatsucity และKunisdakicityเป็นต้น ในการพัฒนาเมืองให้มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่เรียกว่า Technologically-Advanced Perfecture and Intellectual Perfecture ที่เน้นการพัฒนาระบบตลาดในภาคธุรกิจ ควบคู่ไปกับการสร้างฐานการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เน้นสนองความต้องการภายในพื้นที่ที่มีมากขึ้น และกระจายตลาดสินค้าไปยังเขตต่างๆ ตามหมู่บ้าน เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้า ร้านจำหน่ายของที่ระลึกต่างๆ ให้มีความหลากหลายเช่นเดียวกับร้านค้าต่างๆ(Convinence Store) ในเขตเมือง(City Area)ให้กระจายไปสู่ชนบท(Suburb)ให้มีศูนย์กลางการค้าและShopping Centre ขนาดใหญ่เช่นเดียวกับเมืองโออิตะ ที่เป็น Prefectural Capital of Oita City ซึ่งมีShopping Centre ,Shopping Road และการปรับปรุงตลาดที่เก่าแก่ ให้เป็นแหล่งการค้าShopping Places เพื่อลดการแข่งขันอย่างเคร่งเครียดของศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และการแก้ปัญหาการผูกขาดทางเศรษฐกิจ ซึ่งหัวใจสำคัญ ของShopping Places นั้นไม่ได้เน้นเฉพาะที่ตัวเศรษฐกิจเท่านั้น แต่มันยังเป็นสถานที่ของกิจกรรม (Active Place) และสถานที่แห่งความรุ่งเรืองมั่งคั่ง(Flourishing Place)ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ การสื่อสารและขยายพื้นที่ทางธุรกิจเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นสากล (Interntionalization)ในอนาคต
เมืองOita นอกจากจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว ในแง่ของวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวก็มีชื่อเสียงอย่างมากเช่นกัน เพราะเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่นมีน้ำพุร้อน ที่เมืองBeppu,Yufuin แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่ Marine Land เป็นต้น และสถานที่ที่มีชื่อเสียงอย่างมากก็คือ เจดีย์ Kokubunji ซึ่งเป็นเจดีย์สูง 7 ชั้น ตั้งตระหง่านอยู่กลางเมือง ซึ่งเจดีย์นี้สร้างในยุคสมัยนาร่า และดินแดนแถบนี้ถูกขนานนามว่า Biden ที่แปลว่า พื้นที่แห่งความอุดมสมบูรณ์ (Ferite Field) และSekiden แปลว่า พื้นที่ที่ยิ่งใหญ่ (Great Field) ซึ่งทำให้เมืองโออิตะ เป็นเมืองที่มีความเก่าแก่โบราณและถูกขนานนามว่า พื้นที่แห่งความอุดมสมบูรณ์ (A land of abundent production ) นอกจากนี้ โออิตะ ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนฝึกอบรม ที่เน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน โดยใช้ชีวิตผูกพันกับท้องถิ่น เพื่อนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น โรงเรียนแห่งนี้จะเน้นที่ภาคปฎิบัติ และให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดการชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับท้องถิ่น
สิ่งสำคัญที่ผู้ศึกษาคิดว่า มีส่วนทำให้จังหวัดโออิตะของญี่ปุ่น มีความยั่งยืนมั่นคง แม้ว่าจะเป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนักที่มีความสำคัญและใหญ่ในญี่ปุ่น ก็คือการผสมผสานระหว่างอุตสาหกรรมสมัยใหม่และอุตสาหกรรมดั้งเดิม อย่างสมดุลสอดคล้อง สิ่งที่พวกเขาเน้น Traditional industries และ Local industries Rooted ,Local society ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่บนพื้นฐานของทรัพยากรท้องถิ่น และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ที่เน้นการพัฒนาความหลากหลายทางอุตสาหกรรม ทั้ง Traditional และLocal industry โดยมีหน่วยงงานของท้องถิ่นในจังหวัดโออิตะ ที่ทำหน้าที่ด้านเศรษฐกิจ ที่ชื่อว่า Oita Local Economy ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมด้านเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความมั่นคงยั่งยืน กับอุตสาหกรรมของท้องถิ่น และธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญของสังคมท้องถิ่น(Local Society)
ตัวอย่างเช่นเมือง Hita city ซึ่งเป็นเมืองที่มีไม้จำพวกสนซีดาร์ ที่มีอยู่มากมายและมีคุณภาพดีเยี่ยม ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการสร้างผลิตภัณฑ์จากไม้สนซีดาร์และสร้างรายได้ให้กับเมืองHita ซึ่งการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้สนนี้ ทำกันมานานตั้งแต่สมัยโชกุน ดีมังเซน(Shogunal Demensne) ในสมัยเอโดะ(Edo) ซึ่งในปัจจุบัน เมืองฮิตะ มีชื่อเสียงอย่างมากในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์อันยาวนาน(The Furniture Producing History) ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงเช่น โต๊ะน้ำชา กาแฟ โซฟา โต๊ะกินข้าว เก้าอี้และอื่นๆ หรืออีกกรณีหนึ่ง เมือง Beppu City ซึ่งถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่(Bamboo) ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นแหล่งรวมของช่างฝีมือหัตถกรรมที่ทำจากไม้ไผ่ ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่ช่วงสมัย Muromachi (1338-1573) ซึ่งถือได้ว่าอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ มีความประณีต ละเอียดอ่อน ทำจากไม้ไผ่ท้องถิ่นที่มีคุณภาพดี และเป็นที่ต้องการสูงจากชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่นิยมซื้อของที่ระลึก และเป็นที่รู้จักกันดีว่าBeppu Bamboo Craft ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในญี่ปุ่น และนำไปสู่การจัดตั้ง The National Tradition Craft ในปี 1979 ซึ่งผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไม้ไผ่จักสาน ของเมืองBeppu ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (Ovop) ที่มีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านเยน ทั้งที่ใช้ภายใน และส่งออกไปยังเมืองต่างๆทั่วประเทศญี่ปุ่น และในต่างประเทศ ทั้งในรูปของภาชนะตั้งโต๊ะ ของเล่นพื้นบ้าน อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ แจกันดอกไม้ ตระกร้าจักสาน ที่ใช้ฝีมือและเทคนิคแบบพื้นบ้านดั้งเดิม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วยเช่น Shochu หรือ Sake ที่มีชื่อเสียงและนิยมมากในญี่ปุ่น เป็นต้น
ดังนั้นหากจะวิเคราะห์เรื่องโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ (Ovop)ของเมืองโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย ก็จะต้องมาดูที่หลักปรัชญาและวัตถุประสงค์ของโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่น
แรกเริ่มแนวความคิดนี้เกิดมาจาก อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดโออิตะ ที่ชื่อ นายโมริฮิโกะ ฮิรามัตซึ ที่มีแนวคิดในการพัฒนาท้องถิ่น โดยการผสมผสานและรวมพลังจาก 2 แหล่งเพื่อใช้ในการพัฒนาเมือง
1) หลังจากภายนอกเข้ามาพัฒนาเมือง เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและการดูดเงินทุนของบริษัทต่างชาติเข้ามา ทำให้มีจ้างงานในท้องถิ่น
2) หลังจากภายในท้องถิ่นเอง โดยการนำพลังที่มีอยู่ภายในท้องถิ่นมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปรัชญาและหลักการโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์OVOP ของเมืองโออิตะ มีดังนี้คือ
เริ่มต้นจากคำถามหลักที่ว่า ทำไม OVOP จึงได้ถูกทำให้เป็นเป้าหมายหลัก
1) เพื่อป้องกัน การลดลงของจำนวนประชากรและการสูญเสียพลังงานของแรงงาน(Energy)ในจังหวัดโออิตะ
2) เพื่อค้นหาการผลิต และผลผลิตของอุตสาหกรรมธรรมชาติ(Natural Products Indrustry) ที่จะสามารถส่งผลสะท้อนที่ดีที่สุดในแต่ละจังหวัด
3) เพื่อลดระดับ การพึ่งพาอย่างสูงกับรัฐบาลและเพื่อสนับสนุนการพึ่งตนเองและความสมัครใจเต็มใจระหว่างประชาชนในจังหวัด
หลักการของโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ OVOP
1) Local Yet Global ก็คือการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของโลกของโลก ซึ่งจะส่งผลสะท้อนกลับถึงความภูมิใจ(Pride) ในวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการนำสิ่งที่ดีงามในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าให้ขายได้ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งภายในเมืองโออิตะ เองนั้นมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 300 ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OVOP โดยแบ่งออกเป็น
1.1) Tangible Productsหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเฉพาะท้องถิ่น Local Specialities Produces ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะโออิตะ ได้ถือว่าเป็นเมืองที่ผลิต Shitake Mushroom(เห็ดชนิดหนึ่ง) ที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมบริโภคในครัวเรือน หรือ Kabusu lime(มะนาวชนิดหนึ่ง) รวมถึงสินค้าชนิดแปรรูปอื่นๆ เหล้าสาเก เบียร์ น้ำผลไม้ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น เมือง Oita city มีผลไม้พวกสตอร์เบอร์รี่ ผลิตภัณฑ์สเต็ก เนื้อวัว และผักชีฝรั่ง หรือ Beppu city พวกงานหัตถกรรมไม้ไผ่ กล่องไม้ ดอกไม้ น้ำพุร้อน Nakatsu city มีพวกกะหล่ำปี บ็อคโครี่ คุ้กกี้ Hita city มีผลิตภัณฑ์จำพวก เครื่องปั้นดินเผา หัตถกรรมไม้ แตงโม นมสด เป็นต้น
1.2) Intangible Products หมายถึงสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ เป็นแหล่งท่องเที่ยว สถานที่ วัฒนธรรม ที่เป็นสิ่งที่สร้างชีวิต สร้างพลัง(Revitalized) ของแคว้น เช่น กีฬา วัฒนธรรมและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่นเมือง Yufuin town และ Kuju Town ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนา Regional โดยปราศจากความเสียหาย อันตรายต่างๆ กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่นเมือง Naori Town มีการสนับส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว บ่อน้ำพุร้อน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม (Cultural Exchange) กับต่างประเทศ Oyamatown ซึ่งมีเอกลักษณ์ในเรื่องการผลิตผลผลิตทางการเกษตร Agriculture Production System ที่นำไปสู่ระบบสหกรณ์Co-Op ซึ่งเมืองOyama มีประชากรน้อยกว่า 10,000คน แต่สามารถสร้างความเชื่อมั่นและดึงดูดให้เกิดความร่วมมือ และความสำเร็จ
2) Self-Reliance and Creativity คือการสร้างความเข้าใจ การตระหนักรู้และการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โดยเน้นให้ประชาชนในท้องถิ่น เป็นผู้ตัดสินใจเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง OVOPเป็นสิ่งที่ถูกริเริ่ม แนะนำ และสอนหลักการพื้นฐานอย่างเป็นอิสระในแต่ละท้องถิ่น ทั้งในระดับ Cities Town และVillage ทั่วทั้งจังหวัดโออิตะ ซึ่งในช่วงแรกของการดำเนินการ ผลิตภัณฑ์ของ OVOP ที่ถูกนำออกมาแสดงทั่วทุกจังหวัด ทั่วประเทศ มีจำนวน 143 ชนิด แต่ 20 ปีต่อมา จำนวนของมันเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ปัจจุบันคือ 336 รายการ ซึ่งกว่าจะมาถึงปัจจุบันนี้ได้ โออิตะ ต้องผ่านการทดลอง ทดสอบ ข้อผิดพลาดต่างๆในช่วงต้นๆ นอกจากนี้รัฐบาลท้องถิ่น แทบจะไม่ได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงิน จากรัฐบาลกลาง สำหรับเขตแคว้นของโครงการ OVOP พวกเขาตระหนักดีว่า ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ ไม่เพียงขัดขวางการพึ่งตนเอง Self-Reliance เท่านั้น แต่มันยังขัดขวางความสำเร็จขั้นสุดยอดของ OVOP ด้วย ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลจึงไม่ใช่เรื่องเงิน แต่เป็นการช่วยเหลือ ในกระบวนการสร้างความรู้ในกระบวนการพัฒนา การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ที่นำไปสู่การจัดตั้งสถาบันต่างๆ ขึ้นมาเป็น Agriculture Technology Centre,Mushroom Research and Guidance Centre ,Livees Stock Experimental station และInstitute of Marine and Fishering Science รัฐบาลลได้ให้แนวทางในการผลิตและกระบวนการทางเทคโนโ ลยีและให้ความช่วยเหลือในวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมาย โดยความพยายามของรัฐบาลท้องถิ่น ของนายฮิรามัตซึ ซึ่งถือเป็นผู้จัดการ และมีการจัดกิจกรรมออกร้านแสดงสินค้า (Faires) อย่างมากมายตามเมืองต่างๆของญี่ปุ่น และขยายออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ภายในตัว สรุปแล้วหน้าที่หลักหน้าที่ของหน่วยราชการ ไม่ได้เป็นการให้ความช่วยเหลือโดยให้เงินอุดหนุนแต่เป็นการให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูล คำแนะนำ เทคโนโลยี การค้นคว้าวิจัยด้านการเพิ่มผลผลิต และให้คำปรึกษาแก้ปัญหาทางด้านการผลิตที่ชาวบ้านพบเจอ โดยเป็นลักษณะการปรึกษาหารือ ร่วมกันระหว่างชาวบ้าน หน่วยงานราชการของท้องถิ่น และการช่วยเหลือการประชาสัมพันธ์ในระดับต่างๆ ทั้งหมดเพื่อเน้นให้เกิดการพึ่งตนเอง และการรวมตัวกันอย่างเสรี เพื่อให้ชาวบ้านเห็นว่า การลงทุนทั้งหมดล้วนเกิดจากน้ำพักน้ำแรงของตัวพวกเขาเอง ซึ่งจะทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่เสออ
3) Human Resource Development หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์OVOP ถือเป็นเป้าหมายสูงสุด ที่จะสนับสนุนอุปถัมภ์ เลี้ยงดูโลก Global-mined ซึ่งเป็นความท้าทายของผู้นำ ที่สามารถจะขับเคลื่อน OVOP ในทุกส่วน และมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้โครงการ OVOP ประสบความสำเร็จ ดังนั้นการเกิดขึ้นของ Regional Training School จึงได้เกิดขึ้นเพื่อศึกษา พัฒนา ศักยภาพ และความสามารถของความเป็นผู้นำ (Leaders) ของนักเรียนจากโรงเรียนเหล่านี้ เพื่อเป็นผู้นำกิจกรรมทั้งหมดของ OVOPในแต่ละเขตแคว้น โดยในRegion Training School มีการแบ่งแผนกเรียกว่า Sector Training School เช่น Commerce School ,IT Academic School และ OVOP สมาชิกในชุมชน ทั้งเด็ก ผู้หญิง ก็ได้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม และเป็นผู้นำในการฝึกอบรมการทำอาหารและขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งได้ช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเขตต่างๆได้ใช้ความสามารถเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

โครงการ OVOP ได้เริ่มต้นดำเนินการมากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งเป็นแนวนโยบายที่สำคัญที่มุ่งดึงดูดคน เข้ามาร่วมมือกันในการทำกิจกรรม ที่นำไปสู่ OVOP ทั้งในระดับแคว้น(Regional)และระดับนานาชาติ(International) การพยายามนำไปสู่การแลกเปลี่ยน ความรู้ เพื่อการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตบนโลก และการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกัน (Symbiosic) กับประเทศในแถบเอเชีย
OVOP เสมือนกับเป็นยุทธศาสตร์(Strategic) ของการเคลื่อนไหว ที่ถูกออกแบบ ถูกสร้างขึ้น เพื่อพัฒนาท้องถิ่น แคว้น (Regional) ซึ่งเป็นความต้องการของประชาชนเอง ที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา หรือสร้างอุตสาหกรรมที่มีความแตกต่างในแต่ละแคว้น(Regional) ของพวกเขา และการบ่มเพาะปลูกฝัง(Cultivate) ซึ่งมันมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นชาติ(Nationally)และโลก(Globally) ซึ่งมันได้ถูกริเริ่มและเคลื่อนไหว ในปี1977 โดยผู้ว่าฮิรามัตซึ ที่ได้ปรึกษาหารือและพูดคุยกับคนในจังหวัด แล้วก็ค้นพบว่า ท้องถิ่นกำลังประสบปัญหาเรื่องของการขาดแคลนประชากร วัยหนุ่มสาว ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบกิจการ และปัญหาด้านสาธารณูปโภค ต่างๆที่ยังกระจายไม่ทั่วถึงอย่างเพียงพอ และการไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่จากรัฐบาลกลาง ซึ่งนายฮิรามัตซึ มองว่าปัญหาต่างๆเหล่านี้ในอนาคตอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชุมชน หากไม่ดำเนินการแก้ไข ซึ่งย่อมส่งผลให้ชุมชนขาดแรงจูงใจในการประกอบการ ดังนั้นเขาจึงได้คิดโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์(One Village One Product) และจัดทำจัดทำแผนที่เรียกว่า Technopolish เพื่อชักจูงอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีระดับสูง เข้ามาช่วยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต โดยการดำเนินกิจกรรมนี้จะให้ความสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ผูกพันกับท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น โดยให้คนในท้องถิ่นรวมตัวกัน เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือ แบ่งปัน แข่งขัน ซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพสูง ที่สำคัญก็คือกิจกรรมนั้น จะต้องสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นความภาคภูมิภูมิใจของคนในท้องถิ่น ที่มีความเหมาะสมต่อภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ของท้องถิ่นอย่างน้อยหมู่บ้านละ หนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นสินค้าเท่านั้น อาจเป็นการนำวัฒนธรรมท้องถิ่น อย่างดนตรีพื้นเมือง การละเล่นพื้นบ้าน ประเพณี วัฒนธรรม อื่นๆ มาประยุกต์เพื่อให้เกิดการพัฒนา การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่นด้วย ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวมีเป้าหมายว่า กิจกรรมดังกล่าวต้องทำให้เป็นที่ยอมรับในญี่ปุ่นเป็นเบื้องต้น และขยายไปสุ่ระดับโลกในอนาคต ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรม ผู้คนในท้องถิ่นจะเป็นผู้กำหนดว่าจะทำกิจกรรมอะไร โดยมีข้าราชการท้องถิ่น ให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวก ในการประสานงาน ประชาสัมพันธ์ ช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสาร การศึกษาวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบการของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ
ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนโครงการ จะมาจากภาษีของประชาชนที่ส่วนกลางเก็บได้ และนำแจกจ่ายโดยการแบ่งคืนให้กับส่วนราชการท้องถิ่นตามสัดส่วน โดยหลักการจริงๆของโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์นั้น ไม่ได้ต้องการให้ประชาชน ชุมชน ผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ยิ่งใหญ่ ฟุ่มเฟือย มีราคาแพง แต่จุดประสงค์ก็คือ การเน้นความภาคภูมิใจ ในผลิตภัณฑ์ของตนเองและพร้อมที่จะรับมือกับการแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งหากหมู่บ้านได้มีกำลังคนวัตถุดิบและศักยภาพในการผลิต ก็สามารถผลิตได้มากกว่า1อย่าง และผลิตภัณฑ์ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปธรรม เป็นตัวสินค้าเสมอไป อาจจะเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นวัฒนธรรมการท่องเที่ยวควบคู่กันไป
การดำเนินการที่ผ่านมาในโครงการ OVOP ของเมืองโออิตะ ได้ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองอย่างกว้างขวาง ในแต่ละแคว้น และผู้ว่าฯ ฮิรามัตซึ ก็ได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัล รามอนแมกไซไซ ( The Ramon magsay-say Aword) ที่มีฐานะเช่นเดียวกับรางวัล Nobel Peach Prizeของเอเชีย ในปี1995 สำหรับการมีส่วนช่วยเหลือของเขา ในเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง และการพัฒนาประเทศในอาเซียน
การขับเคลื่อนของ OVOP ในเมืองโออิตะ มาจากหลายๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาที่จะเกื้อหนุนงานและกิจกรรม เช่นตั้งสถาบัน Toyonokuni Juke เพื่อสร้างกลุ่มผู้นำท้องถิ่นในปี 2525 มีการจัดตั้งสถาบัน OVOP INC. โดยการร่วมทุนของเอกชนในท้องถิ่นเองเพื่อเป็นตัวแทนขายและรับซื้อสินค้าที่ผลิตในโครงการ ในปี2536 การสร้างศูนย์ข้อมูลเครือข่าย Oita International Network Centre : ONIC เพื่อเป็นตัวกลางในการประสานงานกับกลุ่มรากหญ้า(Grass roots) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับประชาชนของ Oita ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่เรียกว่า One Village One Product Movement เป็นต้น
สิ่งที่สำคัญที่การดำเนินการโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จและดำรงอยู่อย่างยาวนานกว่า20 ปี ก็คือ การสร้างพื้นที่เชื่อมต่อของการศึกษาเรียนรู้ในเรื่อง ความรู้ท้องถิ่น วัฒนธรรม การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ที่ผสมผสานไปกับความทันสมัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่นการจัดตั้งสถาบันการศึกษา การก่อกำเนิดของ Ritsumeikan Asia Pacific University (APU) ที่เมือง Beppu City ในปี2000 ซึ่งถือเป็นการเปิดพื้นที่ ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประเทศ ในแถบอาเซียน ซึ่งครึ่งหนึ่งของนักเรียนที่นี่เป็นชาวต่างประเทศ และปัจจุบันมีนักเรียนกว่า2,000 คน เมืองโออิตะ จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายของ Green Network Declaration ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างการศึกษา กีฬา วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นแนวทางการดำเนินการของเมืองโออิตะ ที่ใช้เปิดเผยตัวตนกับเวทีโลก และสร้างความสัมพันธ์กับประเทศอื่น โดยใช้โครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นตัวเชื่อม และสร้างความเจริญเติบโตทางเศณษฐกิจไปพร้อมกันภายใต้สโลแกนว่า “Think Globally Act Locally” คือการปฎิบัติในระดับท้องถิ่นแต่คิดเชิอมโยงเกี่ยวกับโลก
โดยเฉพาะแนวคิดของโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ในประเทศต่างๆโดยเฉพาะในแถบอาเซียน โดยความช่วยเหลือของเมืองโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น ในเรื่องหลักการและแนวความคิดเกี่ยวกับโครงการนี้ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีความแตกต่างกัน ในสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองและวัฒนธรรม ดังตัวอย่างของโครงการต่างๆที่ผ่านการแนะนำ ช่วยเหลือทางวิชาการ จาก องค์กร Japanese External Trade Orgaization (JETRO) ซึ่งมีดังนี้คือ
1.One Factory One Product Shanghi China
2.One City One Product Shanghi China
3.One District One Product Shanghi China
4.One Village One Treasure wuhan,China
5.One Town One Product Jiangsu,China
6.One Capital One Product Jiangsu,China
7.One Village One Product Shanghi China
8. One Village One Product Jiangsu,China
9.One Barangay One Product The Philiphine
10.One Region One Version The Philiphine
11.Satu Kampung Satu Product movement Malaysia
12.Back to Village East Java Indonesia
13.One Tambon One Product Movement Thailand
14.One village One Product movement Cambodia
15.Neuag Muang Neuang Phalittaphan Movement Laos
16Neg Bas Neg sHildeg Buteeg DeKhwn Mongloria
17 One Village One Product Day Los Angeles ,USA
18 One Porish One Product Movement Louissiana ,USA
เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศในยุโรป เช่นอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย ในทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกา แคนาดา บราซิล ปารากวัย ในทวีปแอฟริกา เช่นแอฟริกา จาไมก้า มาลาวี แคมารูน และประเทศอื่นๆในแถบเอเชีย เช่นเกาหลีใต้ ไต้หวัน รวมถึงเขตโอเชเนีย ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกัน เช่นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของจีนก็จะมีลักษณะแตกต่างจากประเทศอื่นๆ เพราะปกครองระบบสังคมนิยม การบริหารจัดการก็จะเป็นแบบ 3 องค์ประกอบ คือ พรรค หมู่บ้าน และสหกรณ์ โดยเน้นเรื่องของภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและความล้าหลัง การอพยพแรงงานเข้าสู่ภาคเมืองของประชาชน เช่นการจัดการเชิงท่องเที่ยว โฮมสเตรย์ Home Stay การผลิตพืชผลทางการเกษตร โดยมุ่งเพื่อการบริโภคเป็นหลัก ที่เหลือก็จะขายให้สหกรณ์ เพื่อนำมาสร้างรายได้ให้กับชุมชนหมู่บ้าน และการทำธุรกิจในชุมชน เช่นการเปิดโรงพิมพ์เป็นต้น
ดังนั้นการดำเนินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จึงมีความแตกต่างกัน ตามระบบการเมืองการปกครอง และการผนวกหรือบรรจุเข้าไว้เป็นนโยบายในการพัฒนาประเทศ ของรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น ตามรูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศ และจุดมุ่งหมายที่มีความหลากหลายแตกต่างกัน ไม่ว่าเป็นการเน้นเพื่อการบริโภคหรือการใช้ในชุมชนเป็นหลัก หรือเพื่อเป็นการค้าขายทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น